จีน-ญี่ปุ่นหารืออย่างจริงจังเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัล มุ่งแสวงหาแนวทางส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาค

รายงานจาก Science and Technology Daily | IUSTC:

ในปี 2563 โรคโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อโลก ขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลได้เน้นย้ำถึงศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ในการร่วมตอบสนองต่อการระบาดทั่วโลก

รายงานของ Oxford Economics ประมาณการว่า สัดส่วนของเศรษฐกิจดิจิทัลต่อจีดีพีโลกจะขยายตัวจาก 15% สู่ระดับ 25% ภายในปี 2568 ปัจจุบัน ในแง่ขนาดเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น สหรัฐอเมริกามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 ตามมาด้วยจีนเป็นอันดับ 2 ขณะที่เยอรมนี ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรอยู่ในอันดับ 3 ถึง 5 

เทรนด์การพัฒนาผลักดันให้ "เศรษฐกิจดิจิทัล" มีความโดดเด่นบนเวทีโลก ขณะที่ประเด็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ได้รับการโปรโมทภายใต้กรอบความร่วมมือระดับทวิภาคและพหุภาคี

"การประชุมย่อยด้านเศรษฐกิจดิจิทัล" ภายใต้ "การประชุมปักกิ่ง-โตเกียว" ครั้งที่ 16 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ 12 ท่านจากจีนและญี่ปุ่น ได้หารือกันถึงความเป็นไปได้ในการร่วมมือระหว่างสองประเทศ ซึ่งสองฝ่ายได้บรรลุฉันทามติในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หัวข้อใหม่: เศรษฐกิจดิจิทัลเกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลสังคมอย่างไร

เรากำลังสร้างประชาคมดิจิทัลแบบไหน คุณจ้าว เจียนหนาน รองประธานฝ่ายพาณิชย์และหัวหน้าผู้แทนของ Tencent Cloud ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ตอกย้ำถึงความสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยกล่าวว่า "เทคโนโลยีดิจิทัลเปรียบเหมือน "เส้นเอ็น" ของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยบรรเทา "ผลกระทบที่รุนแรง" ด้วย "ความยืดหยุ่นสูง" และช่วยออมแรงสู่การ "ฟื้นตัวเป็นรูปตัว V" ของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในขั้นตอนการข้ามผ่านความเลวร้ายทางเศรษฐกิจอันเป็นผลมาจากโรคระบาด"

เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทอย่างไรในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและธรรมาภิบาลสังคม

คุณหลิว ซ่ง รองประธานบริษัท Alibaba ชี้ว่า ธรรมาภิบาลดิจิทัลจะกลายเป็นทิศทางที่สำคัญในการเสริมสร้างโลกาภิบาล จากมุมมองของการต่อสู้กับโควิด-19 และการฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธรรมาภิบาลร่วมแบบพหุนิยมอิงเทคโนโลยีดิจิทัลจะกลายเป็นธรรมาภิบาลสังคมและเมืองรูปแบบใหม่ ผู้เชี่ยวชาญในที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ และเชื่อว่าเอเชียจะกลายเป็นภูมิภาคสำคัญในการทดลองพัฒนาระบบดิจิทัลในระดับโลก

สำหรับคำถามเกี่ยวกับวิธีการจัดการข้อมูล โดยเฉพาะการยืนยันข้อมูลข้ามพรมแดน ภาษีอากร และปัญหาอื่น ๆ ที่หลายประเทศกำลังเผชิญอยู่ คุณหลิวอธิบายโดยยกตัวอย่างภูมิปัญญาในการจัดการน้ำแบบจีนโบราณ โดยกล่าวว่า "องค์ประกอบของข้อมูลทุกวันนี้มีความคล้ายคลึงกับองค์ประกอบของน้ำอย่างมาก การจัดการข้อมูลก็คล้ายกับการจัดการน้ำ ซึ่งไม่ควรถูกขัดขวางหรือกระจาย เนื่องจากองค์ประกอบข้อมูลมีความหลากหลายและแตกต่าง จึงไม่สามารถใช้กฎตายตัวในการควบคุมสภาพคล่องของข้อมูล"

ตัวแทนจากทั้งสองประเทศเห็นพ้องกันว่า ยุคแห่งเศรษฐกิจดิจิทัลได้เริ่มขึ้นแล้ว ความรู้และข้อมูลดิจิทัลได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต และเป็นพลังขับเคลื่อนใหม่ที่ผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคม

ในส่วนของเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งอาจนำไปสู่การปฏิวัติทางเทคโนโลยีรอบใหม่ มีคำถามว่าเราจะรุกสร้างสรรค์นวัตกรรมและก้าวไปข้างหน้าอย่างเป็นระเบียบภายใต้กฎเกณฑ์ไปพร้อมกันได้อย่างไร

คุณฟาง หานถิง ผู้ดำเนินการประชุมจากฝั่งจีน และรองประธานของหนังสือพิมพ์ Science and Technology Daily แสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมกับกฎเกณฑ์เป็นคู่ตรงข้ามกัน หากปราศจากกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่แน่นอนก็จะไม่สามารถระบุได้ว่าสิ่งไหนควรควบคุมและสิ่งไหนควรผ่อนคลาย ในทางกลับกัน หากไม่มีการควบคุมความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเมื่อกิจกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ก็จะเกิดปัญหาที่คาดเดาไม่ได้มากมาย หากมองจากอีกมุมหนึ่ง นวัตกรรมคือการบุกเบิกสิ่งใหม่ ขณะที่กฎเกณฑ์จะช่วยปกป้องนวัตกรรม ซึ่งองค์ประกอบทั้งสองนี้ควบคุมและส่งเสริมซึ่งกันและกันในเวลาเดียวกัน

ยกตัวอย่างเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ คุณโทชิโอะ อิวาโมโตะ หัวหน้าที่ปรึกษาองค์กร บริษัท NTT DATA Corporation แนะนำว่า นักพัฒนาข้อมูลด้านเทคโนโลยี AI จำเป็นต้องกำหนดกฎเกณฑ์การใช้ข้อมูล และควรกำหนดกฏเกณฑ์ควบคุมผู้ใช้ข้อมูล ขณะเดียวกัน คุณโนริฮิโระ ซูซูกิ กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท Hitachi เสนอแนะว่า การใช้ข้อมูลจำเป็นต้องใช้ปัญญามากขึ้นเพื่อสร้างสมดุลระหว่างประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม

จุดเริ่มต้นใหม่: สร้างความไว้วางใจภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)

ความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัลคือหัวข้อหลักในการประชุม

คุณทัตสึยะ อิโตะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่น กล่าวว่า จีนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มที่ในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19

คุณโนริฮิโระ ซูซูกิ ระบุว่า แต่ละประเทศเผชิญสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป และเราจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างครอบคลุม เช่น สถาบันและระบบ ในการพูดคุยในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เขาแสดงความคาดหวังว่าญี่ปุ่นและจีนจะสามารถยกระดับความร่วมมือในส่วนนี้

คุณฟาง หานถิง กล่าวย้ำว่า จีนและญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศ ควรพิจารณาอย่างจริงจังเกี่ยวกับการยกระดับความร่วมมือในห่วงโซ่อุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อสร้างความมั่นใจว่าห่วงโซ่อุตสาหกรรมจะไม่หยุดชะงัก ตลอดจนร่วมกันใช้และรักษาไว้ให้เหมือนกับผลิตภัณฑ์สาธารณะ

คุณสวี่ จือยวี่ ประธานฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์สากล บริษัท Huawei Technologies Co., Ltd. เน้นย้ำว่า ความปลอดภัยของเครือข่ายและการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ คือแนวทางปฏิบัติสูงสุดและรากฐานของธุรกิจเสมอมา โดยตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี บริษัทให้บริการลูกค้าในกว่า 170 ประเทศและดินแดน และไม่เคยได้รับคำร้องขอจากรัฐบาลให้เปิดเผยข้อมูลผู้ใช้ บริษัทจะไม่ทำให้สิทธิ์ของลูกค้าหรือความอยู่รอดของบริษัทตกอยู่ในความเสี่ยง

ผู้เข้าร่วมการประชุมจากทั้งสองฝ่ายได้กล่าวถึง "ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)" ที่เพิ่งมีการลงนามไปเมื่อไม่นานมานี้ โดยเห็นพ้องว่า ท่ามกลางความไม่แน่นอนในกระบวนการพัฒนาระบบดิจิทัลนั้น การลงนามในข้อตกลงนี้จะมอบโอกาสครั้งประวัติศาสตร์ในการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและอุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งความร่วมมือระหว่างจีนและญี่ปุ่นในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีมีแนวโน้มสดใส

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563 จีนได้ผลักดันโครงการ Global Data Security Initiative ในงานสัมมนาระหว่างประเทศในหัวข้อ "การคว้าโอกาสดิจิทัลเพื่อความร่วมมือและการพัฒนา" โดยคุณฟางได้กล่าวถึงความไม่สมดุลของข้อมูลระหว่างจีนกับญี่ปุ่น โดยย้ำว่าสื่อของสองประเทศควรรายงานข่าวอย่างสมดุลให้ประชาชนได้รับทราบ เพื่อที่จะสร้างรากฐานความไว้วางใจซึ่งกันและกันให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ "เราควรเคารพอธิปไตยดิจิทัลของกันและกัน สร้างความเชื่อใจร่วมกันภายใต้กรอบของยูเอ็น และบูรณาการเศรษฐกิจดิจิทัลระดับภูมิภาคภายใต้กรอบความร่วมมือระดับพหุภาคีอย่างเช่น RCEP"

ทิศทางใหม่: เปิดกว้างด้านความร่วมมือเพื่อสร้างอนาคตดิจิทัลของภูมิภาคร่วมกัน

เช่นเดียวกับการแข่งขันกีฬาที่ย้ายไปสนามแห่งใหม่ การปฏิวัติทางเทคโนโลยีและการปฏิรูปทางอุตสาหกรรมก็จะกำหนดโครงสร้างเศรษฐกิจโลกใหม่ ผู้เข้าร่วมการประชุมบรรลุฉันทามติว่า จีนและญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศ ควรจับเทรนด์และคว้าโอกาส ผู้เล่นทุกคนจากสองประเทศไม่ควรเสียเวลารอและดูเชิง เพราะยุคเทคโนโลยีใหม่ต้องอาศัยการเข้าร่วมและการร่วมมือเชิงรุก

คุณทาโร่ ชิมาดะ ผู้บริหารและรองประธานอาวุโสฝ่ายองค์กร บริษัท Toshiba Co., Ltd. ประเทศญี่ปุ่น และหัวหน้าฝ่ายธุรกิจดิจิทัล กล่าวว่า การจะรักษาสันติภาพของโลกจำเป็นต้องอาศัยการเปิดกว้างและการแลกเปลี่ยน โดยสิ่งสำคัญที่สุดคือการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เขาเสนอแนะว่าจีนและญี่ปุ่นสามารถเปิดกว้างให้แก่กันมากขึ้น และบรรลุฉันทามติผ่านทางการแลกเปลี่ยนที่เปิดกว้างและจริงใจ

เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามภาษาและวัฒนธรรมนั้น คุณเจียง เต๋า รองประธานอาวุโส บริษัท iFlytek Co., Ltd. กล่าวว่า ขอบเขตความร่วมมือระหว่างจีนกับญี่ปุ่นในด้านปัญญาประดิษฐ์จะกว้างขวางมาก โดยยกตัวอย่างว่า ในเดือนตุลาคม 2561 Eiken Foundation of Japan ประกาศเป็นครั้งแรกว่าจะนำเทคโนโลยีการประเมินการสอบพูดมาใช้ และ iFlytek คือพันธมิตรแต่เพียงผู้เดียว โดยตั้งแต่ปี 2562 ระบบให้คะแนนอัตโนมัติ AI ที่จัดหาโดย iFlytek ได้ช่วยยกระดับความแม่นยำและประสิทธิภาพของการให้คะแนนการสอบทักษะภาษาอังกฤษ CBT "ปัจจุบัน เครื่องแปลภาษา iFlytek มีวางจำหน่ายในกว่า 130 ประเทศและดินแดน และช่วยทลายกำแพงการสื่อสารในกว่า 60 ภาษา iFlytek กลายเป็นซัพพลายเออร์อย่างเป็นทางการในการจัดหาเครื่องแปลงเสียงและแปลภาษาอัตโนมัติสำหรับมหกรรมโอลิมปิกฤดูหนาวและพาราลิมปิก ปักกิ่ง 2022 และเราหวังว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของเราจะมีส่วนช่วยสนับสนุนโตเกียว โอลิมปิก ในปีหน้าด้วย"

คุณเจีย จิงตัน ผู้อำนวยการ Torch High Technology Industry Development Center ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า เขตพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคของจีนได้มอบสิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเขตพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคแห่งชาติ 169 แห่งให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เขตพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคแห่งชาติ เช่น ซีอาน เหอเฟย หางโจว และเสิ่นหยาง ได้กำหนดแผนที่สอดคล้องกันสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลหรืออุตสาหกรรมดิจิทัล

คุณเจียให้ข้อเสนอแนะมากมายเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ประการแรก เขาเห็นว่าความแตกต่างไม่ควรจำกัดความร่วมมือระหว่างสองฝ่าย เนื่องจากความร่วมมือระหว่างจีนกับญี่ปุ่นไม่ได้ละเมิดกฎหมายปัจจุบัน จึงเป็นโอกาสอันดีในการเริ่มกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศ ประการที่สอง จีนและญี่ปุ่นสามารถร่วมมือเชิงปฏิบัติด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมดิจิทัล และเดินหน้าเสนอทางออกของปัญหาที่สองฝ่ายกังวล ประการที่สาม ควรส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และองค์กรต่าง ๆ

คุณหลิว ซ่ง พูดถึงข้อเสนอแนะนี้ว่า "เราควรพูดคุยเพิ่มเติมเรื่องโมเดล "เขตพิเศษ" ของเขตพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคและเขตการค้าเสรี พร้อมทั้งกำหนดกฎเกณฑ์ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกัน"

คุณโนริฮิโระ ซูซูกิ กล่าวว่า ภายใต้ความร่วมมือด้านการพัฒนาดิจิทัลนั้น สิ่งสำคัญคือการแบ่งปันแนวคิดและค่านิยมทางสังคมให้แก่กัน ทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องสร้างกฏการไหลของข้อมูลบนพื้นฐานของค่านิยมร่วมกัน และนำไปใช้ฟื้นฟูองค์กรเอกชน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาประชาคมดิจิทัลในอนาคต

ทั้งสองฝ่ายยังพูดคุยกันเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลและการบูรณาการเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในอนาคต โดยคุณฮิโรมิ ยามาโอกะ ผู้อำนวยการบริษัท Future Co., Ltd. ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า ญี่ปุ่นเต็มใจที่จะร่วมมือกับจีน และเดินหน้าส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคร่วมกัน

"Huawei เคารพในคุณค่าของลูกค้า และจะเดินหน้าสร้างคุณค่าทั่วโลก รวมถึงในญี่ปุ่น ทั้งจีนและญี่ปุ่นต่างมีข้อได้เปรียบด้านอุตสาหกรรมและนวัตกรรม บริษัทญี่ปุ่นและ Huawei เติมเต็มซึ่งกันและกันในด้านซัพพลายเชนและเทคโนโลยี ความร่วมมือที่เปิดกว้างระหว่างบริษัทจีนและญี่ปุ่นจะช่วยสร้างอนาคตดิจิทัลร่วมกัน นอกจากนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในจีนและญี่ปุ่นไม่สามารถแยกออกจากสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมที่ดีและบุคลากรที่มีความสามารถด้านนวัตกรรม เราหวังว่าจีนและญี่ปุ่นจะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมด้านนโยบายที่เปิดกว้างมากขึ้น รวมถึงส่งเสริมนวัตกรรม ตลอดจนช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของสองประเทศให้ร่วมมือกันให้มากขึ้นและลึกซึ้งขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดจะมอบโซลูชันและผลิตภัณฑ์ที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดให้แก่ตลาดโลก" คุณสวี่ จือยวี่ กล่าวย้ำ              


ข่าวOxford Economics+เศรษฐกิจดิจิทัลวันนี้

Thai agri-food sector shrank 6% last year but remains a significant pillar to support country's economic recovery COVID-19 caused supply & demand challenges and fiscal risks threaten to overburden the industry & consumers

Thailand's agri-food sector contracted by 6%, or THB 228 billion, last year with a corresponding decline of 8%, or 730,000 people, in its workforce, largely due to the effects of the COVID-19 pandemic, revealed new research by Oxford Economics. Food Industry Asia (FIA) commissioned The Economic Impact of the Agri-Food Sector in South East Asia to better understand the challenges faced by the region's industry last year, with the report highlighting the pivotal role the sector will play in

จีน-ญี่ปุ่นหารืออย่างจริงจังเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัล มุ่งแสวงหาแนวทางส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาค

รายงานจาก Science and Technology Daily | IUSTC: ในปี 2563 โรคโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อโลก ขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลได้เน้นย้ำถึงศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ในการร่วมตอบสนองต่อการระบาดทั่วโลก รายงานของ Oxford...

China and Japan Conducted Genuine Discussions on Digital Economy: How to Jointly Boost Regional Cooperation

A report from Science and Technology Daily | IUSTC: In 2020, COVID-19 has had a profound impact on the world, and the digital economy has highlighted its massive potential in the global joint...

by Rob Stummer, Managing Director in Aust... How new technology and AI can control rising maintenance costs — by Rob Stummer, Managing Director in Australia and New Zealand at IFS. Activity in Austra...

โดย นายรอบ สตัมเมอร์ กรรมการผู้จัดการ บริ... เทคโนโลยีใหม่และ AI สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการซ่อมบำรุงได้อย่างไร — โดย นายรอบ สตัมเมอร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอเอฟเอส ประจำประเทศออสเตรเลียและนิวซี...

Oxford Economics and Expedia Group analyz... Expedia Group Reveals "OTA Premium" Study: Travelers who use OTAs stay longer, spend more on trips — Oxford Economics and Expedia Group analyze over 100,0...

เอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป เผยผลสำรวจ โอทีเอ พรีเมี่ยม นักเดินทางเข้าพักนานและใช้จ่ายมากกว่า

อ็อกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ และเอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้จ่ายของนักเดินทางโดยใช้ประเภทการจองเป็นตัวชี้วัด เอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป (Expedia Group) บริษัทท่องเที่ยวออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกร่วมมือกับ Oxford...