สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เล็งเห็นถึงความมั่นคงของฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ และ ความมั่งคั่งในระดับชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นห่วงโซ่สำคัญของเศรษฐกิจระดับประเทศ จึงได้นำหลักการของความมั่งคั่งมาดำเนินงานให้ชุมชนท้องถิ่นมีรายได้จากความหลากหลายทางชีวภาพบนความยั่งยืน ให้ "การสร้างรายได้เป็นเครื่องมือการอนุรักษ์" โดยการดำเนินงานตามหลักการ BEDO Concept 3 ประการ ได้แก่
1) การใช้ทรัพยากรชีวภาพชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นวัตถุดิบหลัก
2) การผลิตที่เป็นมิตรกับความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
3) การปันรายได้บางส่วนไปอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรชีวภาพ
สนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้และทักษะในการนำทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจในรูปแบบผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่มีอัตลักษณ์ มีความโดดเด่น จึงจัดกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติและผลิตภัณฑ์จากไผ่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและมีคุณภาพ มีเป้าหมายในการนำทรัพยากรชีวภาพของชุมชนที่มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจมาเป็นวัตถุดิบสำคัญของผลิตภัณฑ์ พัฒนารูปแบบให้มีความโดดเด่นและแตกต่างในระดับสากล มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพพร้อมกับการพัฒนาศักยภาพในเชิงธุรกิจเพื่อให้สามารถพัฒนาและเติบโตสู่การเป็นผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เข้มแข็ง โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ 5 ชุมชน ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มหม้อห้อมย้อมสีโบราณจังหวัดแพร่ , วิสาหกิจชุมชนปกาเกอะญอเต่อโป่คี จังหวัดเชียงใหม่ , กลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านอูนดง-หนองไชยวาลย์ กลุ่มทอผ้าไหม-ผ้าฝ้ายบ้านกุดแฮด หมู่ 9 จังหวัดสกลนคร และผลิตภัณฑ์จากไผ่ 1 ชุมชน ได้แก่ กลุ่มเกษตรอินทรีย์พอเพียงร่วมใจสันติสุข จังหวัดน่านที่ตรงตามความต้องการของตลาดในระดับสากลรวมทั้งองค์ความรู้ด้านการผลิตการควบคุมคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ต่างๆได้เป็นอย่างดี
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากรนำทีมโดย อาจารย์ดร. เรืองลดา ปุณยลิขิต อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการออกแบบและหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยศิลปากรและที่ปรึกษาโครงการ พร้อมกับผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติและผลิตภัณฑ์จากไผ่จากมหาวิทยาลัยศิลปากรลงพื้นที่เก็บข้อมูลและสำรวจทรัพยากรชีวภาพของชุมชนที่มีศักยภาพของชุมชนดึงศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจในแต่ละชุมชนมาเป็นวัตถุดิบสำคัญของผลิตภัณฑ์และพัฒนารูปแบบให้มีความโดดเด่นและแตกต่างในระดับสากลมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพพร้อมกับการพัฒนาศักยภาพในเชิงธุรกิจเพื่อให้สามารถพัฒนาและเติบโตสู่การเป็นผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เข้มแข็งต่อไป
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit