สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ บริษัท ซีนเนอร์ยี่ เทคโนโลยี จำกัด ผู้ให้บริการงานออกแบบและผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และ Smart Solutions พัฒนาหุ่นยนต์รังสียูวีเพื่อฆ่าเชื้อโรค ( UV Robot ) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ให้แก่สถานพยาบาล อาคารสำนักงานและพื้นที่ระบบปิดอื่นๆ
โดยฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิและแสง สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติได้นำชุดความรู้ด้านงานวิจัยและเทคโนโลยีมาตรวิทยาเข้าช่วยพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบให้ตรงกับความต้องการและได้มาตรฐานเพื่อนำใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยได้ทำการทดสอบปริมาณความเข้มแสง (Irradiance) ที่ระยะต่างๆ เพื่อให้ทราบว่า ในระยะที่แตกต่างกัน จะใช้เวลาในการฆ่าเชื้อแตกต่างกันเท่าไร รวมถึงอายุการใช้งานของหลอดและประสิทธิภาพการถดถอย (Live circle of UVC lamp) เพื่อทราบถึงอายุการใช้งานและประสิทธิภาพของหลอดยูวีซี ซึ่งวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้คนต้องดำรงชีวิตแบบเว้นระยะห่างทางสังคม การใช้ประโยชน์จากหุ่นยนต์จะเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเชื่อมต่อกับกิจกรรมทางสังคมเพื่อลดความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่ในการบริหารจัดการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะวิกฤต โดยบริษัทฯ จะนำเครื่องต้นแบบดังกล่าวไปพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และทำการส่งมอบให้กับโรงพยาบาล
ในการนี้นางอัจฉรา เจริญสุข ผู้อำนวยการ มว. พร้อมด้วย นายอนุสรณ์ ทนหมื่นไวย รองผู้อำนวยการ และ ร.ท.อุทัย นรนิ่ม ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พร้อมด้วยนักมาตรวิทยา ฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิและแสง ได้ทำการส่งมอบหุ่นยนต์ต้นแบบดังกล่าวให้แก่ คณะผู้บริหารและทีมพัฒนาหุ่นยนต์ฯจากบริษัท ซีนเนอร์ยี่ เทคโนโลยี จำกัด ได้แก่ นายนิติ เมฆหมอก กรรมการผู้จัดการ นางสาวรัศมี สืบชมภู รองกรรมการผู้จัดการ นายณัฐวุฒิ อิ่มใจ Product Engineer นายกร โชติพิทักษกุล Software Engineer และนางสาวสัจจาพร พิลึก Business Development เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดและส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลที่มีความต้องการใช้งานต่อไป
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ บริษัท ซีนเนอร์ยี่ เทคโนโลยี จำกัด ผู้ให้บริการงานออกแบบและผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และ Smart Solutions พัฒนาหุ่นยนต์รังสียูวีเพื่อฆ่าเชื้อโรค ( UV Robot ) เพื่อนำไปมอบให้กับสถานพยาบาล อาคารสำนักงาน และพื้นที่ระบบปิดอื่น ๆ โดยฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิและแสง สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติได้ทำการทดสอบปริมาณความเข้มแสง (Irradiance) ที่ระยะต่างๆ เพื่อที่จะเก็บข้อมูลว่า การฆ่าเชื้อในระยะที่แตกต่างกัน จะใช้เวลาในการฆ่าเชื้อ
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ จับมือภาคเอกชนพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบ (UV Robot) นวัตกรรมสนับสนุนภาคสาธารณสุข เพื่อให้คนไทยก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19ไปด้วยกัน
—
สถาบันมาตรว...
กรมวิทย์ฯ บริการ ศึกษาการพัฒนาวัสดุอ้างอิงเพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการ กรมวิทย์ฯ บริการ สู่การเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงทางด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ
—
สถาบันห้องป...
วว. / พันธมิตร ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ
—
ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย...
ลำพูน จัดฝึกอบรม หลักสูตร มาตรวิทยาและระบบคุณภาพสำหรับเครื่องมือวัด
—
สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน และสถาบันมาตรวิทยาแห...
AIAT เชิญทีมคณาจารย์คณะ IT SPU ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ ในการอบรมหลักสูตร ด้าน IOT
—
ผศ.จิโรจน์ จริตควร หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเต...
วช. จับมือ มว. - มช. พร้อมร่วมมือสร้างมาตรฐานเครื่องวัดฝุ่นต้นทุนต่ำของประเทศไทย
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห...
ไปรษณีย์ไทยตอกย้ำจุดยืน "เทคโพสต์" เปิดตัวบริการใหม่ e-Timestamp ตราประทับรับรองความปลอดภัยบนเอกสารดิจิทัล ทดลองใช้งานได้แล้ววันนี้!!
—
บริษัท ไปรษณีย์ไท...