รวมพลังหญิงไทย...สู้ภัยมะเร็งเต้านมแบบสาวยุคใหม่

          "มะเร็งเต้านม" ถือเป็นภัยเงียบสำหรับผู้หญิงในยุคปัจจุบันที่มาเยือนโดยปราศจากสัญญาณเตือนล่วงหน้า และเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้หญิงสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่ง โรคมะเร็งเต้านม ใน 8 ของผู้หญิงทั่วโลกถูกตรวจพบเป็นโรคมะเร็งเต้านม โดยมีจำนวน สูงกว่า โรคมะเร็งเต้านมโรคมะเร็งเต้านม.7 ล้านคนต่อปี และกว่า 3ผู้ป่วยโรคมะเร็ง% เป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมในระยะแพร่กระจ่าย ซึ่ง 9ผู้ป่วยโรคมะเร็ง% ของผู้ป่วยฯเสียชีวิตในที่สุด
          ระยะของโรคมะเร็งเต้านมจะแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ โรคมะเร็งเต้านม และระยะที่ 2 จัดเป็นระยะเริ่มต้น, ระยะที่ 3 มักจะพบมีการลุกลามที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ส่วนระยะที่ 4 หรือระยะสุดท้ายจะพบการลุกลามแพร่กระจายไปในอวัยวะอื่นๆ นอกเหนือจากก้อนบริเวณเต้านม ได้แก่ ปอด ตับ สมอง กระดูก (ดังรูป)
รวมพลังหญิงไทย...สู้ภัยมะเร็งเต้านมแบบสาวยุคใหม่
          กว่า 45% ของกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม มีอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรคฯ และวิธีการรักษา ซึ่งเมื่อผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมเข้าสู่ระยะการแพร่กระจายทำให้รู้สึกหมดหวังในชีวิต เนื่องมาจากต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและต้องเข้ารับการรักษาตลอดชีวิต ซึ่งกว่า 64% ของผู้ป่วยในระยะลุกลามประสบปัญหาด้านสภาวะจิตใจและอารมณ์ โดยเป็นผลมาจากความกังวลใจเกี่ยวกับการดูแลครอบครัวถึง 50% และความรู้สึกโดดเดี่ยวแยกตัวออกจากกลุ่มผู้ป่วยระยะเริ่มต้นถึง 40% ทั้งนี้ด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ในปัจจุบันจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจะช่วยยืดอายุและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมในระยะลุกลามและแพร่กระจายได้ แม้ว่าผู้ป่วยในระยะดังกล่าวจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ ถ้าเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีและเหมาะสมจะทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีพลังและทัศนคติที่ดีในการรักษาอย่างต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี ซึ่งการสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ถือเป็นปัจจัยสำคัญต้องอาศัยการร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ เครือข่ายของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มพลังต้านภัยมะเร็งเต้านมในประเทศไทย
          ซึ่งในโอกาสนี้ทางสมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทยจึงขอเรียนเชิญบุคลากรทางการแพทย์ผู้เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ญาติ ผู้ดูแลผู้ป่วยฯ และประชาชนผู้รักสุขภาพทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เข้าร่วมงานประชุมมะเร็งเต้านมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (4th Annual South East Asia Breast Cancer Symposium 2019: SEABCS) ซึ่งภายในงานจะมีการบรรยายให้ความรู้ภายใต้หัวข้อ "การสร้างความเข็มแข็งและพัฒนาศักยภาพการรักษาขั้นพื้นฐานให้กับผู้ป่วยมะเร็งทีมผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศที่จะมาร่วมเผยแพร่วิทยาการและเทคโนโลยีความก้าวหน้าทางเต้านมและผู้ดูแล" เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ยกระดับการพัฒนาองค์ความรู้ การจัดการด้านการดูแลรักษา และเข้าถึงการบำบัดรักษาที่เหมาะสมยิ่งขึ้นสำหรับผู้ป่วย พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับการแพทย์ในการรักษาโรคมะเร็งเต้านม ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม เพื่อยืดอายุและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม –    1 กันยายน 2562 เวลา 9.00 – 16.00 น. ณ โรงแรมเอเชีย โฮเทล กรุงเทพมหานคร
          สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูรายะเอียดกิจกรรมและลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมงานได้ที่ http://www.seabcs2019.com/
 
 

ข่าวผู้ป่วยโรคมะเร็ง+โรคมะเร็งเต้านมวันนี้

กลุ่มเซ็นทรัล และบริษัทในเครือ ชวนสมทบทุนจัดซื้อ "รถพยาบาลฉุกเฉิน" กับโครงการ "Central Group Women Cancer" 2024 ครั้งที่ 19 ชวนทำดี เพื่อผู้ป่วยมะเร็งในสตรี

จากสถิติของกรมการแพทย์ในปี 2566 พบว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ในประเทศไทยสูงถึง 140,000 คนต่อปี หรือเฉลี่ย 400 คนต่อวัน โดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุน้อยที่มีอัตราการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น โดยหนึ่งในมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งเต้านม ซึ่งมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นปีละประมาณร้อยละ 12 โดยในปี 2566 เพียงปีเดียว มีผู้ป่วยรายใหม่ถึง 17,742 คน หรือวันละ 49 คน นอกจากนี้ มะเร็งเต้านมยังมีอัตราการกลับมาเป็นซ้ำและมีการแพร่กระจายของโรคที่สูงกว่ามะเร็งชนิดอื่น ทำให้โรคนี้เป็นภัยเงียบใกล้ตัว เนื่องจากในระยะ

ผลงานวิจัยด้านการจำแนกจุดกำเนิดมะเร็งเต้า... แพทย์รามาฯ คว้ารางวัลผลงานวิจัย "ด้านการจำแนกจุดกำเนิดมะเร็งเต้านมก้อนที่สอง" ในต่างประเทศ — ผลงานวิจัยด้านการจำแนกจุดกำเนิดมะเร็งเต้านมก้อนที่สอง ในผู้ป่...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม.แนะสตรีตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวกรณีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ราย...

"คอนเท็กซ์ เทอราพิวติกส์" จับมือ "เมนารินี กรุ๊ป" ทดลองทางคลินิกและจัดหายา เพื่อประเมินการใช้ยาอีลาเซสแทรนท์ร่วมกับยาโอเอ็นเอ-เอ็กซ์อาร์ ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ข้อมูลพรีคลินิกสนับสนุนประสิทธิภาพของยาโอเอ็นเอ-เอ็กซ์อาร์ เมื่อใช้ร่วมกับยาสลายตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน ในแบบจำลองโรคต่อมไร้ท่อ คอนเท็กซ์ ...

นางสาวอนงค์ลักษณ์ แพทยานันท์ กรรมการผู้จั... CMC ร่วมบริจาคเต้านมเทียมเพื่อใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม — นางสาวอนงค์ลักษณ์ แพทยานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจ้าพระยามหานคร จำกัด (มหาชน) CMC แบ่ง...