กองรีท BKER ผู้บริหารศูนย์การค้า เตรียมพร้อมเผยกลยุทธ์ 2020 ฝ่าวิกฤติโควิด-19

26 Mar 2020

กองรีท BKER ผู้บริหารศูนย์การค้าทั้ง 10  โครงการ ได้แก่ ซีดีซี คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์, เดอะคริสตัล เอกมัย-รามอินทรา, เดอะคริสตัล เอสบี ราชพฤกษ์, อมอรินี รามอินทรา, แอมพาร์ค จุฬา, เพลินนารี มอลล์ วัชรพล, สัมมากร รามคำแหง รังสิต ราชพฤกษ์ และเดอะซีน ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์รวม 11,300 ล้านบาท พื้นที่โดยรวมประมาณ 500,000 ตร.ม. และพื้นที่ขายประมาณ 140,000 ตร.ม.

กองรีท BKER ผู้บริหารศูนย์การค้า เตรียมพร้อมเผยกลยุทธ์ 2020 ฝ่าวิกฤติโควิด-19

นางศุภานวิต เอี่ยมสกุลรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เค.อี. ได้กล่าวถึง สถานการณ์ภายหลัง กทม ประกาศ เรื่องการให้ศูนย์การค้าปิดชั่วคราว เว้นแต่ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา ร้านอาหารประเภท delivery และ take home ธนาคาร ร้านขายอาหารสัตว์ หรือ ร้านขายของจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม - 12 เมษายน 2563 ทำให้ทีมงานเร่งทำความเข้าใจกับร้านค้าถึงมาตรการของ กทม. ซึ่งทุกร้านค้าได้ให้ความร่วมมือด้วยดี ในด้านเจ้าหน้าที่เขต ได้แสดงความมั่นใจ ภายหลังมาสำรวจศูนย์ฯว่า ศูนย์ฯทั้ง 10 แห่งภายใต้การบริหารของกองรีท BKER ได้ปฏิบัติตามแนวทางของภาครัฐและ กทม. รวมถึงการหาแนวทางร่วมมือกันต่อไป หากกรณีสถานการณ์ยืดเยื้อ ส่วนนโยบายในการให้ความช่วยเหลือร้านค้าที่ชัดเจน ได้แก่ การให้ส่วนลดร้านค้า การช่วยประสานธนาคารด้านการเงินให้กับร้านค้า การสนับสนุนและเพิ่มช่องทางด้านการตลาด การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ในการสั่งอาหารจากร้านอาหาร เป็นต้น ส่วนในด้านกลยุทธ์การเติบโตได้มีการวางแผนงาน โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพทั้ง 10 แห่งให้มีผลประกอบการที่ดีขึ้นทั้งด้านการบริหารรายได้ และการบริหารต้นทุน ส่วนการลงทุนในทรัพย์สินใหม่ปัจจุบันมีกว่า 40 แห่ง ที่แสดงความสนใจและให้ทำการศึกษา โดยอยู่ในกรุงเทพ 68% ต่างจังหวัด 22% และต่างประเทศ 10% นอกจากนี้ จากสถานการณ์ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้ปรับการบริหารงาน โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในทุกด้าน ซึ่งได้จัดทำ “KE Tech Road Map” ในการพัฒนาทุกด้าน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานในทุกกลุ่มธุรกิจ

ด้านนายกวินทร์ เอี่ยมสกุลรัตน์ กรรมการ บริษัท เค.อี. รีท แมเนจเมนท์ จำกัด เผยกลยุทธ์หลักที่กองรีท BKER ได้เข้าไปบริหารทั้ง 10 โครงการ เน้นการสร้างสังคมชุมชนที่ให้ไลฟ์สไตล์แบบ welcoming, creative และ unique ที่ได้ทยอยเริ่มดำเนินการแล้ว แนวทางกลยุทธ์ ได้แก่

  1. “Attract top-brand tenants and customize to each neighborhood” กลยุทธ์การปรับเพิ่มร้านค้าให้ตรงกลุ่ม และเพิ่มแบรนด์ดังใน sector ที่เป็นความต้องการในชีวิตประจำวัน อาทิ ร้านอาหาร ร้านกาแฟชื่อดัง ฟิตเนส ทำให้ Occupancy rate เพิ่มสูงขึ้น และมีข้อดีกับการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าเช่าในอนาคต ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนแบรนด์ชั้นนำมีประมาณ 30%
  2. “Experiential place-making” กลยุทธ์การสร้างบรรยากาศใหม่ เช่น การมีสถานที่ที่เป็น community, meeting place หรือเป็นสถานที่สามารถทำงานได้ในบรรยากาศสบายๆ
  3. “Tech and operations platform” การใช้เทคโนโลยีในการบริหารงานทุกขั้นตอน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนได้อย่างมีนัยสำคัญ
  4. “Cost reduction through synergy” การเพิ่มความสามารถในการลดค่าใช้จ่ายในการบริหารศูนย์จากการมี economy of scale ปัจจุบัน เราสามารถลดค่าใช้จ่ายประเภท outsource contract เบื้องต้น ได้แก่ ยามและแม่บ้านได้กว่า 20% และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจากการบริหารที่มีประสิทธิภาพลงได้กว่า 5%
  5. “Sustainability” การพัฒนาอย่างยั่งยืน การนำแนวทางลดหรือประหยัดพลังงานอย่างยั่งยืน ปัจจุบันได้ทำสัญญาในการทำโซลาร์เซลล์ ที่ ซีดีซี เพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้ากว่า 20% โดยมีแผนงานต่อไปในโครงการอื่นๆ
  6. “Quality asset investment” การเข้าไปลงทุนในทรัพย์สินหรือโครงการใหม่ในอนาคตที่มีคุณภาพ



ภาพรวมศูนย์การค้าในกองทรัสต์  BKER ณ  31 ธันวาคม 2562 มี Occupancy โดยรวมอยู่ที่ 93 %  โดยมีอัตราการต่อสัญญาที่มีอัตราค่าเช่าปรับสูงขึ้นได้เฉลี่ย 2.9%  สำหรับอัตราการเติบโตของจำนวนรถเข้าศูนย์การค้า เดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีอัตราการเติบโตของจำนวนรถเข้าศูนย์ (Traffic Growth) สูงขึ้น 1.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา 2562

ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติโควิด ลูกค้าส่วนใหญ่ที่เคยนิยมใช้ชีวิตประจำวันในการมาคอมมูนิตี้มอลล์ หรือไลฟ์สไตล์มอลล์ ย่อมพบว่าชีวิตเปลี่ยนไป ตามบทความนิตยสารฟอร์บส์ ได้มีแนวคิดวิกฤติ เป็นโอกาสที่นอกจากเราจะสามารถช่วยกันในการอยู่แบบเว้นระยะห่างทางสังคมหรือ Social Distancing แล้ว ข้อคิดที่น่าสนใจในการนำมาบริหารองค์กร หรือ บุคคล 1. More time ทำให้ทุกคนมีเวลาที่สามารถทำประโยชน์ได้มากขึ้น 2. Reflect and reconsider ทำให้ทุกคนมีการพิจารณาไตร่ตรองในงานที่ทำ 3. Speed and Innovation ทำให้ทุกคนสามารถเพิ่มความเร็วของงานหรือนำเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างจริงจัง 4. Better meetings ทำให้การประชุมแม้จะน้อยครั้งแต่มีผลิตผลที่ดีขึ้น 5. Reconnect and help ทำให้เราทุกคนมีความคิดอยากที่จะติดต่อและช่วยเหลือกัน 6. Cleaner environment ทำให้สิ่งแวดล้อมเราสะอาดขึ้น 7. Modesty and acceptance ทำให้เกิดการยอมรับความจริงและพอเพียง

นางศุภานวิต ได้กล่าวเสริมตอนท้ายว่า กองรีท BKER เน้นการให้ความสำคัญในการพัฒนาให้กับทุกศูนย์การค้า ด้วยการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในหลายด้าน ทั้งด้านร้านค้า บรรยากาศ และกลยุทธ์การตลาดเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต เพื่อประโยชน์แก่ลูกค้า สังคม และผู้ถือหน่วยลงทุน และที่สำคัญ BKER ได้รับการตอบรับที่ดีอย่างมากในการให้เข้าทำการศึกษาโครงการ เพื่อการเข้าไปลงทุนในโครงการประเภทรีเทลที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศ