WWF เปิดแฟ้มภาพสัตว์หายากป่าเมียนม่า-ไทย ชี้ป่าตะนาวศรี-ถนนธงชัย พื้นที่สีเขียวของโลก

14 Jan 2020
รายงานฉบับล่าสุดจากองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF เปิดเผยว่ากว่า 1 ใน 5 ของสัตว์ในตระกูลแมว 36 สายพันธุ์ พบได้ในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันตกของประเทศไทย ซึ่งมีเขตแดนติดกันเมียนม่า และสถานการณ์ปัจจุบันของสายพันธุ์เหล่านี้กำลังตกอย่ในสภาวะวิกฤตใกล้สูญพันธุ์ WWF เสนอทางเลือก 8 ประการเพื่อการอนุรักษ์ และวางแผนเพื่อปกป้องสัตว์ป่าเหล่านี้
WWF เปิดแฟ้มภาพสัตว์หายากป่าเมียนม่า-ไทย ชี้ป่าตะนาวศรี-ถนนธงชัย พื้นที่สีเขียวของโลก

"ตะนาวศรี-ถนนธงชัย: แผ่นดินแห่งแมวป่า Dawna Tenasserim: The Land of Cats สำรวจสัตว์ตั้งแต่ เสือโคร่ง เสือดาว เสือดาวลายเมฆ เสือไฟ และแมวหินอ่อน รวมถึงแมวป่าชนิดอื่นๆ อาทิ แมวดาว ที่มีถิ่นอาศัยในพื้นที่บริเวณนี้ ซึ่งรวมถึงเสือปลา ซึ่งอาจพบได้เช่นกัน ในพื้นที่กว่า 18 ล้านเฮคเตอร์ ป่าตะนาวศรี-ถนนธงชัย เป็นกลุ่มป่าที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกว่า 82% ของพื้นที่นี้มีสภาพเป็นป่าดิบชื้น กระทั่งประชากรที่อาศัยอยู่ในเมียนม่า และ ประเทศไทยอาจไม่เคยรู้ว่า พวกเขามี "บ้าน" อยู่ติดกับพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่ซึ่งสัตว์ป่าหลายสายพันธุ์กำลังตกอยู่ในอันตรายเข้าข่ายใกล้สูญพันธุ์

สัตว์ในวงศ์แมวป่า 7 หรือ 8 สายพันธุ์ยังคงกระจายตัวอยู่ในกลุ่มป่าแห่งนี้แม้จะมีปัจจัยการล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมายคุกคาม นอกจากนั้นยังมีเรื่องของการถางป่าเพื่อนำพื้นที่ไปใช้สอยด้านเกษตรกรรม การก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ และ การใช้พืนที่เพื่อการปศุสัตว์ การลดจำนวนลงของสัตว์ในสปีชียส์แมวป่านี้เกิดขึ้นทั่วเอเชีย ล่าสุด มีรายงานว่าเสือโคร่ง และเสือดาวสูญพันธุ์ไปแล้วอย่างสิ้นเชิงในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

"ความหลากหลายของสายพันธุ์แมวป่า และขนาดที่แตกต่างกัน รวมถึงความสมบูรณ์ของผืนป่าในพื้นที่นี้มีความโดดเด่นผิดกับพื้นที่อื่นๆ" เรแกน ไพโรจน์มหากิจ ผู้จัดการพื้นทีโครงการ ตะนาวศรี-ถนนธงชัย WWF ปรเทศไทยกล่าว และบอกว่า "แต่วันเวลาของสปีชีส์ต่างๆ ที่เริ่มหายากนั้น สั้นลงทุกที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพยายามของแต่ละประเทศ และการอนุรักษ์ของโลก ที่จะมองเห็นคุณค่าของสายพันธุ์ที่สำคัญ และลุกขึ้นมาจัดการแก้ไขกับปัจจัยที่คุกคามชีวิตของสัตว์เหล่านี้"

งานวิจัย "ตะนาวศรี-ถนนธงชัย: แผ่นดินแห่งแมวป่า" รวบรวมหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้

  • เมียนม่า เปิดเผยว่า พื้นที่แห่งนี้มีประชากรเสือโคร่งประมาณ 180-220 ตัวแต่มีการสำรวจพบ และติดตามเฝ้าระวังเพียงแค่ 8% หรือประมาณ 22 ตัวเท่านั้น
  • ในปีที่ผ่านมา มีการพบร่องรอยตีนของเสือโคร่งในอุทยานแห่งชาติกุยบุรีเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี
  • มีรายงานว่าเสือสูญพันธุ์แล้วในลาว เวียดนาม และเข้าใกล่สภาวะสูญพันธุ์ในกัมพูชา แต่ยังคงพบเสือชนิดนี้ในพื้นที่ ตะนาวศรี- ถนนธงชัยแต่ประชากรกำลังลดลง และอยู่ในสภาวะอันตรายใกล้สูญพันธุ์
  • กล้องดักถ่ายอัตโนมัติพบเสือไฟ 1 คู่ในบริเวณใกล้กับพื้นที่ที่มีการสำรวจเพื่อสร้างถนนในเมียนมา ซึ่งพวกมันอาจได้รับผลกระทบในอนาคต
  • แมวป่าซึ่งมีรายงานว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทย ถูกสำรวจพบด้วยกล้องดักถ่ายในพื้นที่ ตะนาวศรี-ถนนธงชัยในปี ค.ศ.2017 รัฐบาลไทยจัดให้เป็นสัตว์ที่อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์จากภัยคุกคามที่มาจากการล่า และทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย
  • เสือดาวพบได้มากในบริเวณนี้ และในเมียนมาก็พบบ่อยครั้งจากภาพในกล้องดักถ่ายอัตโนมัติ
  • เสือปลา ถูกพบได้บริเวณนอกพื้นที่ และเชื่อว่ายังคงมีพวกมันหลงเหลืออยู่
  • จากข้อมูลของกล้องดักถ่ายในปี ค.ศ.2017-2018 พบสายพันธุ์ต่างๆ ประมาณ 6-7 ชนิดในเขตเมียนมา และไทย
  • ปัจจัยคุกคามนั้นรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภค การล่าสัตว์ และการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย รวมถึงการขยายพื้นที่การเกษตร

รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยคุกคาม ได้แก่ การใช้พื้นที่เพื่อการเกษตร อาทิ การปลูกปาล์ม การทำไร่ข้าวโพดเพื่อการปศุสัตว์ และการปลูกถั่วพลู นอกจากนั้นยังมีการนำพื้นที่ไปใช้เพื่อขยายระบบสาธารณูปโภค เช่น ถนนเส้นใหม่ ทำให้การเข้าพื้นที่ของพรานป่าที่ล่าสัตว์ผิดกฎหมายทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้น กับดักที่ชนพื้นเมืองทำขึ้นที่กระจายอยู่หลายร้อยอันในพื้นที่ป่าก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่คร่าชีวิตสัตว์ป่า ไม่เพียงเท่านั้น โคร่งการก่อสร้างถนนบ้านทิกี้ เมืองทวายที่จะเชื่อมตรงสู่ท่าเรือน้ำลึก ตามกรอบการสร้างเขตเศรษฐกิจใหม่ระหว่าง เมียนมา และไทย ไปยังพื้นที่ต่างๆ ในภูมิภาค ถือเป็นอีกหนึ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่คุกคามชีวิตของเสือโคร่งช้างป่า และอีกหลานสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้

"การที่เราพบสัตว์ในวงศ์แมวหลายสายพันธุ์ในพื้นที่นี้ เป็นเพราะส่วนผสมของการทำงานอนุรักษ์ที่เข้มแข็งของประเทศไทย ในการจัดการดูแลพื้นที่อนุรักษ์ ร่วมกับการที่ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม และช่วยกันปกป้องพื้นที่" นิก คอกส์ รักษาการผู้อำนวยการ WWF เมียนมากล่าว และบอกอีกว่า "หากมีโครงการสร้างถนนเส้นใหม่ ควรจะต้องมีการพิจารณาถึงการทำพื้นที่ผ่านทางให้กับสัตว์ป่า ตามกลไกของการสร้างสาธารณูปโภคที่ยั่งยืนด้วย"

WWF เสนอข้อเรียกร้องเพื่อดำรงความอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ป่าตะนาวศรี-ถนนธงชัย 8 ข้อได้แก่

  • ลงทุนมากขึ้นในบริเวณที่มีความอ่อนไหวเรื่องของการชากรสัตว์
  • จัดทำการสำรวจประชากรสัตว์ป่าและเหยื่อรวมถึงที่อยู่อาศัย
  • จัดทำแนวเขตอนุรักษ์ที่ชัดเจนระหว่าง 2 ประเทศ
  • สร้างเครือข่ายการปกป้องธรรมชาติที่เจ้มแข็งทั้ง 2 ประเทศ รวมทั้งดูแลจัดการเรื่องการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปกป้องชุมชนรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานในพื้นที่และชุมชน
  • เพิ่มการรับรู้ความสำคัญของพื้นที่ป่าบริเวณตะนาวศรี และถนนธงชัยให้เกิดขึ้นในวงกว้าง
  • เพิ่มกลไกการตรวจสอและการป้องกันในพื้นที่ที่มีบริเวณกว้างขึ้น และครอบคลุมชนิดพันธุ์ที่มีความหลากหลาย
  • ตรวจสอบการทำงานในระดับนานาชาติในเรื่องของการวางแผนสร้างสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆ เพื่อวัดผลกระทบที่จะเกิดกับพื้นที่และสัตว์ป่า

"เจ้าหน้าที่รัฐที่ทำงานอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อยคืออีกหนึ่งกลไกสำคัญ ที่ทำให้พื้นที่ป่าแหล่งนี้เป็นพื้นที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่ยังคงความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นป่าที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก" อาร์โนลด์ สิตอมพุล ผู้อำนวยการฝ่ายอนุรักษ์ WWF ประเทศไทย กล่าวสรุป

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF สำนักงานประเทศไทย ในฐานะองค์กรวิทยาศาสตร์ ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์มาอย่างยาวนานกว่า 2 ทศวรรษ และ WWF ถือเป็นหนึ่งในองค์กรขนาดใหญ่ที่สุดระดับโลกที่มุ่งมั่นทำงานด้าน การอนุรักษ์ ปัจจุบัน WWF มีผู้สนับสนุนมากกว่า 5 ล้านคนจากทั่วโลกและเครือข่ายขององค์กรทำงานร่วมกันในกว่า 100 ประเทศ พันธกิจของ WWF คือการหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาวะธรรมชาติของโลกในเชิงลบ และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนของโลก ที่มีมนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติได้อย่างมีความสมดุลด้วยการอนุรักษ์สภาพชีววิทยาที่หลากหลาย และมุ่งทำงานเพื่อรักษา ทรัพยากรด้านพลังงานให้ถูกนำกลับมาใช้งานอย่างสมดุล และยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนการทำงานเพื่อหยุดยั้งมลพิษและการบริโภค ที่เกินพอดี

สามารถศึกษาข้อมูลการทำงานของเราเพิ่มเติมได้ที่ www.wwf.or.th