FutureTales Lab by MQDC 5 สัญญาณเตือนพ่อแม่ จากผลกระทบการเลื่อนเปิดเทอม

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นส่งผลให้กระทรวงศึกษาธิการของไทย ต้องประกาศเลื่อนเปิดเทอมจากกลางเดือนพฤษภาคมออกไปเป็น 1 กรกฎาคม 2563 รวมทั้ง 186 ประเทศทั่วโลกก็ยังใช้มาตรการปิดโรงเรียนและเลื่อนการเรียนการสอนออกไปเช่นกัน ส่งผลให้นักเรียน นักศึกษาทั่วโลก ที่มีมากถึง 1.3 พันล้านคนทั่วโลกได้รับผลกระทบ คิดเป็น 73.8% ของผู้เรียนวัยเด็กและวัยรุ่นทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบโดยตรง    

FutureTales Lab by MQDC 5 สัญญาณเตือนพ่อแม่ จากผลกระทบการเลื่อนเปิดเทอม

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา หรือ  “ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ” (FutureTales Lab by MQDC)  ภายใต้บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เล็งเห็นถึงผลกระทบที่จะตามมา จึงได้วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลเพื่อเตรียมความพร้อมพ่อแม่ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษา ให้สามารถรับมือต่อผลกระทบจากการเลื่อนเปิดเทอมได้อย่างมีประสิทธิภาพ     FutureTales Lab by MQDC 5 สัญญาณเตือนพ่อแม่ จากผลกระทบการเลื่อนเปิดเทอม

ดร.การดี เลียวไพโรจน์ หัวหน้าคณะที่ปรึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยจากการวิเคราะห์ของธนาคารโลก (World Bank) ถึงปัญหาของการปิดโรงเรียนในระยะเวลานาน จะทำให้แนวโน้มการเรียนรู้ (Learning Curve) ของเด็กลดลง การที่เด็กอยู่บ้านเป็นระยะเวลานาน หรือไม่ได้รับการเรียนการสอนเหมือนตอนเปิดเทอมอาจทำให้ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กต่ำลง และหากอยู่บ้านนานเกิน 6 เดือนขึ้นไป จะส่งผลให้ความรู้ของเด็กอาจสูญหายไปประมาณครึ่งปีการศึกษา ปัญหาเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครอง สถานศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จะต้องหันมาให้ความสำคัญและเตรียมแผนรับมือ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก ซึ่งถือเป็นอนาคตของประเทศ    

น.ส.วิพัตรา โตเต็มโชคชัยการ นักวิจัยด้านการคาดการณ์อนาคต ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า จากผลจากการวิเคราะห์ผ่าน Web of Impact หรือ เครื่องมือวิเคราะห์ผลกระทบของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม ครอบคลุมทั้งมิติด้านสังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การเมือง และค่านิยม กับ 5 สัญญาณเตือนพ่อแม่ จากผลกระทบการเลื่อนเปิดเทอม

  1. ปัญหาสุขภาพจิตและการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวที่ยากจน เด็กกลุ่มนี้ต้องพึ่งพาอาหารเช้าและอาหารกลางวันจากทางโรงเรียน เมื่อต้องอยู่บ้าน ทำให้เด็กกลุ่มนี้เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหาร ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เกิดภาวะทุพโภชนาการ ส่งผลต่อพัฒนาการและสติปัญญาของเด็ก ซึ่งปัญหาดังกล่าว ทางภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรออกมาให้ความรู้ที่ถูกต้องกับผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องการดูแลเด็ก และให้ความช่วยเหลือในการดูเด็กแทนผู้ปกครองที่ไม่สามารถดูแลได้ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กปฐมวัย กลุ่มเด็กเปราะบางเด็กในระดับชั้นประถมศึกษา เช่น การเปิดศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยเฉพาะกิจ แลพของเด็กวัยเรียน แต่ยังคงรักษา Physical Distancing อีกประเด็นหนึ่ง คือ เรื่องสุขภาพจิตของสมาชิกในครอบครัว ภาวะเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า ของเด็กและผู้ปกครอง    
    รวมถึงปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในครอบครัว อาจเกิดมากขึ้นในช่วงนี้ โดยอาการซึมเศร้าของเด็กและวัยรุ่นนั้นอาจแสดงอาการออกมาแตกต่างจากผู้ใหญ่ เช่น มีปัญหาการเรียน ฉุนเฉียวง่าย ก้าวร้าว เก็บตัว หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงอันตราย เช่น ทำร้ายตัวเอง ติดเกม ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด ด้วยเหตุผลดังกล่าวพ่อแม่ควรต้องใส่ใจการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ลูก และสมาชิกในครอบครัวให้มากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างเวลาที่มีคุณภาพในครอบครัว เปิดใจรับฟังซึ่งกันและกัน หาความรู้ด้านสุขภาพจิตเพิ่มเติม หากพบปัญหามากขึ้นสามารถใช้บริการขอรับคำปรึกษาผ่านทางสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับพ่อแม่มากยิ่งขึ้น รวมถึงการปรึกษาจิตแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในสถานการณ์นี้ด้วย  
  2. การปรับตัวสู่การเรียนออนไลน์ แม้บางโรงเรียนเริ่มมีการปรับตัวใช้หลักสูตรออนไลน์ โดยมีหลักสูตรให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนของลูก แต่ยังมีปัญหาที่สำคัญอีกหลายประเด็นไม่ว่าจะเป็นการที่บางโรงเรียนปรับตัวไม่ทัน ไม่มีอุปกรณ์เพียงพอ ไม่มีหลักสูตรออนไลน์รองรับให้กับนักเรียน ครูหรือพ่อแม่ไม่มีทักษะรองรับการสอนออนไลน์ เด็กบางคนไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยเฉพาะเด็กที่มาจากครอบครัวยากจน  และเรื่องภัยบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการคุกคามหรือกลั่นแกล้ง (Cyberbullying) ที่เกิดขึ้นขณะเด็กใช้เทคโนโลยี โดยพ่อแม่อาจไม่ทราบ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรระมัดระวังถึงความปลอดภัยของเด็กให้มากขึ้น    
  3. ผลกระทบจากเศรษฐกิจหยุดชะงัก จากมาตรการปิดเมือง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างหนัก ผู้ประกอบการธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างมาก ลูกจ้างบางคนถูกเลิกจ้างกะทันหัน ทำให้สถานะทางการเงินของครอบครัวเด็กจำนวนมากเปลี่ยนไป เด็กมีโอกาสหลุดออกจากระบบการศึกษา เพื่อไปช่วยงานที่บ้าน หรือครอบครัวไม่มีรายได้เพียงพอสำหรับค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายทางการศึกษา ผลกระทบของสิ่งนี้อาจเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็กอย่างถาวร อีกทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเด็กอาจถูกปิดตัวลง อาทิ สวนสนุก สถาบันกวดวิชา หรือสถานศึกษา นอกจากนี้ยังกระทบไปถึงกลุ่มของนักศึกษาเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแผนทางการศึกษาที่ถูกเปลี่ยนแปลง เรื่องการทำงานหารายได้พิเศษระหว่างเรียน ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดเมือง หรือการสมัครงานของนักศึกษาจบใหม่อาจมีการเปิดรับน้อยลงหรือแข่งขันสูงขึ้น อาจทำให้เด็กวัยรุ่นกลุ่มนี้ต้องเผชิญสถานการณ์ที่กดดันอย่างหนัก เกิดความเครียดสะสมได้    
  4. เด็กและพื้นที่การเรียนรู้ เด็กทุกคนควรมีพื้นที่ที่เหมาะสม ปลอดภัย สำหรับการเรียนรู้และการใช้ชีวิต เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมต่าง ๆ จากข้อมูลของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พบว่าเด็กไทยโดยเฉลี่ยมากกว่า 30% ไม่มีห้องส่วนตัวในการทำงานหรือทำการบ้าน แต่เด็กกลุ่มยากจนจะยิ่งมีสัดส่วนที่สูงกว่านั้น ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กเกิดภาวะความเครียด ไม่มีสมาธิในการเรียน ประสิทธิภาพในการเรียนรู้และการทำงานอาจลดลง นอกจากนี้บางครอบครัวปล่อยให้เด็กใช้ชีวิตอยู่บ้านตามลำพัง เนื่องจากพ่อแม่ประกอบอาชีพที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้ อาจส่งผลต่อเรื่องความปลอดภัยของเด็ก  
  5. ค่านิยมต่อสถานศึกษา การให้ความสำคัญกับโรงเรียน สถานศึกษา และครูผู้สอนนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไป เพราะคนบางกลุ่มคิดว่าการศึกษาสามารถเรียนผ่านระบบออนไลน์จากบ้านได้ แนวคิดที่ว่าไม่จำเป็นต้องมีการเรียนเฉพาะในห้องเรียนหรือการเกิด Hybrid Homeschool อาจเกิดแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งแนวคิดดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อสถานศึกษาและอาชีพครูโดยตรงที่จะต้องปรับตัว นอกจากนั้นเรื่องค่านิยมในการศึกษาต่อต่างประเทศก็เกิดผลกระทบโดยตรงเช่นกัน เช่น ประเทศจีน ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทำให้มีนักศึกษาต่างชาติเข้าศึกษาต่อที่ประเทศจีนลดลงเหลือเพียง 21% ของจำนวนสถานศึกษาทั้งหมด    

“ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเลื่อนเปิดเทอม บ่งบอกถึงสัญญาณเตือนเพื่อการเตรียมตัวรับมือต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ทางศูนย์วิจัยแห่งอนาคต “ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ” (FutureTales Lab by MQDC) หวังว่าข้อมูลการวิเคราะห์ครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อ ภาครัฐ ภาคเอกชน สถานศึกษา และพ่อแม่ผู้ปกครองทุกครอบครัว ในการดูแลบุตรหลานซึ่งเป็นอนาคตของประเทศชาติในช่วงสถานการณ์เช่นนี้ได้ดีมากยิ่งขึ้น” น.ส.วิพัตรา กล่าวทิ้งท้าย


ข่าวFutureTales Lab by MQDC+ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บวันนี้

วิทยาลัยนานาชาติ พีไอเอ็ม เปิดรับสมัครเด็กม.ปลาย-มหาลัย โชว์ไอเดียการแข่งขัน The 3rd PIM International Hackathon ผลักดันการคิดนวัตกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

วิทยาลัยนานาชาติ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (International College, Panyapiwat Institute of Management) ร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (FutureTales Lab by MQDC) ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ทรู ดิจิทัล พาร์ค (True Digital Park) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (Thailand Science Park)

อย่างที่ทราบกันดีว่า ทุกครั้งที่เข้าสู่ฤด... ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ (FutureTales Lab by MQDC) เผย 4 ภาพสถานการณ์การพัฒนากรุงเทพฯ ในอนาคต — อย่างที่ทราบกันดีว่า ทุกครั้งที่เข้าสู่ฤดูฝน กรุงเทพฯซึ่งตั้งอยู...

เผย 10 ปรากฏการณ์ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงใ... “ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ” (FutureTales Lab by MQDC) เผย 10 ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงสำคัญของสังคมไทยในอนาคต — เผย 10 ปรากฏการณ์ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไท...

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นส่งผลให้ก... FutureTales Lab by MQDC 5 สัญญาณเตือนพ่อแม่ จากผลกระทบการเลื่อนเปิดเทอม — จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นส่งผลให้กระทรวงศึกษาธิการของไทย ต้องประกาศเลื่อน...