วันนี้นายพุฒิพงศ์ สุรพฤกษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะโฆษกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสรุปผลและถอดบทเรียน (After Action Review : AAR)
การป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ปี 2563 ในระหว่างวันที่ 19 – 21 พฤษภาคม 2563 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และร่วมถอดบทเรียนผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหาจากภาคเอกชน ประชาชน จิตอาสา NGOs และนักวิชาการ ในทุกด้านทุกมุมมอง เพื่อนำมาสรุปและกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือที่เหมาะสมและยั่งยืนต่อไป
จากสถานการณ์จุดความร้อน (Hotspot) ในภาพรวมทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 - 14 พฤษภาคม 2563 (ข้อมูลจากดาวเทียมระบบ VIRS ) พบจุด Hotspot 216,964 จุด โดยร้อยละ 62% อยู่ในเขตป่าไม้ (132,486 จุด) และร้อยละ 38% อยู่นอกเขตป่าไม้ (84,478 จุด) ส่วนสถานการณ์จุด Hotspot ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พบจุด Hotspot สะสม จำนวน 35,712 จุด เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 3,702 จุด ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พบจุด Hotspot สะสม จำนวน 46,580 จุด เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 4,035 จุด
ทั้งนี้ ในวันนี้เป็นวันแรกของการประชุมเชิงปฏิบัติฯ ถอดบทเรียน AAR โดยประชุมทางไกลผ่านระบบ video conference เพื่อปฏิบัติตามมาตรการในการรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19)
โดยมีนายพงศ์บุณย์ ปองทอง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน (ส่วนหน้า) และ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ โดยในช่วงเช้าเป็นการประชุมกลุ่มย่อย ที่ 1 ในส่วนของเจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการหารือถึงสาเหตุของปัญหา ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะการทำงาน โดยเฉพาะประเด็นหลัก ดังนี้
ส่วนในช่วงบ่ายเป็นการประชุมกลุ่มย่อย ที่ 2 ในส่วนของภาคประชาชน เห็นพ้องให้มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมกับภาครัฐ อีกทั้งให้มีการบูรณาการการดำเนินงานให้เชื่อมโยงกันทุกระบบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้มีการบริหารจัดการเชิงพื้นที่เป็นหลัก
รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์ G-Green โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระดับดีเยี่ยม จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อยกย่องการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อมอย่างมีความรับผิดชอบ และการมีส่วนร่วมในด้านการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งผู้ประกอบการได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและคณะกรรมการเกียรติยศ รอยัล คลิฟได้รับตราสัญลักษณ์ G-Green จากความริเริ่มกิจกรรมปกป้องสิ่ง
อ.อ.ป. รับเกียรติบัตร "องค์กรพัฒนาคุณธรรม ประจำปี 2567"
—
นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (รษก.ผอ.อ.อ.ป.) เป็นผู้แทนปลัด...
กลุ่มสยามกลการ รับประกาศนียบัตร 'Climate Action Leaders Recognition' บนเวที UN ประเทศไทย ตอกย้ำดำเนินธุรกิจตามแนวทางความยั่งยืนระดับสากล
—
เมื่อเร็วๆ นี้ ...
DMT สุดปลื้ม คว้าเกียรติบัตรสำนักงานสีเขียวระดับดีเยี่ยม จากกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อมครบทุกพื้นที่สำนักงานด่าน
—
นางอโนมา อุฤทธิ์ รองก...
UMI ได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) จาก โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก
—
บริษัท สหโมเสคอุตสาหกรรม จำกัด (มหา...
"SAPPE" รับประกาศนียบัตร 'Climate Action Leaders' เวทีผู้นำด้านความยั่งยืน ยึดมั่นดำเนินธุรกิจตามแนวทางความยั่งยืน พร้อมสนับสนุน Diversity & Equality
—
นางสาวปิยจิ...
บางจากฯ คว้ารางวัลระดับสากล "Climate Action Leader" บริษัทพลังงานหนึ่งเดียวของไทย สะท้อนบทบาทผู้นำสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
—
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 นางกลอยต...
เจียไต๋คว้ารางวัลสำนักงานสีเขียวระดับดีเยี่ยม มุ่งเป้าขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืน
—
บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทย โดยนายเกียรติศ...