ศมส. ให้ทุนเขียนบทความวิจัย โครงการมานุษยวิทยาในสถานการณ์โรคระบาด เพื่อร่วมเรียนรู้–เสนอทางออกจากวิกฤตโควิด-19 ผ่านมุมมองทางมานุษยวิทยา

25 Mar 2020

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไปทุกทวีปทั่วโลก กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) จัดโครงการมานุษยวิทยาในสถานการณ์โรคระบาด “โรคเปลี่ยนคน คนเปลี่ยนโลก” โดยสนับสนุนทุนการเขียนบทความวิจัย (Research paper) ด้านมานุษยวิทยาให้กับนักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษามานุษยวิทยาและสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 ทุน ทุนละ 20,000 บาท เพื่อส่งเสริมการนำความรู้ทางมานุษยวิทยามาทำความเข้าใจปรากฎการทางสังคม วัฒนธรรม และเพื่อเรียนรู้ เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา และสามารถรับมือกับโรคระบาดได้

ศมส. ให้ทุนเขียนบทความวิจัย โครงการมานุษยวิทยาในสถานการณ์โรคระบาด เพื่อร่วมเรียนรู้–เสนอทางออกจากวิกฤตโควิด-19 ผ่านมุมมองทางมานุษยวิทยา

นายอิทธิพล กล่าวว่า ทั้งนี้ เนื้อหาบทความต้องมีหัวข้อ ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ประสบการณ์ อารมณ์และความรู้สึกในสถานการณ์โรคระบาด ทุกข์ทางสังคม ประสบการณ์การเจ็บป่วย ความหมายและมุมมองต่อโรคโควิด 19 ชีวิตทางสังคมและอารมณ์ของมนุษย์ในสถานการณ์โรคระบาด: ความกลัว ความรัก ความเหงา และความหวัง ฯลฯ การดูแล ภารกิจทางมนุษยธรรม และประสบการณ์ทางจริยธรรม ในสถานการณ์โรคระบาดกลุ่มที่ 2 บทเรียนของวิธีจัดการและแก้ไขปัญหาโรคระบาด การศึกษาเปรียบเทียบการรับมือของประเทศต่างๆ ในบริบททางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมือง กาลเทศะ ความเสี่ยง และมิติทางวัฒนธรรมของโรคอุบัติใหม่ มองแบบรัฐ: รัฐเวชกรรม ภาวะผู้นำและปฏิบัติการของอำนาจในสถานการณ์เปราะบาง ชุมชน การตอบโต้ ต่อรอง และการกลายเป็นปัญหาท้องถิ่นของโรคในกระแสโลกาภิวัตน์ ประสบการณ์และปฏิบัติการเชิงพื้นที่: การเดินทาง เส้นแบ่งและเขตแดนกับการควบคุมกักกันโรค

กลุ่มที่ 3 การแบ่งแยกกีดกัน ความเสี่ยงและการปรับตัวทางสังคม ความเหลื่อมล้ำและความสัมพันธ์เชิงอำนาจ: กลุ่มเปราะบาง ชนชั้น เชื้อชาติและเพศสภาวะในสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ สังคมเสี่ยงภัย: กลุ่มเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยงกับการปรับตัวและการเอาตัวรอดในการเผชิญหน้ากับความเสี่ยง การเกิดใหม่ของความเป็นสังคม ความเป็นพลเมือง และการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่ กับการรับมือโรคระบาด กลุ่มที่ 4เทคโนโลยี พิธีกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในสถานการณ์โรคระบาด ศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี: การรับมือกับสถานการณ์วิกฤต อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีดิจิทัล สื่อสังคมกับโรคระบาด ศาสนา พิธีกรรม การผลิตซ้ำและการสร้างใหม่ทางวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับโรคระบาด กติกา มารยาทและสุนทรียศาสตร์ของการอยู่ร่วมกันและการอยู่กับโรค และกลุ่มที่ 5 ภววิทยา ปริมณฑลของความรู้และความจริง การเมืองเรื่องความรู้ ความจริง และการต่อสู้ช่วงชิงทางญาณวิทยา Visual culture and Epidemic ข้อมูลโรคระบาดกับการสร้างภาพตัวแทนและการสื่อสารผ่านภาพ การรายงานข่าว ข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวปล่อย และปฏิกิริยาทางสังคมของสาธารณะ วัตถุ สิ่งของ หลากสายพันธุ์กับการเป็นผู้กระทำการของสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ในสถานการณ์โรคระบาด

นอกจากนี้ รูปแบบของผลงานต้องมีขนาดสั้น มีการวิจัยจากเอกสาร และภาคสนาม รวมทั้งประสบการณ์

ส่วนตัวการสัมภาษณ์ การสำรวจสื่อออนไลน์ มีความยาวไม่ต่ำกว่า 15 หน้า A 4 ไม่รวมบรรณานุกรม Font TH SarabunPSK 16 สำหรับนักวิชาการ นักวิจัย หรือนักศึกษาทางด้านมานุษยวิทยาที่สนใจสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม-20 เมษายน 2563 (ภายในเวลา 16.00 น.) โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มที่ www.sac.or.th และส่งทาง e-mail ที่ [email protected] ทั้งนี้ จะประกาศผลผู้ได้รับการสนับสนุนในวันที่ 30 เมษายน 2563 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02 880 9429 ต่อ 3814 หรือ 3835 ในเวลาราชการ

HTML::image(