กรมวิชาการเกษตร ล้ำหน้าพัฒนาชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืชสูตรใหม่ชนิดผงสำเร็จ เผยเทคนิคการเลี้ยงไส้เดือนฝอยต้องเติมเชื้อแบคทีเรียเพิ่มประสิทธิภาพกำจัดแมลง ชี้สูตรใหม่แบบผงเกษตรกรใช้ได้ง่าย ช่วยรักษาคุณภาพไส้เดือนฝอย แถมผลิตภัณฑ์เก็บได้นานกว่าเดิม รุดจดสิทธิบัตรสูตรสำเร็จไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงแบบผงแล้ว
นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กลักษณะคล้ายเส้นด้าย สามารถทำให้แมลงเกิดโรคและตายในที่สุด ในประเทศไทยมีรายงานการใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืชมาตั้งแต่ปี 2529 จนถึงปัจจุบันค้นพบว่าไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีมา คาร์โปแคปซี เป็นไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการกำจัดแมลงได้หลายชนิดกว่าไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงชนิดอื่น นอกจากนี้ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงชนิดนี้ยังมีลักษณะพิเศษคือมีแบคทีเรียที่ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันซึ่งแบคทีเรียนี้นอกจากมีฤทธิ์ทำให้แมลงตายแล้วยังสร้างสารปฏิชีวนะยับยั้งจุลินทรีย์ชนิดอื่นที่จะเข้ามาปะปน ทำให้แมลงที่ตายด้วยไส้เดือนฝอยไม่เน่าเละ ไม่มีกลิ่นเหม็น และยังมีผลทำให้ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงสามารถขยายพันธุ์ได้ดีอีกด้วย
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการคันคว้าวิจัยการผลิตและการเก็บรักษาไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเพาะเลี้ยงไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงสามารถเลี้ยงขยายได้ง่ายๆ ด้วยตัวหนอน แต่ถ้าต้องการผลิตขยายเป็นปริมาณมากสามารถเพาะเลี้ยงได้ด้วยอาหารเทียมในสภาพปลอดเชื้อ และเลี้ยงแบบเติมเชื้อแบคทีเรียร่วมอาศัยไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในอาหารเทียมด้วย เพื่อให้ได้ผลผลิตไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในปริมาณมากมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงสูง ในกรณีที่ไม่มีการเติมเชื้อแบคทีเรียร่วมอาศัยและไม่อยู่ในสภาพปลอดเชื้อนั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นในขั้นตอนการเลี้ยงและเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงมีคุณภาพและประสิทธิภาพต่ำทำให้แมลงไม่ตายหรือตายช้า
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า นอกจากนี้ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชยังได้พัฒนาวิธีการเก็บรักษาไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงสไตเนอร์นีมา คาร์โปแคปซี จากเดิมที่เก็บในชิ้นฟองน้ำสังเคราะห์แล้วบรรจุในถุงพลาสติก ซึ่งคงประสิทธิภาพได้นานกว่า 3 เดือน แต่มีข้อจำกัดในการใช้ที่ต้องนำฟองน้ำที่มีไส้เดือนฝอยมาบีบขยำในน้ำ 3 ครั้งจึงจะสามารถนำไปฉีดพ่นกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ ซึ่งทำให้ยุ่งยากและมีไส้เดือนฝอยบางส่วนหลงเหลือติดอยู่ในชิ้นฟองน้ำสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นจึงได้พัฒนาการเก็บรักษาไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงแบบผงดินบรรจุในขวดกระป๋องพลาสติกขาวทึบ ซึ่งสามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลานานกว่า 6 เดือน โดยชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงแบบผงดินที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นี้ทำให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้สะดวกเพียงเทผงดินที่มีไส้เดือนฝอยลงละลายในน้ำแล้วทำการพ่นกำจัดแมลงได้ทันที นอกจากนี้การเก็บไส้เดือนฝอยในกระป๋องยังสะดวกในการขนส่งและช่วยรักษาคุณภาพของไส้เดือนฝอยได้ดีอีกด้วย
ผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง ใช้ป้องกันกำจัดหนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกอง ด้วงหมัดผัก ด้วงงวงมันเทศ ด้วงกินรากสตรอเบอรี่ หนอนกระทู้หอม หนอนผีเสื้อในโรงเห็ด และแมลงศัตรูในสนามหญ้า โดยควรพ่นชีวภัณฑ์หลังเวลา 17.00 น. และหลังให้น้ำ ควรเขย่าและคนเป็นระยะเพื่อให้ไส้เดือนฝอยกระจายในน้ำได้ทั่วถึง และใช้ให้หมดหลังเปิดกระป๋อง สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช พร้อมดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงขยายไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้สนใจที่ต้องการใช้ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงแบบผง สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช โทรศัพท์ 02-579-7580 ต่อ 135
“ขั้นตอนการเลี้ยงไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงของกรมวิชาการเกษตรจะแตกต่างจากการเลี้ยงของหน่วยงานอื่นเพราะจะมีการเติมเชื้อแบคทีเรียในอาหารเทียมซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการเลี้ยงไส้เดือนฝอย เนื่องจากแบคทีเรียเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้แมลงตาย เมื่อเข้าสู่ตัวแมลงแล้ว แมลงจะเกิดอาการเลือดเป็นพิษ และตายในที่สุด จึงจำเป็นต้องเติมแบคทีเรียในขั้นตอนการเลี้ยง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับไส้เดือนฝอยในการกำจัดแมลงได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังได้พัฒนาวิธีการเก็บรักษาไส้เดือนฝอยเก็บในผงดินบรรจุขวด ซึ่งนอกจากจะทำให้เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ไว้ได้นานแล้วยังทำให้เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมด้วย ซึ่งงานวิจัยนี้กรมวิชาการเกษตรได้ยื่นจดสิทธิบัตร “สูตรสำเร็จไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงแบบผง และการเก็บในภาชนะ” แล้ว
นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) นำคณะที่ปรึกษาประกอบด้วย นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ นายปราการ วีรกุล และนางสาวรวินันท์ ฉ่ำเฉลิม ผู้อำนวยการกองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่จังหวัดพะเยาเข้าประชุมหารือร่วมกับนายนิวัติ นักวิชาการศุลกากรด่านศุลกากรเชียงของ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ด่านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพะเยา กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง สำนักงานคณะกรรมการอาหาร
เลขาธิการ มกอช. ติดตามการปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดน่าน
—
นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) นำคณะที่ปรึกษาประ...
มกอช.ร่วมหารือระหว่างไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน
—
นางสาวรวินันท์ ฉ่ำเฉลิม ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ได้รับมอบหมายจากนายพิศาล พง...
นักวิจัยไทยเฉียบโชว์นวัตกรรมแช่ผลมะม่วงในน้ำร้อนพิฆาตแมลงวันผลไม้ เปิดตลาดมะม่วงไปอียูฉลุยกว่า 167 ตัน
—
กรมวิชาการเกษตร ใช้งานวิจัยทลายกำแพงส่งออกมะม่วงไ...
3 ปุ๋ยชีวภาพตระกูลพีจีพีอาร์แรงเวอร์ยอดใช้พุ่งเกษตรกรสั่งจองข้ามปี
—
กรมวิชาการเกษตร ชูปุ๋ยชีวภาพถุงเขียวตระกูลพีจีพีอาร์ 3 สูตรสุดยอดปุ๋ยชีวภาพแห่งปี ทึ่...
เห็ดร่างแหสายพันธุ์ไทยคุณสมบัติตอบโจทย์คนรักสุขภาพและผู้สูงวัย สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร
—
กรมวิชาการเกษตร วิจัยสำเร็จเห็ดร่างแหสายพันธุ์ไทย คุณสมบัติโดด...
เกษตรฯ อัปเดตสวนและโรงคัดบรรจุ 4 ผลไม้ไทยดันขึ้นเว็บไซต์จีน ขนุนแชมป์ผลไม้เติบโตไวยอดส่งออกพุ่งทะลุ 7 หมื่นตัน
—
กรมวิชาการเกษตร เดินหน้าจัดคิวส่งรายชื่อส...
แหนแดงคว้าแชมป์ปุ๋ยพืชสดให้ธาตุอาหารสูงแซงพืชตระกูลถั่ว
—
กรมวิชาการเกษตร หนุนเกษตรกรใช้แหนแดงแห้งทดแทนปุ๋ยเคมีในแปลงพืชผัก ทึ่งให้ธาตุไนโตรเจนสูงกว่าพืชต...
2 ตั๊กแตนประสานเสียงไม่เสี่ยงเข้าไทย ตอกย้ำสภาพอากาศไม่เข้ากับไลฟ์สไตล์
—
กรมวิชาการเกษตร ย้ำนักเปิบแมลงไม่ต้องรอ 2 ตั๊กแตนคอนเฟิร์มไม่เข้าไทย เคลียร์พบระ...
การ์ดตก พบโรคใบด่างระบาดกว่าแสนไร่ ชี้ต้นตอปลูกพันธุ์อ่อนแอ ใช้ท่อนพันธุ์ติดโรค
—
กรมวิชาการเกษตร เร่งกระชับพื้นที่ระบาดโรคใบด่างมันสำปะหลัง หลังพบพื้น...