“Study Director Training ตามหลักการ OECD GLP ในประเทศไทย”

          การอบรมสัมมนาทางวิชาการระดับประเทศ การยกระดับมาตรฐานการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ตามหลักการ OECD GLP ในประเทศไทย ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ OECD และประเทศสมาชิกสมทบ
          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) จับมือศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการสนับสนุนจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาบุคลากรด้านชีววิทยาศาสตร์ เพื่อรองรับการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งจะนำสู่การส่งเสริมให้เกิดผลงานทางวิทยาศาสตร์ สู่การพัฒนาประเทศสนองนโยบายรัฐบาล เป็นการพัฒนาบุคลากรรองรับการยกระดับมาตรฐานการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ในประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ตอกย้ำความเชื่อมั่นถึงระบบการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย ที่สามารถให้การรับรองผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพให้ออกสู่ตลาดโลกได้อย่างมั่นใจ เป็นที่ยอมรับด้านความปลอดภัยในระดับโลก
          ความร่วมมือกันดังกล่าวนี้ จะสามารถขับเคลื่อนงานการพัฒนาคนด้านชีววิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาประเทศ ด้วยการยกระดับมาตรฐานการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ตามหลักเการ OECD GLP ในประเทศไทย หลังจากที่ทั่วโลกต่างตระหนักถึงมาตรฐานความปลอดภัยในการรับรองผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในยุคการค้าเสรีที่มาตรฐานนั้นต้องเป็นไปตามหลักสากลที่ยอมรับร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้บริโภคและขจัดปัญหาการกีดกันทางการค้า(Non-Tariffs Barrier)ต่อสินค้าไทยที่ต้องการส่งไปขึ้นทะเบียนกับ คณะกรรมการอาหารและยา ในประเทศคู่ค้า รวมถึงคนไทยเองก็จะได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีข้อมูลความปลอดภัยที่ผ่านการรับรอง และการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ในระดับมาตรฐานสากล โดยศูนย์ทดสอบภายในประเทศไทยเอง
          ในวันที่ กระทรวงการอุดมศึกษา7 สิงหาคม กระทรวงการอุดมศึกษา56กระทรวงการอุดมศึกษา ที่โรงแรมศาลายาพาวิลเลียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยทีเซลส์ (TCELS) จับมือศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการสนับสนุนจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดำเนินการจัดอบรมทางวิชาการแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษาวิจัยระดับก่อนคลินิก เภสัชกร นักพิษวิทยา นักวิทยาศาสตร์ สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ดูแลการเลี้ยงและการใช้สัตว์ทดลอง นักวิจัย นิสิตนักศึกษาและผู้สนใจจากทั่วประเทศ ในหัวข้อ " Study Director (SD) training ตามหลักการ OECD GLP ในประเทศไทยรุ่นที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์" ขึ้น เพื่อยกระดับความสามารถบุคลากรห้องปฏิบัติการในการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ยา วัคซีน เภสัชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอาง ยาสัตว์ สารปรุงแต่งในอาหารและอาหารสัตว์ รวมถึงผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง สารเคมีในอุตสาหกรรมหรือใช้ในครัวเรือน ซึ่งดำเนินภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ OECD มหาวิทยาลัยมหิดล5 ประเทศและประเทศสมาชิกสมทบ อีก 6 ประเทศ เป็นการให้ความรู้และพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะ Study Director (SD) สร้างความสามารถหน่วยทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ และความสามารถห้องปฏิบัติการตามหลักการ OECD GLP ของประเทศไทยด้วย
          ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า "ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างหลากหลาย บนพื้นฐานของการนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาร่วมพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด นำประเทศไทยหลุดพ้น "กับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap)และออกจากกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางให้ได้ในอนาคต อาศัยการนำงานด้านชีววิทยาศาสตร์มาช่วยสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์และขยายโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในข้อที่ กระทรวงการอุดมศึกษา "การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ" สนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้มั่นใจว่าโครงการ Study Director Training ตามหลักการ OECD GLP ในประเทศไทย จะเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพในขั้นตอนของการวิจัย จนก่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานออกสู่ตลาดได้จริง โดยมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รับรองความปลอดภัยของทุกผลิตภัณฑ์ ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่จะจำหน่ายให้ประชาชนมีคุณภาพและความปลอดภัยในระดับสากล นอกจากนี้ ด้วยข้อตกลงความร่วมมือการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ OECD และประเทศสมาชิกสมทบ ซึ่ง TCELS ได้ให้การสนับสนุน ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ หมาวิทยาลัยมหิดล เป็น Testing Facility หรือหน่วยตรวจสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพตามหลักการ OECD GLP ของประเทศไทย และปีกระทรวงการอุดมศึกษา56กระทรวงการอุดมศึกษา นี้ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ ได้รับการตรวจประเมินจาก OECD Evaluation Team และกำลังรับรองประเทศไทยให้เป็นประเทศสมาชิกสมทบของกลุ่มประเทศ OECD ซึ่งต่อไปการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ในประเทศ OECD และประเทศสมาชิกสมทบ กว่า 4ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ประเทศทั่วโลกจะยอมรับผลการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์จากประเทศไทยในการขึ้นทะเบียนและจัดจำหน่ายได้"
          ด้าน รศ.ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการ ผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "ศูนย์ฯ เป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองและขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยตรวจสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพตามหลักการ OECD GLP แห่งแรกของประเทศไทย ในขอบเขตการทดสอบ ยา วัคซีน เภสัชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอาง ยาสัตว์ สารปรุงแต่งในอาหารและอาหารสัตว์ สารเคมีในอุตสาหกรรมหรือใช้ในครัวเรือน และเครื่องมือแพทย์ เพื่อบริการทดสอบผลิตภัณฑ์ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานมีการบริหารจัดการระบบงานมาตรฐานอื่น ๆ ได้รับการประกันคุณภาพในระบบต่าง ๆ รวมทั้งการร่วมทุนในระดับนานาชาติเพื่อส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลองของประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น สนองนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศด้านการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งประเทศไทยยังขาดช่วงของการพัฒนาเรื่องการศึกษาด้านคุณภาพและความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ฯ ในระยะก่อนคลินิก (pre-clinic) เพราะตอนนี้มีหน่วยงานเราเพียงหน่วยงานเดียวที่ผ่านการรับรองและขึ้นทะเบียน ดังกล่าว ดังนั้นศูนย์ฯจึงเกิดความมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร การจัดทำการประกันคุณภาพระบบต่าง ๆ ตาม
          มาตรฐานสากล รวมทั้งการจัดการด้านข้อมูลและการจัดเก็บเอกสารให้มีความปลอดภัยสูงสุด มีการประเมินผลเป็นระยะโดยผู้ตรวจประเมินที่ได้การรับรอง มีการปรับปรุงแก้ไขและตรวจประเมินซ้ำ ด้วยการสนับสนุนทุนจาก TCELS และการทำงานร่วมกันมาตั้งแต่ปี กระทรวงการอุดมศึกษา548 จนถึงปัจจุบัน ในการขับเคลื่อนงานพัฒนายกระดับโครงสร้างพื้นฐานการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์และบุคลากรเพื่อตอบสนองการขับเคลื่อน นโยบายรัฐต่อไป"

“Study Director Training ตามหลักการ OECD GLP ในประเทศไทย”
“Study Director Training ตามหลักการ OECD GLP ในประเทศไทย”
“Study Director Training ตามหลักการ OECD GLP ในประเทศไทย”

ข่าวศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์+กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วันนี้

วว. ผลึกกำลังพันธมิตรขับเคลื่อนการทดสอบความปลอดภัย/ทดสอบประสิทธิภาพประสิทธิผลผลิตภัณฑ์ระดับก่อนคลินิกพร้อมร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน LAB BIO CHEM International 2023

นายสายันต์ ตันพานิช ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นางศิรินันท์ ทับทิมเทศ ผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร ในฐานะผู้แทน วว. ร่วมกับพันธมิตร 6 หน่วยงาน ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ความเป็น

การอบรมสัมมนาทางวิชาการระดับประเทศ การยกร... “Study Director Training ตามหลักการ OECD GLP ในประเทศไทย” — การอบรมสัมมนาทางวิชาการระดับประเทศ การยกระดับมาตรฐานการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ตามหลักการ OEC...

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ค... ทีเซลร่วมยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ “OECD GLP Implementation for Test Facility” — กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยา...

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด... วว. คว้ารางวัล Medal of Excellence จากเวที COSMETIC 360 ปี 2024 ณ ประเทศฝรั่งเศส — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจั...

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึ... นาโนเทค-อย.-TCELS หนุนระบบรับรองวัตถุดิบและสารสกัดสมุนไพร ยกระดับอุตฯ ไทยสู่สากล — ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึง 56.50 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็...

ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์คว... TCELS นำเสนอเทคโนโลยีโปรตอนลดความเหลื่อมล้ำ ต้อนรับรองนายกอนุทิน — ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หร...

16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รอง... TCELS เข้าร่วม NCRN conference 2023 พร้อมหนุนเสริมงานวิจัยคลินิกของประเทศ — 16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว...