“เครื่องพ่นละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์” นวัตกรรมจากอาจารย์จุฬาฯ ฆ่าเชื้อในห้องและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อความปลอดภัยจากCOVID-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในขณะนี้บุคลากรทางการแพทย์เป็นด่านหน้าในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อCOVID-19 ซึ่งต้องมีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันความปลอดภัยจากการติดเชื้อ นอกจากหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อส่วนบุคคลหรือ PPE(Personal Protection Equipment) แล้ว การรักษาความสะอาดและกำจัดเชื้อบนอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ก่อนที่จะมีการนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้งเป็นกลไกหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

“เครื่องพ่นละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์” นวัตกรรมจากอาจารย์จุฬาฯ ฆ่าเชื้อในห้องและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อความปลอดภัยจากCOVID-19

ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ รองผู้อำนวยการหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ และอาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมด้วย รศ.ดร.วิวัฒน์ วชิรวงศ์กวิน และทีมวิจัยจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยอุปกรณ์รับรู้ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้ออกแบบและพัฒนาเครื่องพ่นละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ VQ20 และ VQ20+HP35 สำหรับฆ่าเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และสปอร์ของเชื้อรา ซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ในภาวะวิกฤต COVID-19 ที่ประเทศไทยประสบอยู่ขณะนี้ “เครื่องพ่นละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์” นวัตกรรมจากอาจารย์จุฬาฯ ฆ่าเชื้อในห้องและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อความปลอดภัยจากCOVID-19

ศ.ดร.สนอง กล่าวถึงจุดเริ่มต้นในการพัฒนาเครื่องพ่นละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ VQ20 และ VQ20+HP35 ว่าเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกและความวิตกกังวลในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ จึงสนใจคิดค้นเครื่องพ่นฆ่าเชื้อภายในห้องด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ซึ่งใช้ทำความสะอาดทางการแพทย์ โรงพยาบาล ห้องผ่าตัด โรงงานยา และโรงงานผลิตอาหาร สามารถฆ่าเชื้อรา เชื้อไวรัส กำจัดสปอร์ของเชื้อราได้อย่างมีประสิทธิภาพ “เครื่องพ่นละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์” นวัตกรรมจากอาจารย์จุฬาฯ ฆ่าเชื้อในห้องและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อความปลอดภัยจากCOVID-19

ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide, H2O2)เป็นสารเคมีมาตรฐานที่ใช้ในการฆ่าเชื้อทางการแพทย์และทันตกรรมมาอย่างต่อเนื่องเนื่องจากไม่ทิ้งสารตกค้าง ไม่ต้องล้างด้วยน้ำหลังการฆ่าเชื้อ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยสลายตัวกลายเป็นน้ำและก๊าซออกซิเจน มีผลงานวิจัยทางการแพทย์และทางเคมีรองรับด้านความปลอดภัยหากมีการใช้อย่างเหมาะสมถูกวิธี ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เป็นตัวออกซิไดซ์ที่รุนแรงโดยเฉพาะที่ความเข้มข้นสูง มีอายุการใช้งานจำกัด ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ ผู้ใช้ต้องได้รับการฝึกฝนด้านความปลอดภัยการใช้งาน จึงไม่เป็นที่แพร่หลายในการกำจัดเชื้อทั่วไป อย่างไรก็ตามในสภาวะที่ต้องการความปลอดเชื้อ กระบวนการฆ่าเชื้อที่ต้องการความเชื่อมั่นสูง การฆ่าเชื้อในห้องผ่าตัด อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ทันตกรรม โรงงานผลิตยา โรงงานอาหาร โรงงานเครื่องดื่ม การฆ่าเชื้อด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จึงเป็นวิธีการที่ใช้เป็นปกติ นอกจากนี้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ยังไม่สร้างความเสียหายให้กับพอลิเมอร์ เส้นใย พลาสติก ยาง โลหะ จากผลการวิจัยพบว่าการฆ่าเชื้อทำความสะอาดหน้ากากอนามัย N95 เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ สามารถทำได้ถึง 20 ครั้ง โดยที่ประสิทธิภาพของหน้ากากไม่เปลี่ยนแปลง สายยางรัดและส่วนประกอบอื่นของหน้ากากไม่เสื่อมสภาพ องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA ) ได้อนุมัติให้ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ด้วยเทคโนโลยี VaporizedHydrogenPeroxide / HydrogenPeroxideVapor ในการฆ่าเชื้อและทำความสะอาดหน้ากากอนามัย N95 เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในภาวะขาดแคลนดังนั้นสารนี้จึงนำมาใช้พ่นเพื่อฆ่าเชื้อได้และมีความปลอดภัยสูง “เครื่องพ่นละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์” นวัตกรรมจากอาจารย์จุฬาฯ ฆ่าเชื้อในห้องและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อความปลอดภัยจากCOVID-19

ศ.ดร.สนอง อธิบายเพิ่มเติมว่า ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มีศักยภาพในการกำจัดไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และสปอร์ของเชื้อราได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการสร้าง ReactiveOxygen Species (ROS) ระหว่างการสลายตัว โดย ROS จะไปทำลายพันธะเคมี และโครงสร้างโปรตีน ไขมัน และผนังเซลล์ของไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และสปอร์ของเชื้อรา โดยไม่ทิ้งสารเคมีตกค้างที่เป็นอันตราย การฆ่าเชื้อด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จึงเป็นวิธีการมาตรฐานของการฆ่าเชื้อทางการแพทย์ การฆ่าเชื้อด้วยละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ สามารถกำจัดได้ทั้งเชื้อในอากาศ และเชื้อที่อยู่บนพื้นผิววัสดุ โดยไอหรือละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ล่องลอยในอากาศจะทำหน้าที่ฆ่าเชื้อในอากาศ เมื่อไอระเหยสัมผัสกับผิวของวัสดุ ควบแน่นเป็นของเหลวที่ผิววัสดุ หรือละอองเกาะบนผิววัสดุ ก็จะทำหน้าที่ฆ่าเชื้อที่เกาะบนผิววัสดุทันที ก่อนที่จะสลายตัวเป็นน้ำและก๊าซออกซิเจนตามกลไกการสลายตัว โลหะบางชนิด เช่น เหล็ก เงิน จะทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์สลายตัวเร็วขึ้น การฆ่าเชื้อด้วยละอองไอไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ จะต้องทำให้บรรยากาศของการอบฆ่าเชื้อมีความเข้มข้นที่เหมาะสมภายใต้ระยะเวลาการสัมผัสที่กำหนด คณะผู้วิจัยจึงได้ออกแบบและพัฒนาเครื่องพ่นละอองไอไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ VQ20 และเครื่อง VQ20+HP35ที่พ่นละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ขนาดเล็กกว่า 5 ไมโครเมตร ที่ล่องลอยในอากาศได้นาน การระเหยของน้ำทำให้เกิดละอองนาโนของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และไอไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อในอากาศและบนพื้นผิว

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เราสามารถใช้ระบบการสร้างละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ความเข้มข้น 3-7%ด้วยเครื่อง VQ20 เพื่อฆ่าเชื้อในรถพยาบาล ห้องผู้ป่วย ห้องกักตัวผู้ป่วย ห้องพักบุคลากรทางการแพทย์ รถเมล์ รถแท็กซี่ รถไฟฟ้า ห้องเรียน ห้องนอน ห้องผ่าตัด ห้องออกกำลังกาย/ฟิตเนส ห้องประชุม ห้องทำงาน และสร้างละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ความเข้มข้น 3-7%ด้วยเครื่อง VQ20+HP35 เพื่อฆ่าเชื้อบนเครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น หน้ากากอนามัย N95 หน้ากากป้องกันใบหน้า (Face Shield)ชุด PPE และรองเท้า

“ในอนาคตหลังจากสถานการณ์COVID-19 คลี่คลาย เรามีโครงการพัฒนาอุปกรณ์ในรูปแบบอื่นๆ โดยร่วมมือกับบริษัท Startupโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์โดยเฉพาะ เช่น เครื่องสำหรับฆ่าเชื้อในขวดนม จาน ชาม แก้ว สำหรับบ้านที่มีเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือบ้านที่มีผู้ป่วย” ศ.ดร.สนอง กล่าวทิ้งท้าย

ปัจจุบันคณะนักวิจัยได้ติดตั้งเครื่อง VQ20แล้วที่ฝ่ายวิจัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองวิศวกรรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม และติดตั้งเครื่องVQ20+HP35ที่แผนกโรคติดเชื้อ COVID-19 อาคารจงกลนี และแผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

หน่วยงานภาครัฐ หรือโรงพยาบาลที่สนใจนวัตกรรมดังกล่าว สามารถติดต่อได้ที่ คุณพัชรี มงคลพงษ์ หลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ โทร.08-5234-3980


ข่าวสนอง เอกสิทธิ์+ความปลอดภัยวันนี้

วว./วช./มก./จุฬาฯ ร่วมรับรางวัลเหรียญทองจากผลงาน De-BUGs สารกำจัดแมลงศัตรูพืชแปรรูปจากเปลือกไข่ ในงานประกวด แสดงนวัตกรรมระดับนานาชาติ JDIE 2023 ประเทศญี่ปุ่น

ดร.นิตยา แก้วแพรก นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.ดวงทิพย์ กันฐา ผศ.วรพจน์ ศตเดชากุล และ นางสาวณภาส์ณัฐ อู๋สูงเนิน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และ ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ารับรางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) และ WIIPA Special Award สาขาการเกษตร ในงานประกวดและแสดงนวัตกรรมระดับนานาชาติ JDIE 2023 จากผลงาน "De-BUGs สารกำจัด

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช. ) กระทรวงกา... วช.หนุน สวทช.สร้างระบบบ่มเพาะศักยภาพ ววน. ให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ — สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช. ) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โด...

ศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ รองผู้อำนวย... ภาพข่าว: ผู้บริหารหลักสูตร CUTIP ร่วมแสดงความยินดี 57 ปี บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ — ศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ รองผู้อำนวยการหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจ...

ศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ รองผู้อำนวย... หลักสูตร CUTIP นำนิสิตปริญญาเอกรุ่น 11 และ 12 ดูงานนวัตกรรมประเทศสวีเดนและเดนมาร์ก — ศาสตราจารย์ ดร.สนอง เอกสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สหสาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลย...

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทร... รมว. วท. เปิดพสวท. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม — ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิด "งาน พ...

รมว.วท. เปิดงาน พสวท. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิด "งาน พสวท. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม" พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง วิทยาศาสตร์พื้นฐานกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยยุค 4.0 และมอบเสื้อ...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... วทท.เพื่อเยาวชนสร้างกำลังคนวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลจัดงานประ...

ภาพข่าว: จุฬาฯ โชว์ Advanced Silver Nano ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ช่วยธุรกิจไทยโตแข่งอาเซียน

รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ นายแพทย์ ดร. สิทธิชัย ทัดศรี รองอธิการบดี (ขวา) และ รองศาสตราจารย์ ดร. สนอง เอกสิทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวัสดุ ศูนย์นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี (ซ้าย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาธิตผลิต...