“หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั้น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้” พระราชดำรัส ของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2529
“ น้ำคือชีวิต ” น้ำ คือ ปัจจัยสำคัญในการขจัดความทุกข์ร้อนของราษฎร กรมชลประทานจึงได้น้อมนำ “ศาสตร์พระราชา ” มาใช้พัฒนาแหล่งน้ำชลประทานในภาคเกษตร ใช้อุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน และรักษาระบบนิเวศน์ ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ ที่ดีขึ้น สร้างความมั่นคงของชาติ ภายใต้แผนปฏิบัติการ “RID NO.1” ซึ่งเป็นนโยบายของ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ที่มอบให้ผู้บริหารกรมชลประทาน และข้าราชการทุกคนนำไปใช้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี ให้สัมฤทธิ์ผล ใน 7 ด้านได้แก่ 1) เร่งรัดการดำเนินโครงการตามพระราชดำริ 2) ปรับปรุงกระบวนการจัดทำแผนงานและงบประมาณทั้งระบบ 3) เร่งรัดการพัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 4) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ 5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 6) นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงาน และ 7) ดำเนินการพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบ
ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี ภายใต้บริบทความเป็นองค์กรอัจฉริยะที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำเพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการ ภายในปี 2579 นั้นมีเป้าหมายสำคัญคือ มุ่ง พัฒนาแหล่งน้ำ เพิ่มพื้นที่ชลประทาน บริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ เน้นป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ บนหลักการมีส่วนรวมจากทุกภาคส่วน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 17.95 ล้านไร่ พร้อมเพิ่มปริมาณน้ำกักเก็บ 13,243 ล้านลูกบาศก์เมตรในอนาคต
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ กรมชลประทานได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเพื่อกำกับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี โดย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธาน และมีคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมชลประทานอีก 5 คณะ ประกอบด้วย 1 ) คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพลักษณะลุ่มน้ำ โดย นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีฝ่ายก่อสร้าง เป็นประธาน 2) คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการนำอย่างบูรณาการตามวัตถุประสงค์การใช้น้ำ โดย ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษาเป็นประธาน 3) คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันความเสียหายและสนับสนุนการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ โดย ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษาเป็นประธาน 4) คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่าย และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการน้ำชลประทานในระดับพื้นที่ โดย นายสุชาติ เจริญศรี รองอธิบดีฝ่ายบริหารเป็นประธาน และ5) คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนสู่องค์กรอัจฉริยะโดย นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการเป็นประธาน
ผลการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี ในปีงบประมาณ 2561-2563 ที่ผ่านมา ถือว่า ประสบความสำเร็จครบทุกด้าน ได้แก่ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 3,175 โครงการ และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 55 โครงการ โครงการปรับปรุงกระบวนการจัดทำแผนงาน โดยเฉพาะแผนแม่บทพัฒนาลุ่มน้ำระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระดับภาค นั้นก็มีความคืบหน้าไปมาก กรมชลประทานได้วางแผนยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น ระดับลุ่มน้ำ 3 โครงการได้แก่ โครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา จังหวัดปราจีนบุรีโครงการพัฒนาลุ่มน้ำชี (ตอนบน) จังหวัดชัยภูมิ และ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำล้าเชียงไกร (ตอนล่าง) จังหวัดนครราชสีมา
กรมชลประทาน ได้ปรับปรุงการจัดทำแผนงานระยะปานกลาง (MTEF) จัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน รวมทั้งริเริ่มแนวทาง PPP (Public Private Partnership) ซึ่งเป็นการร่วมทุนภาครัฐและเอกชนมาใช้ในการทำงานชลประทาน
ขณะเดียวกันกรมชลประทานได้เร่งรัดการพัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน ทั้งโครงการชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กให้เป็นไปตามแผน พัฒนาระบบการแพร่กระจายน้ำในระดับแปลงนาให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และจัดทำแผนงานรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)ได้แก่ จังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา
นอกจากนี้ กรมชลประทานยังได้เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำต่อยอดศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะให้สามารถพยากรณ์และเตือนภัยได้อย่างแม่นยำ ปรับปรุงโครงการชลประทานที่มีอายุการใช้งานมานานให้สอดคล้องกับสภาพการใช้งานปัจจุบัน สร้างทางเลือกในการดำเนินการส่งน้ำและบำรุงรักษาในงานชลประทาน ตรวจสอบวิเคราะห์ความมั่นคงของเขื่อนให้มีความมั่นคงแข็งแรง วางแผนรับมืออุทกภัยและภัยแล้ง และบูรณาการความร่วมมือกับ SC ในระดับพื้นที่ การพัฒนาสถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ ตรวจสอบการใช้พื้นที่ราชพัสดุและแก้ปัญหาการบุกรุกของราษฎร ส่งเสริมการใช้พื้นที่เขตคลองเป็นพื้นที่แก้มลิง และขยายผลพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในยามวิกฤติ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์ศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชน
พร้อมกันนี้ กรมชลประทานให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำ สร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ประสบภัยจากน้ำ เร่งรัดการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำคณะกรรมการจัดการน้ำชลประทาน (JMC) และอาสาสมัครชลประทานให้เต็มพื้นที่ชลประทานตลอดจนการทบทวนการดำเนินงาน 1 โครงการ 1 ล้านบาท
กรมชลประทานได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงานทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำ และการพัฒนาระบบงานให้เข้าสู่ Digital Platform และมุ่งพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยปรับโครงสร้างหน่วยงานและปรับปรุงระดับตำแหน่งของบุคลากรให้สูงขึ้น
ความสำเร็จของแผนปฏิบัติงานตามแนวทาง RID No.1 ตลอดช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาทำให้กรมชลประทานมุ่งมั่นพัฒนาขยายผลต่อยอดเป็น “RID No.1 Express 2020” บนแนวคิด “ทำงานสุดกำลัง ตั้งมั่นสุจริต ใช้ชีวิตพอเพียง” เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการน้ำ พัฒนาแหล่งน้ำ และเพิ่มพื้นที่ชลประทาน การพัฒนาบุคลากร รวมทั้งพัฒนาระบบงานให้ทันสมัยมากขึ้น เพื่อให้ประชาชน และเกษตรกรมีแหล่งน้ำกิน น้ำใช้อย่างเพียงพอเพื่อให้มีอาชีพและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
ในปีนี้ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน มุ่งพัฒนาต่อยอดการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมชลประทานเป็นวาระเร่งด่วน ภายใต้แนวทาง “RID No.1 Express 2020 ” ใน 6 ด้าน ได้แก่
กรมชลประทานทุ่มเทความคิด และตั้งใจทำงาน พัฒนาแหล่งน้ำทั่วประเทศเพื่อให้เกษตรกรและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด มีน้ำกิน น้ำใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และมีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับดูแลสิ่งแวดล้อมและใช้ในภาคการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนตลอดไป
“หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั้น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้” พระราชดำรัส ของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2529 “ น้ำคือชีวิต ” น้ำ คือ ปัจจัยสำคัญในการขจัดความทุกข์ร้อนของราษฎร กรมชลประทานจึงได้น้อมนำ “ศาสตร์พระราชา ” มาใช้พัฒนาแหล่งน้ำชลประทานในภาคเกษตร ใช้อุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน และรักษาระบบนิเวศน์ ก่อให้
มทร. สุวรรณภูมิ โชว์นวัตกรรมระบบตรวจวัดและควบคุมความชื้นดินระยะไกลด้วย IOT 4.0
—
ดร.สมพร ศรีวัฒนพล หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และงานสร้างสรรค์ คณะวิ...
ภาพข่าว: ก.เกษตรฯ ขยายผล
—
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ...
กยท. ร่วมจัดนิทรรศการงานวันเกษตรแห่งชาติ ประจำปี 61 ชูแนวคิด "ศาสตร์พระราชาพัฒนาเกษตรไทย 4.0"
—
เมื่อเร็วๆนี้ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งปร...
กรมพัฒนาที่ดิน ชวนร่วมงานวันเกษตรแห่งชาติ 2567 ชมนิทรรศการ "สืบสาน รักษา ต่อยอด ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาที่ดิน"
—
กรมพัฒนาที่ดิน ชวนร่วมงานวันเกษตรแห่งชา...
กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมงาน ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 22 น้อมรำลึกถึงพระผู้ทรงเป็นพลังแห่งแผ่นดิน
—
กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมงาน ท...
ม.มหิดล น้อมนำ "ศาสตร์พระราชา" ช่วยเกษตรกร พลิกฟื้นผืนดิน "บ้านสามัคคีธรรม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี" ด้วย"หญ้าแฝก"
—
ด้วย "ศาสตร์พระราชา" ได้พิสูจน์แล้วว่า "ห...
ม.มหิดล CMMU เปิดโอกาสแห่งการเรียนรู้ที่ไร้พรมแดน
—
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เปิดหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกทางภาวะผู้นำอย่างยั่งยืน ...