จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน) จับมือร่วมกันในการพัฒนาการเรียนการสอน และทักษะของนิสิตด้านนวัตกรรม การใช้ฐานข้อมูลเพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยและองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของนวัตกรรมและธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานในงาน พร้อมด้วย นายแจ๊ค มินทร์ อิงค์ธเนศ กรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนาม ณ ห้อง บัณฑิต เอื้ออาภรณ์บัณฑิต เอื้ออาภรณ์บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาผู้นำแห่งอนาคต การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัยคุณภาพ และการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยในการพัฒนาทักษะด้านนวัตกรรมของนิสิต การส่งเสริมนวัตกรรมเชิงรุก เพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล ฐานข้อมูลของ BOL จะเป็นประโยชน์ในการสร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อสังคม นอกจากนี้เมื่อนิสิตจบการศึกษาออกไปจะมีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในสาขาที่เรียนรู้ ทำให้ง่ายในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน"
นายแจ๊ค มินทร์ อิงค์ธเนศ กรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "โลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมาย เกิดการพลิกผันของธุรกิจจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นตัวเร่งที่ทำให้ทุกธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อให้องค์กรเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับภาคการศึกษาที่ต้องปรับตัวเพื่อการพัฒนาทักษะของนิสิตให้สอดคล้องกับทิศทางการศึกษาในโลกอนาคต โดยนิสิตที่จบออกมาอย่างน้อยต้องมีทักษะด้านนวัตกรรม รู้จักการใช้ฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาผลงานใหม่ ๆ ทั้งนี้เพื่อตอบโจทย์การทำงานในยุคดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงาน ซึ่งบริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะของนิสิตและการส่งเสริมนวัตกรรม จึงได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการสร้างสรรค์งานวิจัยและองค์ความรู้ใหม่ ๆ และธรรมาภิบาลที่ดี"
ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนาม MOU ส่งเสริมความรู้และทักษะทางการเงินการลงทุน และการเป็นผู้ประกอบการ ในการเรียนการสอนผ่านระบบคลังความรู้ดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Chula Neuron) ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาทั่วไประยะสั้น (Chulalongkorn University Values Integration Program: CUVIP) โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ สนับสนุน SET e-Learning รวม 33 หลักสูตร ครอบคลุมเนื้อหาด้านการวางแผนการเงิน การลงทุน การ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬา เดินหน้าภารกิจเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา
—
ศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการรับรองจ...
จุฬาฯ ผนึก สมช. และกองทัพเรือ ลงนามความร่วมมือ จัดตั้ง "องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย"
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชา...
รู้เท่าทันก๊าซเรดอน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว อาจารย์วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ แนะตรวจปริมาณเรดอนที่อาจแทรกผ่านรอยแยกอาคารได้
—
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 แม...
อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ค้นพบหลักฐานใหม่ในถ้ำกระบี่ บ่งชี้การกระจายตัวของ "ไฮยีนา" ทางภาคใต้ของไทยเมื่อสองแสนปีก่อน
—
รศ.ดร.กันตภณ สุระประสิทธิ์ อาจาร...
SNPS ต้อนรับนิสิตจุฬาฯ ถ่ายทอดองค์ความรู้ "นวัตกรรมสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน"
—
บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SNPS ให้การต้อ...
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ จับมือ PMCU ร่วมจัดหลักสูตรพัฒนาผู้จัดการสินทรัพย์และนักพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ พลิกโฉมพื้นที่สถานีรถไฟ
—
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาว...