อยากเป็น “มากกว่าวิศวกร” ต้อง TU-PINEมธ. ! โอกาสเงินเดือนสูงในยุคดิสรัปชัน เพราะเรียนรู้มากกว่า “วิศวฯ”

อยากเป็น “วิศวกร” ก็อยากเป็น !แต่จะเป็นอย่างไรให้สามารถปรับตัวได้ในยุคดิสรัปชัน ? นั่นเป็นเพราะส่วนหนึ่งของโอกาสเติบโตในระดับที่สูงขึ้น เกิดจากความเชี่ยวชาญที่มากกว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์สาขา และไม่หยุดเรียนรู้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ TSEได้เปิดสอนในหลักสูตรที่ช่วยเติมเต็มความฝันน้อง ๆ ให้เป็นได้ “มากกว่าวิศวกร” ในโครงการหลักสูตรนวัตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ (TU-PINE) ที่ประกอบด้วย 4หลักสูตรวิศวะฯ พันธุ์ใหม่ที่ผลิตวิศวกรรุ่นพี่มากความสามารถขับเคลื่อนประเทศจำนวนมาก

อยากเป็น “มากกว่าวิศวกร” ต้อง TU-PINEมธ. ! โอกาสเงินเดือนสูงในยุคดิสรัปชัน เพราะเรียนรู้มากกว่า “วิศวฯ”

ในวันนี้ TSEจึงได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับTU-PINE มาให้น้อง ๆ ได้ทำความเข้าใจไปพร้อมกัน แต่ละหลักสูตรจะน่าสนใจแค่ไหน ไปดูกันเลย ! อยากเป็น “มากกว่าวิศวกร” ต้อง TU-PINEมธ. ! โอกาสเงินเดือนสูงในยุคดิสรัปชัน เพราะเรียนรู้มากกว่า “วิศวฯ”

“EBM หลักสูตรวิศวกรอนาคตไกล ก่อสร้างก็ได้ บริหารธุรกิจก็ดี”รองศาสตราจารย์ ดร.วีรยา ฉิมอ้อยประธานหลักสูตร EBMเล่าว่าไม่ว่าเราจะประกอบอาชีพอะไร ต้องเข้าใจเสมอว่าการทำงานของเรานั้น เป็นเสมือนฟันเฟืองหนึ่งของ'ธุรกิจ’ หากเราเป็นวิศวกรที่เปี่ยมด้วยความรู้เฉพาะทางนั่นก็นับเป็นเรื่องดี แต่ถ้าเราเป็นวิศวกรที่มีทั้งทักษะเฉพาะทาง และมุมมองด้านการบริหารธุรกิจ เราก็จะมีโอกาสเติบโตได้ไวและก้าวหน้าไปได้ไกลขึ้น เช่นเดียวกับนักศึกษาที่เรียน “หลักสูตรวิศวกรรมโยธาและการบริหารการก่อสร้าง (EBM)” เพราะหลักสูตรนี้ถูกดีไซน์มาให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทั้งด้านวิศวกรรมศาสตร์ และพาณิชยศาสตร์ โดยมุ่งเน้นพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่สำคัญในการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรมโยธา ขณะเดียวกันก็มีความรู้ทางธุรกิจควบคู่กันไป อยากเป็น “มากกว่าวิศวกร” ต้อง TU-PINEมธ. ! โอกาสเงินเดือนสูงในยุคดิสรัปชัน เพราะเรียนรู้มากกว่า “วิศวฯ”

นอกจากรายวิชาด้านวิศวกรรมโยธาอันเข้มข้นแล้ว นักศึกษาจะได้เรียนรายวิชาด้านการบริหารธุรกิจอย่าง นวัตกรรมกับกระบวนการคิดผู้ประกอบการ หลักสำคัญของการบัญชี การเงินธุรกิจ และหลักการตลาด ตลอดจนสามารถเลือกทำโปรเจกต์จบเกี่ยวกับการบริหารโครงการฯ โดยมีอาจารย์จากทั้งคณะวิศวะฯ และพาณิชย์ฯ เป็นที่ปรึกษาร่วมกันอีกด้วย โดย ปัจจุบันประเทศไทยมีโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคสเกลใหญ่ ๆ ที่ทำให้วิศวกรโยธา ยังคงเป็นที่ต้องการอีกมาก และนักศึกษาที่เรียนจบหลักสูตร EBMจะสามารถตอบโจทย์ตลาดแรงงานได้เป็นอย่างดี หรือจะทำธุรกิจเป็นของตัวเองก็ย่อมได้ เพราะไม่ได้มีดีแค่ความรู้ทางด้านวิศวกรรมโยธาเท่านั้น แต่มีข้อได้เปรียบในด้านการบริหารธุรกิจที่มากกว่าด้วย อยากเป็น “มากกว่าวิศวกร” ต้อง TU-PINEมธ. ! โอกาสเงินเดือนสูงในยุคดิสรัปชัน เพราะเรียนรู้มากกว่า “วิศวฯ”

            “ไฟฟ้า+อุตสาหการ (iPEN-iEE) ประตูสู่โอกาสในการทำงานที่กว้างกว่า”รองศาสตราจารย์ ดร.นภดล อุชายภิชาติ ประธานหลักสูตรiPEN-iEEเล่าเพิ่มเติมว่า ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า'การบริหารจัดการ’ เป็นทักษะสำคัญสำหรับการทำงานในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะงานด้านวิศวกรรมที่ต้องอาศัยการมองภาพรวมของระบบงาน และบริหารจัดการสิ่งต่าง ๆ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่น ซึ่งจะดีแค่ไหนถ้าน้องๆ สามารถพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้ตั้งแต่วัยเรียน ดังนั้น หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ (iPEN-iEE) ถูกดีไซน์มาเพื่อตอบโจทย์นี้ ด้วยโครงสร้างหลักสูตรที่ผสมผสานความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า 70%และวิศวกรรมอุตสาหการ30% เข้าด้วยกัน จะทำให้นักศึกษาจบมาเป็น'วิศวกรไฟฟ้าที่มีทักษะด้านการบริหารจัดการอุตสาหกรรม’ที่พร้อมทำงานอย่างมืออาชีพได้ทันที

“การออกแบบธุรกิจเพื่องานนวัตกรรม”“การเตรียมตัวเป็นผู้ประกอบการ”“การประยุกต์ใช้ AI และ IoT ในงานอุตสาหกรรม”“การจัดการทางวิศวกรรม” “ไมโครโปรเซสเซอร์ในระบบอัตโนมัติ”นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งขององค์ความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้จากหลักสูตรiPEN-iEE ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เรามีโอกาสในการทำงานที่กว้างขวางและหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายวางแผนการผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง ฯลฯ ท่ามกลางตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันสูง คนที่มีทักษะรอบด้านย่อมสร้างความโดดเด่นให้ตนเองได้มากกว่า เช่นเดียวกันกับนักศึกษาที่จบหลักสูตรiPEN-iEE ที่นอกจากจะถูกเติมเต็มด้วยความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าอันเข้มข้นแล้ว ยังแฝงไว้ซึ่งทักษะด้านการบริหารจัดการอุตสาหกรรมระดับมืออาชีพอีกด้วย

“Soft-enหลักสูตรพันธุ์ใหม่ ความต้องการสูง แต่รายได้สูงกว่า” รศ.ดร.วีรชัย อโณทัยไพบูลย์ ประธานหลักสูตร Soft-enเล่าว่า ในยุคปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และใช้สมาร์ทโฟนราวกับเป็นอวัยวะที่ 33 'ซอฟต์แวร์’ จึงทวีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่เพียงเป็นที่ต้องการใช้งานของคนทั่วไปในรูปแบบแอปพลิเคชันมือถือ แต่ยังเป็นที่ต้องการของทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็นสังคมดิจิทัลอีกด้วย แต่ทั้งนี้ แม้วิศวกรซอฟต์แวร์จะเป็นสายอาชีพที่มีค่าตอบแทนสูง แต่ปัจจุบันประเทศไทยเรียกได้ว่าขาดแคลนอีกมาก โดยหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Soft-en)ของ TSE นั้นมุ่งผลิตวิศวกรซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ ผ่านการเรียนการสอนที่เน้นการลงมือปฏิบัติในลักษณะProject-basedเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์จริงตลอดระยะเวลาเรียน

นอกจากนี้หลักสูตรยังมีรายวิชาที่สนับสนุนให้นักศึกษาได้ลองสร้างซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ และในปีสุดท้ายนักศึกษาสามารถเลือกไปทำสหกิจโดยฝึกงานจริงในสถานประกอบการได้ทั้งในและต่างประเทศ ส่วนการทำโปรเจกต์ปีสุดท้ายนักศึกษาสามารถเลือกทำกับอาจารย์ในคณะหรือเปลี่ยนไปทำสหกิจกับหน่วยงานภายนอกได้ ทั้งนี้ ตลอด4 ปี ผู้เรียนจะได้ประสบการณ์ในการทำงานจริง จากโครงงานในรายวิชา การไปศึกษาดูงาน รวมถึงการบรรยายพิเศษจากวิทยากรภายนอกที่หลักสูตรจัดให้อย่างสม่ำเสมอ โดยเมื่อเรียนจบก็มีทักษะพร้อมทำงานได้ทันที และหากใครพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ก็มีโอกาสที่จะทำรายได้หลักแสนต่อเดือนภายในระยะเวลาไม่กี่ปีได้ด้วย

“ถ้าเรียนจบV-TECHไป บริษัทก็มั่นใจได้เลยว่าทำงานเป็น ไม่ต้องเทรนนิ่งให้เสียเวลา”ดร. สนันตน์เขม อิชโรจน์ประธานหลักสูตร V-TECHเล่าว่า จากการพัฒนาหลักสูตรร่วมกับผู้ผลิตยานยนต์อันดับต้น ๆ ของประเทศไทยอย่าง Mitsubishi Motors (Thailand) มาตั้งแต่ต้น เพื่อออกแบบให้เนื้อหาที่น้อง ๆ จะได้เรียนนั้นตอบโจทย์ความต้องการของตลาดยานยนต์มากที่สุด จึงเป็นจุดเริ่มต้นของหลักสูตรวิศวกรรมเทคโนโลยียานยนต์ (V-TECH) หลักสูตรนี้ เรามีการจัดการเรียนการสอนแบบ Work Integrated Learning (WIL) ซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติแบบจัดเต็ม ด้วยเครื่องมือและห้องปฏิบัติการที่ครบครันและทันสมัย ประหนึ่งยกโรงงานมาไว้ที่คณะ โดยในแต่ละชั้นปีก็จะเน้นให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะที่ต่างกันไป ดังนี้

  • ปี 1 ปูความรู้พื้นฐานที่ต้องใช้ในการพัฒนายานยนต์ พร้อมเน้นให้ออกแบบยานยนต์เบื้องต้นได้
  • ปี2เจาะลึกเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องยนต์ และเข้าใจทฤษฎีกลไกการเคลื่อนไหวเชิงกล
  • ปี 3 ประยุกต์ใช้ความรู้ในการจำลองการออกแบบยานยนต์ ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • ปี 4 ฝึกงานตลอด 1ปีการศึกษา พร้อมทำโปรเจกต์ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม

            โดยเมื่อนักศึกษาผ่านการฝึกงานตลอด 1 ปีการศึกษาเต็มในช่วงชั้นปีที่4 ก็การันตีได้เลยว่าเราจะเป็นวิศวกรที่ครบเครื่องเรื่องยานยนต์ พร้อมทำงานอย่างมืออาชีพได้ทันทีเมื่อเรียนจบ ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีความต้องการบุคลากรทางด้านวิศวกรรมสูงถึง 9,100 อัตรา ดังนั้นนักศึกษาที่เรียนจบหลักสูตร V-TECH ทุกคนจึงมั่นใจได้เลยว่ามีแต่คนอยากจะมาจองตัวไปทำงานด้วยอย่างแน่นอน

สำหรับน้อง ๆ TCAS63คนไหนที่สนใจศึกษาต่อในหลักสูตร TU-PINE ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. (TSE) สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่www.facebook.com/ENGR.THAMMASATและwww.engr.tu.ac.th


ข่าวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์+มหาวิทยาลัยธรรมศาสวันนี้

แว่นท็อปเจริญ จับมือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนาม MOU ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต พัฒนาศักยภาพสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง

นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แว่นท็อปเจริญ บริษัท ร่วมเจริญพัฒนา จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.ดร.สมชาย สุภัทรกุล คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต ผลักดันการศึกษาด้านธุรกิจ เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง โดยยินดีให้การต้อนรับนักศึกษาฝึกงาน เรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน

นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ... AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน — นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสื... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...

อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเ... อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม — อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...

ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุ... นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์ — ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...

กลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ นำโดย ดร.จารุรัตน์ ช... เบเยอร์ร่วมแสดงเจตนารมณ์สู่ Net Zero มุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน — กลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ นำโดย ดร.จารุรัตน์ ชัยยศบูรณะ ผู้บริหารกลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ เป็นตัวแทนอ...