สสส. ชวน กิน ขยับ หลับสนิท ต้านภัยโควิด -19

ในโอกาสที่ทุกคนต้องกักตัวอยู่บ้าน และบางคนต้องทำงานที่บ้าน เพื่อป้องกันการรับเชื้อ
โควิด -19 ก็ถือเป็นจังหวะที่ดีในการที่เราจะหันมาปรับพฤติกรรมการกิน การอยู่ เพื่อเปลี่ยนเราเป็นคนใหม่ที่มีสุขภาพดี ห่างไกลโรค แทนการนั่งสิงร่างไปกับโต๊ะทำงานทั้งวัน เพราะพฤติกรรมขยับน้อยก็เท่ากับป่วยหนัก ร่างกายอ่อนแอ ไม่มีภูมิต้านทานโรค

สสส. ชวน กิน ขยับ หลับสนิท ต้านภัยโควิด -19

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เชิญชวนให้ประชาชนหันมาทำสิ่งที่สำคัญที่สุดให้กับชีวิตตัวเอง เพื่อให้ห่างไกลโรค ด้วยการสร้างสุขภาพให้แข็งแรง สุขภาพดีเริ่มต้นที่ตัวเรา กิน ขยับ หลับสนิท เพื่อสร้างภูมิ คุ้มกันต้าน โควิด -19 สสส. ชวน กิน ขยับ หลับสนิท ต้านภัยโควิด -19

กินอาหาร ครบ 3 มื้อ กินผักผลไม้นำ ลดหวาน มัน เค็ม

ช่วงเวลากักตัว ควรกินอาหารที่ให้พลังงานต่ำ ย่อยง่าย สร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง และเสริมวิตามินให้กับร่างกาย ที่สำคัญควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้ง 3 มื้อ โดยเฉพาะเน้น โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ กากใยอาหารจากผักผลไม้ และเป็นโอกาสที่จะลองสร้างเมนูอาหารที่มีประโยชน์ด้วยตัวเอง ลดการซื้ออาหารแบบสำเร็จรูปไปในตัวพร้อม ๆ กับการลดอาหารหวาน มัน เค็ม ที่สำคัญต้องกินให้ถูกส่วน 2:1:1 คือกินผักผลไม้ชนิดต่าง ๆ ปริมาณ 2 ส่วนของจาน (ครึ่งจาน) กินข้าว-แป้ง ปริมาณ 1 ส่วนของจาน (หนึ่งในสี่ของจาน) เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ถั่วเมล็ดแห้ง ปริมาณ 1 ส่วนของจาน (หนึ่งในสี่ของจาน) รวมทั้งลดหรืองดอาหารรสจัด และเครื่องดื่มประเภทที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม ชาเขียว ชานมไข่มุกต่าง ๆ รวมถึงแอลกอฮอล์ แต่เลือกดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ 7-8 แก้วต่อวัน ถ้าหากปรุงอาหารเองให้ใช้เทคนิค 6 : 6 : 1 คือ น้ำตาล 6 ช้อนชาต่อวัน ไขมัน 6 ช้อนชาต่อวัน และเกลือ 1 ช้อนชาต่อวัน

ขยับร่างกายทุกชั่วโมง มีกิจกรรมทางกายแต่พอเหมาะ

ช่วงการทำงานที่บ้าน เรามักจะนั่งทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายไม่ได้ใช้พลังงาน โรคอ้วนจะถามหา ร่างกายก็จะอ่อนแอลง ดังนั้นควรลุกขยับร่างกายทุกชั่วโมง และสร้างกิจวัตรประจำวันในการมีกิจกรรมทางกายภายในบ้านโดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือพื้นที่มาก เช่น การขยับลุกนั่งขณะดูทีวี การเดินย้ำเท้าภายในบ้าน การเดินขึ้นลงบันได การเข้าคลาสออกกำลังกายออนไลน์

นอกจากนั้นควรกำหนด
เวลาที่แน่นอนในการทำกิจกรรมทางกายทุกวันโดยเลือกเวลาที่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องแม้จะผ่านพ้นช่วงกักตัวแล้วก็ยังทำในเวลาเดิมได้
และไม่ควรออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงในช่วงเวลานี้ เนื่องจากการออกกำลังกายหนัก
จะไประงับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
(ระบบภูมิคุ้มกันที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน)
สามารถเลือกทำกิจกรรมทางกายระดับเบาถึงปานกลางได้

ระดับเบา ได้แก่ การนั่ง ยืดเหยียดบนเก้าอี้ หรือเดิน น้อยกว่า 10 นาที และระดับปานกลาง ที่ทำให้รู้สึกว่าหัวใจเต้นแรง หายใจเร็วขึ้น แต่ยังสามารถพูดคุยประโยคยาว ๆ ได้ ถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง เช่น ปั่นจักรยานอยู่กับที่ภายในบ้าน หรือ เดินในบริเวณบ้าน ต่อเนื่อง 10 นาทีขึ้นไป เดินขึ้นลงบันได ทำสวน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค แต่การขยับน้อย ไม่ออกกำลังกายเลย หรือออกกำลังกายหักโหมเกินไปจะทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้

หลับสนิท นอนให้เพียงพอไม่น้อยกว่า 7-8 ชั่วโมงต่อวัน

ในระหว่างกักตัว บางคนอาจมีความเครียดจากการทำงานที่บ้าน การกักตัวในพื้นที่จำกัด หรือ
การรับข้อมูลข่าวสารมากเกินไป ทำให้นอนไม่หลับ ซึ่งการนอนมีความสำคัญต่อสุขภาพ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรค และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกายของเรา โดยคนทั่วไปควรนอนหลับให้ได้วันละ 7-8 ชั่วโมง การนอนน้อยเกินไปหรือนอนมากไปล้วนส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้เซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง
ภูมิต้านทานต่ำ ส่งผลร่างกายอ่อนแอ

ทั้งนี้ก่อนนอนควรละเว้นจากการทำกิจกรรมใด ๆ ที่หน้าจอ อาทิ การดูโทรทัศน์ การเล่นมือถือ การเล่นเกมออนไลน์ต่าง ๆ เพราะจะมีผลทำให้นอนไม่หลับ หรือหลับช้า ดังนั้นก่อนนอนควรปิดไฟ ปิดหน้าจอเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ทุกชนิด ซึ่งจะช่วยให้นอนหลับสนิทอย่างมีคุณภาพ

อย่างไรก็ตามองค์ประกอบหลักของการมีสุขภาพดี เริ่มต้นที่ตัวเราที่จะช่วยต้านโควิด -19 ดังนั้น แม้จะออกจากช่วงของการกักตัว โควิด-19 เราก็สามารถนำหลักการนี้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ ถือเป็นการพลิกวิกฤติเปลี่ยนเป็นคนใหม่ที่แข็งแรงสุขภาพดีทุกสถานการณ์

สนใจข้อมูลดูแลสุขภาพตัวเอง คลิก FB: สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)


ข่าวไพโรจน์ เสาน่วม+เสริมสุขวันนี้

บางจากฯ ร่วมสร้าง "องค์กรรักษ์สุขภาพ รักษ์โลก" เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ชู "ทอดไม่ทิ้ง" ต้นแบบดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมเสวนาในหัวข้อ "ก้าวสู่องค์กรรักษ์สุขภาพ รักษ์โลก เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน" ร่วมกับ ดร. นพ. ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นางสาวภัทร์ ศาสตร์ขำ ผู้จัดการอาวุโส ส่วนงานพัฒนาอย่างยั่งยืน สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) และศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง วรรณี นิธิยานันท์ ประธานเครือข่ายคนไทยไร้พุง ดำ

อึ้ง! เด็กไทยส่อมีโรคประจำตัวจากความดันโล... อึ้ง! เด็กไทยส่อมีโรคประจำตัวจากความดันโลหิตสูง 10% — อึ้ง! เด็กไทยส่อมีโรคประจำตัวจากความดันโลหิตสูง 10% เหตุ กินขนมกรุบกรอบทุกวัน ซ้ำ ติดปรุงเค็มหนัก ส...

ว่าที่ร้อยตรีจิรชัย สาฤาษี ผู้จัดการทั่วไ... บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี รับรางวัล Healthy Organization Award ประจำปี — ว่าที่ร้อยตรีจิรชัย สาฤาษี ผู้จัดการทั่วไปสายงานสนับสนุนการผลิต บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี ...

นักโภชนาการเตือน เมนูดิบ 'ปูนาเป็นๆ-หมึกช็อต-กุ้งเต้น' กินตามกระแส เสี่ยงรับเชื้อโรค-พยาธิไช เลือดออกในสมอง

นักโภชนาการเตือน เมนูดิบ 'ปูนาเป็นๆ-หมึกช็อต-กุ้งเต้น' กินตามกระแส เสี่ยงรับเชื้อโรค-พยาธิไช เลือดออกในสมอง ระวัง! อันตรายถึงตาบอด สสส. แนะ ป้องกันงดทานอาหารดิบ ยึดหลักปรุงสุก-สะอาด...

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้... เรื่องกินเรื่องใหญ่ — ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกิจกรรมเสวนา ThaiHealth Watch...

สสส.ระบุการรณรงค์ลดการบริโภคหวานจะสำเร็จไ... สสส.ย้ำ 3 ปัจจัยหลักลดบริโภคหวาน รอบรู้ ฉลาดเลือก และมาตรการภาษี — สสส.ระบุการรณรงค์ลดการบริโภคหวานจะสำเร็จได้ ต้องสร้างความรอบรู้ ฉลาดเลือกให้ผู้บริโภค ช...