ผศ.นพ. ชูศักดิ์ ปริพัฒนานนท์ ประธานกลุ่ม PARANG กลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะที่ดูแลรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้มารวมตัวกันในนามกลุ่ม PARANG (Prostate cancer AwaReness for pAtieNt by expert Group) กล่าวว่า ปัจจุบัน แนวโน้มผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มสูงขึ้น เป็นมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับ 4 ของมะเร็งที่เกิดในชายไทย โดยมีอุบัติการณ์ของโรคประมาณ 7.5คนต่อประชากร 1 แสนคน (หรือประมาณ 3,233 ราย) โดยในปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ประมาณ 1,276,106 รายทั่วโลก มีผู้ป่วยประมาณ 358,989 รายทั่วโลกเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมาก จึงถือว่าโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคที่ร้ายแรง และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยสาเหตุปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ อายุ โดยเฉพาะหลังอายุ 50 ปี เชื้อชาติ คนเชื้อชาติผิวสีดำ (แอฟริกัน-อเมริกัน) จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าประชากรชายผิวขาว ประวัติครอบครัว โดยพบว่าหากมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 20% เนื่องจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยเฉพาะครอบครัวที่มีบิดาหรือพี่ชาย/น้องชายเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมีคนในครอบครัวที่เป็นมะเร็งชนิดอื่น แต่ปัจจุบันแม้ว่าอุบัติการณ์ของโรคสูงขึ้น แต่อัตราการเสียชีวิตกลับมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคที่มีระยะเวลาพัฒนาช้า ดังนั้นหากได้รับการตรวจคัดกรองและตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จะสามารถรักษาให้หายขาดได้
โดยแพทย์จะทำการตรวจคัดกรองเบื้องต้น การตรวจทางทวารหนัก Digital rectal examination (DRE) แพทย์จะใช้นิ้วมือสอดเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจคลำดูขนาด รูปร่าง และความยืดหยุ่นของต่อมลูกหมาก การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง Prostate Specific Antigen (PSA) เป็นการเจาะเลือดเพื่อดูสาร PSA โดยสาร PSA ถูกสร้างและหลั่งมาจากต่อมลูกหมาก ดังนั้นหากพบว่ามีค่า PSA ที่สูงกว่าค่าปกติ (ค่าปกติ 4 ng/mL) แสดงว่าต่อมลูกหมากอาจมีความผิดปกติ หรือสังเกตจากอาการในระยะแรกๆ หรือระยะเริ่มต้นของมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ ดังนั้นการตรวจคัดกรองหรือตรวจสุขภาพจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการตรวจพบมะเร็งได้เร็วซึ่งในผู้ป่วยบางรายหากรอให้มีอาการแล้วจึงไปตรวจอาจพบในระยะที่ลุกลามหรือระยะท้ายๆ แล้วจนเป็นอุปสรรคในการรักษาได้
สำหรับการสังเกตอาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืน ปัสสาวะลำบากหรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปวดเวลาปัสสาวะ พบเลือดในน้ำปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ ปวดหรือแน่นตึงบริเวณบั้นเอว เชิงกราน หรือต้นขา เป็นต้น ปัจจุบันมีการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากอยู่หลายวิธี เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี การรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือ การรักษาด้วยการควบคุมฮอร์โมนเพศชาย ในผู้ป่วยบางรายอาจรักษาโดยใช้หลายวิธีร่วมกันตามระยะการลุกลามของโรคและดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ผศ.นพ. ชูศักดิ์ กล่าวว่า ชายไทยสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้โดย การออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ ถั่ว และธัญพืช เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มแพทย์ PARANG จึงให้ความสำคัญในการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคจะเป็นไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป ตัวผู้ป่วยเอง หรือญาติผู้ดูแลก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทางกลุ่มแพทย์ PARANG จึงได้มีการจัดงาน "รวมพลังสู้..รู้ทันมะเร็งต่อมลูกหมาก" ดังกล่าวขึ้น ทั้งนี้ ภายในงานจะพบกับแขกรับเชิญพิเศษ และกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจมากมาย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ดังนี้
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดต่อลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/GRJLgATmPY1TMvZq8 หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : ThaiProstateCancer หรือ อีเมลล์ : [email protected] (จำนวน 80 ท่านเท่านั้น!!)
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit