เจลล้างมือแอลกอฮอล์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตปกติใหม่ (New Normal) ปัจจุบันเจลแอลกอฮอล์มีหลายสูตร มีการใส่สารบำรุงผิวและเพิ่มกลิ่นให้น่าใช้มากยิ่งขึ้น ส่วนประกอบหลักที่ใช้ในการขึ้นรูปเจลแอลกอฮอล์คือคาร์โบพอล (Carbopol) ซึ่งเป็นโพลิเมอร์สังเคราะห์ ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด พบว่าคาร์โบพอลมีราคาแพงและขาดตลาด
“ไฮโดรแอลกอฮอล์เจล” ผลงานวิจัยของ อ.ดร.ธีรพงศ์ ยะทา จากหน่วยชีวเคมี ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ปี 2662 เป็นเจลแอลกอฮอล์ล้างมือสูตรธรรมชาติซึ่งมีการใช้พอลิเมอร์ “แซนแทนกัม” (Xanthan gum) ที่หาซื้อได้ทั่วไปทดแทนคาร์โบพอล ที่สำคัญคือมีความปลอดภัย เนื่องจากการทำเจลแอลกอฮอล์ด้วยคาร์โบพอลต้องใช้สารไตรเอทาโนลามีน (triethanolamine) ในการทำปฏิกิริยาสร้างเนื้อเจล ซึ่งหลายประเทศทางยุโรป โดยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) จัดให้เป็นสารกลุ่ม ethanolamine ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้ ระคายเคือง และมีการศึกษาพบว่าสามารถทำปฏิกิริยากับสารเคมีบางชนิด ก่อตัวเป็นสารกลุ่มไนโตรซามีน (nitrosamines) ซึ่งในประเทศไทยอนุญาตให้ใช้สารนี้ได้แต่ต้องมีการจำกัดปริมาณการใช้และความเข้มข้นตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
อ.ดร.ธีรพงศ์ เปิดเผยว่า แซนแทนกัมเป็นพอลิเมอร์ที่มีประสิทธิภาพในการโอบอุ้มแอลกอฮอล์ได้ยาก ในการวิจัยมีการนำองค์ความรู้มาปรับกรรมวิธีการผลิตให้สามารถรับแอลกอฮอล์ได้สูงสุดถึง 80 เปอร์เซ็นต์ โดยคงสภาพเนื้อเจลได้แม้เก็บไว้เป็นเวลา 1-2 ปี นอกจากนี้ยังนำน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรไทย เช่น ตะไคร้หอม มะกรูด มาใส่ในเจลแอลกอฮอล์โดยใช้เทคโนโลยีระดับนาโนในการกักเก็บน้ำมันหอมระเหยไว้ หลังจากแอลกอฮอล์ระเหย กลิ่นหอมก็ยังคงติดมือนานขึ้น
นอกจากเจลแอลกอฮอล์แล้ว อ.ดร.ธีรพงศ์ยังได้พัฒนา “สเปรย์เจล” ที่มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคได้ดี เพิ่มระยะเวลาในการสัมผัสกับเชื้อโรคได้นานขึ้นเหมือนกับเจลแอลกอฮอล์ โดยใช้แซนแทนกัมเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิวได้ดี ไม่แสบผิว
เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ นวัตกรรมนาโนจากสมุนไพรธรรมชาติที่ปลอดภัยในการใช้งาน จึงเป็นผลงานวิจัยที่พลิก “วิกฤต” ในช่วงโควิด- 19 ให้เป็น “โอกาส” หากเจลแอลกอฮอล์ยังคงเป็นเครื่องมือป้องกันตนเองจากเชื้อโรคในระยะยาว ผลงานวิจัยนี้จึงเป็นอีกหนึ่งในตัวเลือกสำหรับผู้บริโภคในอนาคต” อ.ดร.ธีรพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย
รศ.นพ. วิรัตน์ วงศ์แสงนาค (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานกรรมการบริษัท บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย จำกัด (มหาชน) หรือ AMARC (เอมาร์ค) ผู้นำการให้บริการทางวิทยาศาสตร์ ด้านเกษตร อาหาร ยา และสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานสากล และ ดร.ชินดนัย ไชยยอง (ที่ 3 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริษัท ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกในโอกาสจัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติผ่านทุกวาระ พร้อมอนุมัติการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานงวดปี 2567 ให้
วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โด...
กระทรวง อว. จับมือ ภาคี เปิดตัว Medical AI Data Platform
—
กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล กรมการแพทย์ และพันธมิตร เปิดตัว Medical AI Data Platfo...
MEDEZE ต้อนรับคณะผู้บริหาร ABRM ร่วมหารือความร่วมมือยกระดับนวัตกรรมทางการแพทย์
—
นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำก...
สคทช. จับมือ สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีรับรองพื้นที่ปลอดการตัดไม้ รองรับกฎ EUDR ดันแพลตฟอร์มตรวจสินค้าโภคภัณฑ์ก่อนส่งออก EU
—
(วันที่ 17 เมษายน 2568) ณ ห้องแถลง...
นักเรียนไทยคว้ารางวัลนำเสนอโครงงาน จากเวทีประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ICYS 2025
—
นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาส...
สอวช. ผนึก มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่นที่ 7 มุ่งผลิตนักออกแบบนโยบายตอบโจทย์ประเทศ
—
สอวช. ร่วมกับ มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่นที่ 7 มุ่งผลิตนักออกแบบนโยบาย...
มทร.ธัญบุรี คว้า 7 รางวัลนวัตกรรมระดับโลก
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดี มทร.ธัญบุรี เผยว่า ผลงานจาก มทร.ธัญบุรี ผ่านการคัดเ...
กรมวิทย์ฯ บริการ คว้า 3รางวัล จากเวทีนานาชาติ "The 50th International Exhibition of Inventions Geneva" ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
—
ดร.พจมาน ท่าจีน รองอธิ...
วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...