เปิดแล้วครั้งแรกกับ "Textile and Garment Merchandiser" หลักสูตรนำร่องพัฒนากำลังคนอาชีวเตรียมทรานฟอร์มสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ร่วมกับ สหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย และ คณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) คิ๊กอ๊อฟ เปิดอบรมเชิงปฏิบัติการ ระยะสั้นหลักสูตร "Textile and Garment Merchandiser" หวังเพิ่มศักยภาพและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและแฟชั่น

เปิดแล้วครั้งแรกกับ "Textile and Garment Merchandiser" หลักสูตรนำร่องพัฒนากำลังคนอาชีวเตรียมทรานฟอร์มสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ

โดยมีผู้บริหาร คณะกรรมการ และคณะทำงานคณะอาจารย์และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมพิธีเปิด ประกอบไปด้วย

  • นายยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ ประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย
  • ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
  • นางชไมพร ตุ้มพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ อ.กรอ.อศ. กลุ่มอาชีพสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และแฟชั่น
  • นางสุปรีญา อุนนาทรวรางกูร ผู้แทนสหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทรานิษฐ์ สิทธินพพันธ์ คณบดีคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • นายสมศักดิ์ ศรีสุภรณ์วานิชย์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมอุตสาหกรรมทอผ้าไทย
  • นายอัมรินทร์ ศรีสุภรวาณิชย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทอผ้าไทย
  • นายปิลันธน์ ธรรมมงคล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • นายมนัส อารีย์ สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย
  • พร้อมด้วยคณะอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม , วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ , วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น

สำหรับการจัดกิจกรรมอบรมหลักสูตรดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้งบประมาณกองทุนสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเป็นการนำร่องจัดครั้งแรกเพื่อเร่งพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้มีศักยภาพ โดยเนื้อหาหลักสูตรประกอบไปด้วย

  • การเรียนรู้บทบาทของ Merchandiser
  • ทัศนคติและความรับผิดชอบในการทำงาน
  • ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศ
  • สถานการณ์การผลิตเสื้อผ้า และธุรกิจเสื้อผ้า
  • กระบวนการผลิต และการสื่อสารเชิงธุรกิจ (ภาษาอังกฤษ)- การเรียนรู้ผ้า และสิ่งที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เช่น เส้นใย เส้นด้าย ผ้าทอ ผ้าทอ ผ้าถัก การพิมพ์สิ่งทอ การย้อม ตกแต่งสิ่งทอ- ข้อกำหนด และการทดสอบผ้าและเสื้อผ้าสำเร็จรูป การคำนวณในธุรกิจเสื้อผ้า : โดยการกำหนดสูตรเช่นคำรวนการใช้วัตถุดิบต่าง ๆ คำนวณต้นทุนการผลิต คำนวนราคาขาย

พร้อมเยี่ยมชมโรงงานฟอกย้อม ตกแต่งสำเร็จผ้าผืน โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่มีระบบการจัดการที่ทันสมัย รวมถึงการใช้อุปกรณ์ช่วยตัดเย็บและเครื่องจักรอัตโนมัติ และการฝึกปฏิบัติ พาชมแหล่งซื้อวัตถุดิบสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเบื้องต้น โดยเริ่มเรียนตั้งแต่วันที่ 9 - 25 มีนาคม 2563 ณ ห้องประชุม 902 ชั้น 9 อาคาร 51 คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ


ข่าวสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ+ยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์วันนี้

เปิดแล้วครั้งแรกกับ "Textile and Garment Merchandiser" หลักสูตรนำร่องพัฒนากำลังคนอาชีวเตรียมทรานฟอร์มสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ร่วมกับ สหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย และ คณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) คิ๊กอ๊อฟ เปิดอบรมเชิงปฏิบัติการ ระยะสั้นหลักสูตร "Textile and Garment Merchandiser" หวังเพิ่มศักยภาพและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและแฟชั่น โดยมีผู้บริหาร คณะกรรมการ และคณะทำงานคณะอาจารย์และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมพิธีเปิด ประกอบไปด้วย นายยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ ประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย ดร.ชาญชัย สิริเกษม

อุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทย ต้องเผชิญกับความท้า... เมื่อ Digital Transformation คือจุดเปลี่ยนของธุรกิจอุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทย — อุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทย ต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่จากสถานการณ์การระบาดของโคว...

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) โดย สำนักงานเศรษฐ... อก. เร่งดันผู้ประกอบการแปรรูปกัญชงสู่พาณิชย์รองรับ BCG Model — กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) โดย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ผลักดันผู้ประกอบการแปรรูปกัญช...

นางทิพวรรณ พานิชการ ผู้อำนวยการศูนย์วิเคร... สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดห้องทดสอบสิ่งทอต้อนรับคณะผู้บริหารธุรกิจเคมี — นางทิพวรรณ พานิชการ ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหก...

ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพ... โครงการพัฒนาต้นแบบวัสดุเชิงเทคนิคเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (New S-Curve) — ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นปร...