กทม.แนะสตรีตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวกรณีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานข้อมูลในปี ผู้ป่วยโรคมะเร็ง565 พบหญิงไทยเป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุดว่า จากรายงานสถิติผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่มารับบริการที่โรงพยาบาลสังกัด กทม.ในปีงบประมาณ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง565 มีจำนวน 3,533 ราย สนพ.ได้ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมผ่านคลินิกโรคมะเร็งและโครงการ "กทม.ดูแลห่วงใยมะเร็งครบวงจร" ในผู้รับบริการที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม เช่น มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก การใช้ฮอร์โมนเพศ หรือยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน มีบุตรคนแรกหลังอายุ 3เลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ปี หรือไม่เคยมีบุตร การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ เป็นต้น รวมถึงผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป พร้อมแนะนำให้มาตรวจคัดกรองทุกๆ กระทรวงสาธารณสุข - ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ปี ขณะเดียวกัน สนพ.ได้พัฒนารูปแบบการให้บริการประชาชน เพื่อให้เข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก หากมีความเสี่ยงผู้คัดกรองสามารถเข้าสู่ระบบการรักษาอย่างรวดเร็ว (Fast Track) และเข้ารับการรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์และสิทธิการรักษา "รู้เร็ว รักษาไว ปลอดภัย และมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน" ประเมินความเสี่ยงนัดหมายผ่านศูนย์ Bangkok Fast & Clear Center (BFC) ของโรงพยาบาลสังกัด กทม. หรือแอปพลิเคชัน "หมอ กทม."

กทม.แนะสตรีตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน

นอกจากนั้น สนพ.ได้ประชาสัมพันธ์การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปให้สามารถคัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเอง โดยตรวจหลังประจำเดือนมา 7 - 10 วัน นับจากวันแรกของการมีประจำเดือน กรณีที่วัยหมดประจำเดือนสามารถตรวจช่วงใดก็ได้ หรือกรณีที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกแล้วให้เลือกตรวจช่วงที่เต้านมไม่คัดตึง หากพบสิ่งผิดปกติควรมาพบแพทย์ พร้อมแนะแนวเรื่องโรคมะเร็งเต้านมที่พบได้ในคนอายุน้อยตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป โดยช่วงอายุที่พบได้สูงสุดในหญิงอายุ 50 - 55 ปี แต่ในระยะหลังพบว่า ผู้มีอายุน้อยก็สามารถป่วยเป็นมะเร็งเต้านมได้และความรุนแรงของโรคยังมากกว่าผู้ป่วยที่อายุมาก ซึ่งอาจเกิดจากรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปตามความเจริญของสังคมเมืองและอุตสาหกรรม ทำให้มีโอกาสสัมผัสสารก่อมะเร็ง หรือปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้มากขึ้น ส่วนสาเหตุ ที่แท้จริงเชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน ทั้งปัจจัยตัวผู้ป่วย ได้แก่ เพศ อายุที่มากขึ้น พันธุกรรม กระบวนการกำจัดเซลล์ในร่างกายทำงานผิดปกติ ไม่สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้ ปัจจัยทางพฤติกรรม สารเคมี เช่น ฮอร์โมนเพศหญิง และสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดมะเร็งเต้านม โดยมีอาการสัญญาณเตือน ดังนี้ ผิวหนังบริเวณเต้านมมีลักษณะหนาคล้ายผิวส้ม คลำพบก้อนที่เต้านม หรือรักแร้ หัวนมผิดรูป/หัวนมบอดบุ๋ม เต้านมมีผื่นแดงร้อน มีอาการปวดบริเวณเต้านม มีการดึงรั้งของผิวหนังบริเวณเต้านม มีน้ำ หรือเลือดออกจากเต้านม หรือบางรายอาจไม่มีอาการ

สำหรับแนวทางป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็งเต้านม ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ซึ่งถือเป็นสิทธิของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับบริการตรวจคัดกรองโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หรือการตรวจคัดกรองเฉพาะราย กรณีผู้ไปรับการตรวจคัดกรองที่ไม่มีอาการ หรืออาการแสดงของมะเร็งเต้านม สามารถเลือกวิธีการตรวจคัดกรองโดยต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการคัดกรองเอง ส่วนในรายที่มีอาการแสดง เช่น พบก้อนที่เต้านม ถือเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัย สามารถเบิกได้ตามสิทธิ โดยทางเลือกการคัดกรองมะเร็งเต้านมในประเทศไทยที่เป็นไปได้ในปัจจุบันคือ การตรวจคัดกรองเป็นลำดับขั้น เริ่มจากการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (BSE) ทุกเดือน หากพบความผิดปกติให้ไปรับการตรวจยืนยันที่สถานบริการสาธารณสุข เมื่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจยืนยันแล้วพบผิดปกติให้ส่งต่อ เพื่อทำแมมโมแกรม หรืออัลตร้าซาวด์ต่อไป


ข่าวเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง+กระทรวงสาธารณสุขวันนี้

กทม. ยกระดับเฝ้าระวังไข้หวัดนก-เร่งตรวจตลาดค้าสัตว์ปีกมีชีวิต

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า สนพ. ได้ประสานความร่วมมือกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และกรมปศุสัตว์ เพื่อติดตามสถานการณ์และข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ ขณะเดียวกันได้ร่วมกับสำนักงานเขต 50 เขต เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่กรุงเทพฯ สำหรับแนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด สนพ. ได้แจ้งให้โรงพยาบาลในสังกัดดำ

กทม. เร่งดูแลรักษาคนไข้เด็กหลังได้รับยาเกินขนาด พร้อมทบทวนมาตรฐานการดูแลคนไข้

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวกรณีมีข้อร้องเรียนแพทย์โรงพยาบาลสังกัด กทม. ฉีดยาเกินขนาด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 68...

กทม. บูรณาการทุกภาคส่วนร่วมดูแลความปลอดภัยคนกรุงฯ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 68

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลในสังกัด กทม. เพื่อดูแลความปลอดภัยประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2568 ว่า สนพ. เล็งเห็นผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดย...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. เตรียมพร้อมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินรองรับภาวะอากาศร้อน-แนะประชาชนเลี่ยงกิจกรรมกลางแดด — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม....

สถานพยาบาล กทม. พร้อมรองรับเหตุแผ่นดินไหว-สำรวจประเมินความเสียหายอาคาร รพ.

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงความพร้อม ของสถานพยาบาลสังกัด กทม. เพื่อรองรับการดูแลรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว รวมทั้งการจัดเตรียมแผนฉุก...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. รุกเฝ้าระวังโรคติดต่อในช่วงฤดูร้อน-เตรียมพร้อมศูนย์ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงม...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. เข้มเฝ้าระวังเตรียมพร้อมรับมือไข้หวัดใหญ่-ไข้เลือดออก-ฝีดาษวานร-ไวรัสตับอักเสบ — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่า...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. เข้มงวดมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาด "โรคไข้อีดำอีแดง" — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมคว...

กทม. ขอประชาชนช่วยสอดส่องดูแลเครื่อง AED - แนะค้นหาจุดติดตั้งผ่านเว็บ Bangkok Health Map

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวกรณีมีข้อสังเกตเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) บริเวณสะพานเขียวและสุขุมวิท นานาพลาซ่าสูญหายว่า จากการตรวจสอบพบว่า เครื่อง AED ทั้ง 2 จุด...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. รุกมาตรการป้องกัน-แก้ปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในกลุ่มเยาวชน — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.)...