นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดสมุนไพรในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษาขมิ้นชัน และไพล โดยทำการศึกษา ต้นทุน ผลตอบแทนการผลิต ประสิทธิภาพการผลิต การตลาด เปรียบเทียบทั้งในและนอกพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งผลการศึกษา พบว่า จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตร ณ เดือนตุลาคม กรมส่งเสริมการเกษตร56กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีแปลงที่ปลูกขมิ้นชันครอบคลุม 5 จังหวัด (พังงา สุราษฎร์ธานี มหาสารคาม สระแก้ว ราชบุรี) แปลงที่ปลูกไพลครอบคลุม 4 จังหวัด (สุราษฎร์ธานี มหาสารคาม สระแก้ว ราชบุรี) รวมจำนวนเกษตรในโครงการแปลงใหญ่สมุนไพรที่มีการปลูกขมิ้นชันและไพลทั้งสิ้น 3กรมส่งเสริมการเกษตร6 ราย
ขมิ้นชัน เกษตรกรในโครงการแปลงใหญ่ มีต้นทุนการผลิต 14,931 บาท/ไร่/รุ่นการผลิต 1 ปี ผลผลิต 1,684 กิโลกรัม/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 23.17 บาท/กก. ให้ผลตอบแทน 39,019 บาท/ไร่ คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 24,088 บาท/ไร่ เมื่อเทียบกับเกษตรกรนอกพื้นที่แปลงใหญ่ พบว่ามีต้นทุนการผลิตน้อยกว่าร้อยละ 8.86 และมีผลตอบแทนสุทธิมากกว่า ร้อยละ 12
ไพล เกษตรกรในโครงการแปลงใหญ่ มีต้นทุนการผลิต 24,664 บาท/ไร่/รุ่นการผลิต 2 ปี ผลผลิต 3,341 กิโลกรัม/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 23.66 บาท/กก. ให้ผลตอบแทน 79,042 บาท/ไร่ คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 54,377 บาท/ไร่ เมื่อเทียบกับเกษตรกรนอกพื้นที่แปลงใหญ่ พบว่า มีต้นทุนการผลิตต้นทุนน้อยกว่าร้อยละ 6.28 และมีผลตอบแทนสุทธิมากกว่าร้อยละ 26.77
จากการศึกษา ยังพบว่า ปัจจุบันความต้องการใช้สมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายทั้งใช้ประกอบอาหาร ผลิตภัณฑ์เพื่อดูแลสุขภาพ และเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอาง พืชสมุนไพรจึงเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ให้เกษตรกรในชุมชน โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับสมุนไพร เป็นช่องทางการจำหน่ายหลักของขมิ้นชันและไพล รองลงมาเป็นการจำหน่ายให้พ่อค้ารวบรวม ดังนั้น ภาครัฐควรส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้เป็นช่องทางในการรับซื้อผลผลิตและลดความเสี่ยงด้านราคา โดยจะต้องส่งเสริมตลอดโซ่อุปทาน เช่น มาตรฐานวัตถุดิบและการแปรรูปเป็นเวชสำอางและผลิตภัณฑ์ต่างๆ และส่งเสริมกิจกรรมทางด้านการตลาด เช่น Road show และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ให้มากขึ้น นอกจากนี้ เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร ควรรวมตัวกันเป็นกลุ่มเข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่ จะช่วยให้เกษตรกรมีช่องทางการจำหน่ายการตลาด ได้ราคา และสร้างรายได้ดียิ่งขึ้น
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Han Zhiqiang) โดยมี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้
โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร
—
นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...
ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51
—
นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...
สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา
—
สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...
สศก. ลงพื้นที่โคราช-เลย สำรวจแหล่งผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระบุ พฤศจิกายน ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ราคายังดี เฉลี่ย กก.ละ 10.28 บาท
—
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร...
สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS
—
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...
พร้อมให้บริการ Big Data สศก. พัฒนาเครื่องมือเนวิเกเตอร์ภาคเกษตร เชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ 909 ชุดข้อมูล จาก 91 หน่วยงาน ให้บริการผ่านเว็บไซต์
—
นายฉันทานนท...
ผู้บริหาร TQR ขยันสุดๆ
—
หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคตสดใส ต้องยกให้กับ บมจ.ที คิว อาร์ (TQR) เดินหน้าคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา...
TQM ร่วมมอบประกันอุบัติแก่เกษตรกรไทย ในโครงการ "คุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา"
—
ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (...
สศก. เร่งเครื่อง ลุยแผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ ระยะ 5 ปี ให้สมบูรณ์ ดันไทยเป็นผู้นำอาเซียนเกษตรอินทรีย์ ภายในปี 2570
—
ดร.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิ...