กสิกรไทย ปั้น “รวมใจช้อปของไทย” ดึงพันธมิตรช่วยชาวสวน และผู้ผลิตผลไม้แปรรูป ผ่านช่วงโควิด-19

21 May 2020

กสิกรไทย ปั้น “รวมใจช้อปของไทย” ดึงพันธมิตรช่วยชาวสวน และผู้ผลิตผลไม้แปรรูป ผ่านช่วงโควิด-19

ธนาคารกสิกรไทย เปิดตัวโครงการ “รวมใจช้อปของไทย” จับมือ บมจ. ไปรษณีย์ไทย และช้อปปี้ เปิดช่องทางให้ลูกค้าเอสเอ็มอีของธนาคารฯ ที่เป็นเจ้าของสวนผลไม้ ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูป ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารแห้ง ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ระบายผลไม้สด และสินค้าเกษตรแปรรูปได้ผ่านช่องทางไทยแลนด์โพสต์มาร์ท (THAILANDPOSTMART.com) และ แอปพลิเคชัน ช้อปปี้ (Shopee)

คลิป: https://kbank.co/2TpPfK5

ที่มา:

จากข้อมูลศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่าสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19  ส่งผลให้ทางการจีนประกาศปิดด่านขนส่งสินค้าสำคัญต่อเนื่องจากการหยุดตามปกติในเทศกาลตรุษจีนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และในหลายด่านยังปิดอยู่จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งเส้นทางการค้า ผ่านแดนจากเวียดนามไปจีนก็หยุดดำเนินการชั่วคราวเพื่อเฝ้าระวังการระบาดของโรค ทั้งนี้การส่งออกผลไม้ของไทยไปจีน โดยเฉพาะใน   ไตรมาสที่ 1 ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก เนื่องจากที่ผ่านมาไทยส่งออกผลไม้สดเป็นหลัก ซึ่งผลไม้สดมีระยะเวลาการขนส่งและจัดเก็บจำกัด อีกทั้งผู้บริโภคในจีนต่างระมัดระวัง การจับจ่ายใช้สอยและเลือกซื้อเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ทำให้ผู้นำเข้าผลไม้ต้องยกเลิกหรือชะลอ คำสั่งซื้อออกไป

จากการที่ไทยพึ่งพิงการส่งออกผลไม้ไปยังจีนมากกว่า 57% ของมูลค่าการส่งออกผลไม้ทั้งหมดประกอบกับประเทศผู้นาเข้าอื่นได้เพิ่มมาตรการเฝ้าระวังด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกผลไม้ของไทยทั้งปี 2563 น่าจะหดตัวในช่วง -24 ถึง -21% (YoY) อยู่ที่ 86,300-88,900 ล้านบาท ทำให้ไทยจำเป็นต้องพิจารณาแผนการตลาดรองรับผลผลิตที่จะทยอยออกสู่ตลาด ไม่ว่าจะเป็นแผนการแปรรูปผลไม้ หรือจัดหาตลาดอื่นเพิ่มเติมเพื่อลดผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวในระยะสั้น

เนื้อหาคลิป:

เกษตรกรชาวสวนผลไม้ได้รับผลกระทบจากการเกิดวิกฤติโควิด-19 ที่ทำให้ประเทศหลักที่ซื้อผลไม้จากประเทศไทย เช่น จีน ญี่ปุ่น ชะลอการสั่งซื้อ และการปิดพรมแดนสำคัญๆ ส่งผลให้ไม่สามารถส่งออกผลไม้สด และผลไม้แปรรูปไปยังประเทศที่เป็นลูกค้ารายใหญ่เหล่านั้นได้   ขณะเดียวกันผลไม้เป็นของที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติถึงจะเลี้ยงมาอย่างดี “ดูแลเหมือนลูกทุกต้น” เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวแล้วก็ไม่สามารถรอเวลาต่อไปได้ แม้ผลผลิตจะราคาตกจนน่าใจหาย แต่ชาวสวนเองก็มีต้นทุน ที่ได้ทุ่มเทลงไปแม้เกิดภาวะแล้งก่อนหน้า ทั้งค่าปุ๋ย ค่าน้ำ ค่าแรงคนงานในสวน ภาวะ “ขาดทุน” จึงยืนอยู่ตรงหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงต้องหาทางระบายสินค้าให้ยังมีรายได้มาดูแลครอบครัว และคนงานต่อไป ด้วยการหาวิธีขายใหม่ ปรับตัว และไม่ยอมแพ้ ดังนั้นช่องทางการจำหน่ายรูปแบบใหม่จะเข้ามาช่วย “ตัดพ่อค้าคนกลาง ให้ชาวสวน และผู้ผลิตผลไม้แปรรูปส่งตรงผลผลิตถึงมือผู้บริโภค” จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะเข้ามาช่วยฉุดรั้งให้ชาวสวน และผู้จำหน่ายผลไม้แปรรูป “พบโอกาสในวิกฤติครั้งนี้ ทำให้ลูกค้ารู้จักมากขึ้น” และ ก้าวผ่านวิกฤติในครั้งนี้ไปได้

ช่องทางการจัดจำหน่าย:

KBank Live: รวบรวมร้านค้าในโครงการ “รวมใจช้อปของไทย” นำเสนอผ่านช่องทางของธนาคารกสิกรไทยที่มีผู้ติดตามอยู่กว่า 33 ล้านบัญชี ให้สามารถซื้อสินค้าตรงได้จากชาวสวน และผู้ผลิตผลไม้แปรรูป สามารถติดตาม Facebook Fan Page ได้ที่ https://www.facebook.com/KBankLive และ Line Official Account ที่ https://kbank.co/LINEfriend KBank Live ทุกวันศุกร์ เริ่มตั้งแต่ 22 พ.ค. เป็นต้นไป

เว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน THAILANDPOSTMART.com : รวบรวมผลไม้จากชาวสวนในโครงการ “รวมใจช้อปของไทย” นำเสนอผ่านช่องทางขายออนไลน์ของไปรษณีย์ไทย THAILANDPOSTMART ที่มีผู้ใช้งานอยู่ 9 ล้านราย ลูกค้าสามารถสั่งซื้อได้ทั้งผลไม้สดและผลไม้แปรรูปเกรดพรีเมี่ยม รับประกันความสด ส่งตรงจากสวน ได้แก่ ส้ม มะม่วง ทุเรียน กล้วยแปรรูป มะพร้าวอบกรอบ และอื่นๆอีกมากมายเมื่อสั่งซื้อแล้ว ผลผลิตจะถูกจัดส่งผ่านบริการของไปรษณีย์ไทยถึงหน้าบ้าน สนใจสั่งซื้อสินค้าได้ที่ https://www.thailandpostmart.com/promotion

แอปพลิเคชัน Shopee: รวบรวมผู้ผลิต และร้านจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร  ผลไม้แปรรูป และอาหารแห้ง ในโครงการ “รวมใจช้อปของไทย” นำเสนอผ่านแอปพลิเคชัน Shopee ที่มีผู้ใช้งานในประเทศไทยกว่า 30 ล้านดาวน์โหลด โดยผลผลิตที่นำเสนอผ่านช่องทาง Shopee ได้แก่ ผลไม้อบแห้ง น้ำผลไม้ แยมผลไม้ น้ำมันสกัดจากผลไม้ ฯลฯ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเลือกชมผลิตภัณฑ์ที่ร่วมโครงการได้โดยพิมพ์คำว่า 'SPKBSME’ ในช่องค้นหาสินค้าที่หน้าแรกของแอปพลิเคชัน Shopee และคุ้มยิ่งกว่าเพราะสามารถใช้โค้ดเพื่อรับ Shopee coin cashback 50% รับคืนสูงสุด 50 Shopee coins เมื่อมียอดซื้อสินค้าขั้นต่ำ 100 บาท (จำกัด 10,000 สิทธิ์ ตลอดโครงการ)

HTML::image( HTML::image(