นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ หรือ สคช. กล่าวว่า สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ มีบทบาทส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการในสาขาวิชาชีพต่างๆ มาร่วมกันสร้างมาตรฐานอาชีพ และการพัฒนากำลังคนด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพตามวัตถุประสงค์ของกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพบุคลากรให้มีความเป็นสากลและเทียบเคียงได้กับนานาชาติ ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกอาชีพ รวมถึงเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับผู้ประกอบการไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและระดับสากล จึงได้จัดให้มีพิธีลงนาม "บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)" ในครั้งนี้ด้านนางอรชร ว่องพรรณงาม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) เปิดเผยว่า สสปน. เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจัดงานกิจกรรมทางธุรกิจที่โดดเด่นของทวีปเอเชีย เน้นการให้บริการสำหรับผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาและการจัดแสดงนิทรรศการ รวมทั้งนักธุรกิจที่เข้าร่วมการประชุมและการเดินทาง เพื่อเป็นรางวัลจากทั่วโลก ช่วยอำนวยความสะดวกและมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมงานได้รู้จักจุดหมายปลายทางที่หลากหลาย กิจกรรม และสิ่งที่น่าสนใจต่างๆ ในประเทศไทย ตลอดจนการเป็นพันธมิตรในทุกๆ ด้านสำหรับการจัดงานกิจกรรมทุกธุรกิจในประเทศไทยอีกด้วย การสร้างคุณภาพและมาตรฐานแก่บุคคลในอาชีพด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ และสนับสนุนให้มีการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ถือเป็นหัวใจสำคัญ เพื่อให้สามารถผลิตบุคลากรที่มีสมรรถนะพร้อมต่อการทำงานในสาขาวิชาชีพหรือสาขาอาชีพที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมไมซ์
สำหรับแนวทางในการดำเนินการที่ สคช.และ สสปน. กำหนดร่วมกัน จะเริ่มจากการจัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/ประชาพิเคราะห์เพื่อกำหนดอาชีพที่ต้องการจัดทำมาตรฐาน ซึ่งเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์ ที่สามารถเทียบเคียงกับมาตรฐานอาเซียน จากนั้น สคช.และ สสปน.จะร่วมกันจัดหาองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ (Assessment Center) และผลักดันให้บุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์ ได้รับการรับรองความรู้ความสามารถ รวมถึงส่งต่อมาตรฐานอาชีพในภาคการศึกษาให้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรด้านไมซ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่าง สสปน.และ สคช. สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการนำพาประเทศเข้าสู่โมเดล "ประเทศไทย 4.0" ที่มุ่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่พึ่งพาความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ประโยชน์ที่บุคคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์จะได้รับคือความเชี่ยวชาญในสายอาชีพ มีความรู้และทักษะที่ได้มาตรฐาน ที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมไมซ์ และสามารถใช้คุณวุฒิวิชาชีพในการพัฒนาเจริญก้าวหน้าในอาชีพของตน โดยเทียบเคียงและเชื่อมโยงกับระบบคุณวุฒิอื่นๆ ในระดับชาติและมีมาตรฐานเทียบเคียงกับอาเซียนและนานาชาติต่อไป ทั้งนี้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนก่อให้เกิดการเชื่อมโยงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม รวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกอีกด้วย
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit