UN เผย โควิด-19 กระทบความมั่นคงอาหาร หารือทุกฝ่าย ถกสถานการณ์ แก้ปัญหาโภชนาการโลก

นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยการประชุมแถลงรายงานสถานการณ์ความมั่นคงอาหารและโภชนาการโลก (The State of Food Security and Nutrition in the World: SOFI) ประจำปี อันโตนิโอ กูแตร์เรส56ทัศนีย์ เมืองแก้ว ซึ่ง สศก. ได้ร่วมประชุมออนไลน์เมื่อวันที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทัศนีย์ เมืองแก้ว กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีนายอันโตนิโอ กูแตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ เป็นประธาน พร้อมด้วย ประธานสภามนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ประธานคณะกรรมการความมั่นคงอาหารโลก (CFS) ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ กรุงโรม (FAO/IFAD/WFP) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประธานกองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (IFAD) ผู้อำนวยการใหญ่โครงการอาหารโลก (WFP) ผู้อำนวยการใหญ่ UNICEF และผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ WHO ได้ร่วมกันกล่าวถ้อยแถลง "รายงานสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการโลก ประจำปี อันโตนิโอ กูแตร์เรส56ทัศนีย์ เมืองแก้ว" ผ่านระบบออนไลน์

UN เผย โควิด-19 กระทบความมั่นคงอาหาร หารือทุกฝ่าย ถกสถานการณ์ แก้ปัญหาโภชนาการโลก

จากรายงานของ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ FAO พบว่าปัจจุบันโลกผลิตอาหารได้เพียงพอกับจำนวนประชากรโลก แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าถึงอาหารได้ โดยตั้งแต่ปี 2557 มีผู้หิวโหยมีจำนวนเพิ่มขึ้นประมาณ 10 ล้านคน/ปี นอกจากนี้วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 อาจส่งผลให้เพิ่มปริมาณคนขาดสารอาหารมากถึง 83 - 132 ล้านคน ในปี 2563 และประชากรมากกว่า 3 พันล้านคนในโลก ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ เนื่องจากมีราคาแพงมากกว่าอาหารปกติถึง 5 เท่า จึงอาจส่งผลให้โลกมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย SDGs เพื่อยุติความหิวโหยได้ภายในปี 2573

ดังนั้น นายแม็กซิโม โตเรโร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ FAO รายงานว่า จำเป็นต้องมี การกำหนดนโยบายที่ปรับเปลี่ยนระบบของอาหาร ด้วยการลดต้นทุนของอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และเพิ่มการเข้าถึงอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ (healthy diets) หาซื้อได้ในราคาที่เหมาะสม อาทิ นโยบายหลักประกันโภชนาการที่ดี การสร้างแรงจูงใจในการลงทุนด้านการโภชนาการที่ดี นโยบายส่งเสริมประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่การผลิต นโยบายที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค การส่งเสริมรูปแบบการบริโภคที่ทำให้สุขภาพดีและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ เพราะการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จะสามารถช่วยลดต้นทุนแฝงทางสังคมได้โดยเฉพาะต้นทุนด้านสุขภาพ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่ “ระบบอาหารที่ยั่งยืนและที่สามารถปรับตัวได้” (Sustainable and Resilient Food Systems) สู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ภายในปี 2573 ตามที่กำหนดไว้

โอกาสนี้ ประธานคณะกรรมการความมั่นคงอาหารโลก หรือ CFS (นายธนวรรษ เทียนสิน อัครราชทูต ฝ่ายเกษตร) ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าของการดำเนินงานของ CFS ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่ทุกภาคส่วน ได้แก่ แนวทางปฏิบัติเชิงนโยบายด้านระบบอาหารและโภชนาการ และนโยบายด้านเกษตรเชิงนิเวศและนวัตกรรม ซึ่งจะนำเข้าสู่การพิจารณารับรองในการประชุม CFS 47 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 นอกจากนี้ CFS ยังได้มีการจัดทำแนวทางปฏิบัติการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ และรายงานการสร้างความมั่นคงอาหารและโภชนาการระดับโลก มุ่งสู่เป้าหมายปี 2030 เพื่อเสนอกรอบแนวคิดที่ส่งเสริมระบบอาหารและโภชนาการอย่างยั่งยืนรวมถึงแนวทางแก้ปัญหา โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีบทบาทในการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสามารถผลักดันได้อย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายความมั่นคงอาหารอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของ สศก. ได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศการเกษตรเชิงพื้นที่เพื่อการบริหารจัดการความมั่นคงด้านอาหาร นำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ ในการพัฒนาระบบการจัดทำปฏิทินผลผลิตสินค้าเกษตรรายเดือนระดับจังหวัด (Provincial Crop Calendar) เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนพัฒนาการผลิตและบริหารจัดการอาหารให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ที่วิกฤต รวมถึงการแพร่ระบาด COVID-19 ในปัจจุบันด้วย


ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร+กระทรวงเกษตรและสหกรณ์วันนี้

ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Han Zhiqiang) โดยมี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...

นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักง... ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51 — นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...

สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินด... สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา — สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศ... สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS — นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...

หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคต... ผู้บริหาร TQR ขยันสุดๆ — หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคตสดใส ต้องยกให้กับ บมจ.ที คิว อาร์ (TQR) เดินหน้าคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา...

ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ... TQM ร่วมมอบประกันอุบัติแก่เกษตรกรไทย ในโครงการ "คุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา" — ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (...