สทนช. เดินหน้า SEA ลุ่มน้ำสะแกกรัง หวังใช้เป็นต้นแบบบริหารทรัพยากรน้ำในทุกลุ่มน้ำให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

          สทนช. สรุปผลศึกษา SEA ลุ่มน้ำสะแกกรัง ภายใต้การบูรณาการ นโยบายรัฐ และพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมของพื้นที่ลุ่มน้ำ จนได้มาซึ่งยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรังได้รับการยอมรับจากภาคส่วนต่าง ๆ หวังใช้เป็นต้นแบบบริหารทรัพยากรน้ำในทุกลุ่มน้ำให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
          ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรัง และผลการศึกษาประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ที่เป็นทางเลือกในการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสม โดยเดินทางไปติดตามการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เกษตรทฤษฎีใหม่ตามศาสตร์พระราชา และติดตามการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนด้วยระบบประปาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ต.บ้านใหม่คลองเคียน อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี 
          ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กล่าวว่า ลุ่มน้ำสะแกกรัง มีพื้นที่ 4,9การบริหารจัดการน้ำการบริหารจัดการน้ำ.48 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ อุทัยธานี นครสวรรค์ และกำแพงเพชร เป็นพื้นที่ที่มักประสบปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง และคุณภาพน้ำ ตามลักษณะทางกายภาพของลุ่มน้ำและวิถีชีวิตของชุมชนที่อาศัยอยู่ พื้นที่ตอนบน มีลักษณะเป็นพื้นที่สูงชัน มีสภาพป่าไม้อุดมสมบูรณ์ พื้นที่ตอนกลาง มีลักษณะเป็นรูปคลื่น เนื้อดินร่วนปนทรายไม่อุ้มน้ำ ทำให้พื้นดินมีความแห้งแล้ง การกัดเซาะพังทลายสูง และเกิดตะกอนทับถมจนตื้นเขินไม่สามารถระบายน้ำได้ ตลอดจนแหล่งเก็บกักน้ำและระบบกระจายน้ำมีไม่เพียงพอ จึงมักประสบปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งอยู่เสมอ และพื้นที่ตอนล่าง มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม เป็นจุดรวมของลำน้ำสาขาต่างๆ อีกทั้งมีสิ่งกีดขวางทางน้ำ เกิดตะกอนในลำน้ำทำให้ตื้นเขิน รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา จึงมักเกิดปัญหาอุทกภัยเป็นประจำ นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาน้ำเน่าเสียจากการขยายตัวของชุมชนเมือง การใช้สารเคมีในพื้นที่การเกษตร การขาดแหล่งเก็บกักน้ำในพื้นที่ด้านบนที่จะช่วยระบายน้ำมาเจือจางและผลักดันน้ำเสียในช่วงฤดูแล้ง 
          ดังนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำสะแกกรัง จะต้องพิจารณาองค์รวมเพื่อให้เกิดความสอดคล้องร่วมกันระหว่างพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยในอดีตที่ผ่านมา การวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรัง จะพิจารณาจากมุมมองของภาครัฐเป็นรายโครงการหรือเฉพาะด้าน และอาจจะขาดการพิจารณาผลกระทบต่อเนื่องที่มีต่อภาคส่วนอื่น ๆ จนส่งผลให้เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในพื้นที่ สทนช. ในฐานะองค์กรหลักด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ ได้บูรณาการแนวทางในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ใหม่ โดยจัดให้มีการศึกษาประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์พื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรัง เพื่อประเมินศักยภาพและข้อจำกัดของสิ่งแวดล้อม และแนวทางพัฒนาและบริหารจัดการน้ำที่สามารถนำไปสู่ความสมดุลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีการพิจารณาทางเลือกทั้งจากนโยบายรัฐ และความต้องการของประชาชน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจึงเป็นทางเลือกการพัฒนาที่สะท้อนความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มากที่สุด จากการศึกษาได้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ส่วน คือ 

          การบริหารจัดการน้ำ. ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรัง โดย "มุ่งสู่การพัฒนาเกษตรพื้นถิ่นร่วมกับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐ" เนื่องจากจุดแข็งของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ จะช่วยเสริมความเข้มแข็งให้แก่ระบบเกษตรพื้นถิ่น ซึ่งต้องมีการเติมเต็มระบบบริหารจัดการน้ำ และศักยภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน
          2. แผนงานตามแนวทางพัฒนาลุ่มน้ำแบบบูรณาการระดับยุทธศาสตร์ แบ่งการพัฒนาเป็น 3 ระยะ สอดคล้องกับแผนการพัฒนาลุ่มน้ำที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนด ประกอบด้วย แผนบริหารจัดการ 8 ด้าน รวมทั้งสิ้น 2สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แผนงาน ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทน้ำทั้ง 6 ด้าน และเพิ่มเติมแผนพัฒนาการท่องเที่ยว และการพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตร พร้อมมาตรการเพื่อความยั่งยืน มาตรการบรรเทาผลกระทบ และมาตรการติดตามตรวจสอบ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปจัดทำแผนให้สอดคล้องกับมาตรการดังกล่าว และดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาของแผนยุทธศาสตร์ 

          ซึ่งในระยะสั้นจะเน้นการจัดหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในพื้นที่ที่ไม่เพียงพอ เช่น หมู่บ้านขาดแคลนน้ำในลุ่มแม่วงก์ สะแกกรังตอนล่างส่วนที่ การบริหารจัดการน้ำ ซึ่งมีศักยภาพน้ำบาดาลต่ำ รวมทั้งการเก็บน้ำในลำดับ โดยเฉพาะลำน้ำแม่วงก์ และในระยะกลางจะเสนอแผนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแนวทางผันน้ำเพื่อลดปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ชุมชนลาดยาว และการเก็บน้ำในแม่น้ำสะแกกรังในพื้นที่ตอนล่าง ซึ่งเข้าข่ายต้องจัดทำรายงาน EIA โดยหน่วยงานที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการน้ำ4 หน่วยงาน จะได้เร่งจัดเข้าแผนงานเพื่อเสนอขรับการจัดสรรงบประมาณต่อไป 
          "สทนช. จะเสนอผลโครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์พื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรัง ต่อคณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) พิจารณา ให้ความเห็นชอบ และใช้ประกอบการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรังต่อไป โดยหวังให้เป็นต้นแบบต่อยอดขยายผลไปใช้เป็นทิศทางในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทุกพื้นที่ลุ่มน้ำ เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์น้ำของประเทศอย่างเป็นระบบและยั่งยืน" เลขาธิการ สทนช. กล่าว
 
 
 

ข่าวสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ+สำนักงานทรัพยากรน้ำวันนี้

สทนช. ระดมผู้เชี่ยวชาญรุดตรวจสอบอาคารที่ทำการใหม่ ยืนยันแข็งแรง ปลอดภัย

สทนช. ลงพื้นที่ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงการก่อสร้างอาคารที่ทำการ สทนช. หลังเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ยืนยัน ยังแข็งแรง ปลอดภัย เผยการตรวจสอบเบื้องต้นไม่พบรอยร้าว ไม่มีความเสียหาย เร่งประสานผู้มีใบอนุญาตตรวจสอบอาคารอย่างละเอียด ขีดเส้นแล้วเสร็จภายใน 15 วัน ยืนยันการใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามกฎหมาย นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะโฆษก สทนช. และประธานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (อาคาร สทนช.) เปิด

กทม. แนะวิธีใช้น้ำประปาช่วงน้ำทะเลหนุนสูง - น้ำเค็มรุกล้ำ ป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ

นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวกรณีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) แจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเค็มรุกล้ำช่วงวันที่ 30 พ.ย. 10 ธ.ค. 67...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. พร้อมเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง-น้ำเค็มรุกล้ำ ป้องกันชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำ-จุดฟันหลอ — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าว...

นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนัก... กทม. เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเหนือ เร่งเสริมความสูงแนวคันกั้นน้ำ — นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวถึงการติดตามเฝ้าระวั...

ดร.อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์แ... วว. จับมือ สสน. /สทนช. จัด Work shop พัฒนาผลผลิตเกษตรเพิ่มมูลค่าจากน้ำของชุมชน ครั้งที่ 3 — ดร.อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม สถาบ...

สทนช.ลุยภาคเหนือ ติดตามพื้นที่เสี่ยงขาดแค... สทนช.ติดตามพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ จ.กำแพงเพชร — สทนช.ลุยภาคเหนือ ติดตามพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำและผลการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่ อ.คลองลาน และ อ...

กอนช. ถกเข้มแผนบริหารจัดการน้ำปี 67 เพื่อ... กอนช. ถกเข้มแผนบริหารจัดการน้ำปี 67 เตรียมรับสถานการณ์ภัยแล้งเชิงรุก — กอนช. ถกเข้มแผนบริหารจัดการน้ำปี 67 เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ภัยแล้งแบบเชิงรุก คาดครึ...

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบั... วว. ร่วมหารือ สทนช. เพื่อขับเคลื่อน วทน. ส่งเสริมสนับสนุนพี่น้องประชาชน — ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ...