นักศึกษาสวนสุนันทา คว้ารางวัลนำเสนอบทความวิจัยในเวทีระดับชาติ

24 Apr 2019
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยเกริก และสมาคมโรงแรมไทย ภาคใต้ จัดโครงการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 แบ่งเป็นด้านมนุษยศาสตร์ และด้านสังคมศาสตร์ ซึ่งมีนักศึกษาส่งผลงานบทความวิจัยเข้าร่วมประกวดเป็นจำนวนมาก และผลปรากฏว่า ด้านมนุษยศาสตร์ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
นักศึกษาสวนสุนันทา คว้ารางวัลนำเสนอบทความวิจัยในเวทีระดับชาติ

***** รางวัลบทความดีเยี่ยม ได้แก่ นางสาวพชรกมล พรหมประเสริฐ หัวข้อ "การวิเคราะห์ชนิดของคำในข้อสอบโทอิค"

***** รางวัลบทความดีเด่น ได้แก่

1. นางสาวกัลยาณี ถนัดค้า หัวข้อ "การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์กับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านคำศัพท์"

2. นางสาวรุ่งรวิน เอี่ยมจิตต์ หัวข้อ "การวิเคราะห์กริยาวลีในข้อสอบโทอิค (Phrasal Verb analysis in the TOEIC test)" และ 3. นางสาวภัทรวดี สอนเวียง หัวข้อ "คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพนักงานในอาชีพทางธุรกิจตามความต้องการของสถานประกอบการ"

ด้านสังคมศาสตร์

***** รางวัลบทความดีเยี่ยม ได้แก่ นายปัทมานนท์ พรมคำน้อย สาขาบริหารงานตำรวจ หัวข้อ "ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของสถานีตำรวจนครบาลสามเสน กรุงเทพมหานคร"

***** รางวัลบทความดีเด่น ได้แก่

1. นายเสาวพล จิระวิสุทธิ สาขาบริหารงานตำรวจ หัวข้อ "การพัฒนาตำรวจสายตรวจ : กรณีศึกษาสถานีตำรวจภูธรกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร"

2. นางสาวชนัญชิดา วัชราภรณ์วิวัฒน์ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ หัวข้อ "ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในการเลือกใช้บริการการจองตั๋วเครื่องบินผ่านแอพพลิเคชั่นและการจองตั๋วเครื่องบินผ่านเว็บไซต์ กรณีศึกษาสายการบินไทย"

***** น.ส.รุ่งรวิน กล่าวว่า "สำหรับแนวคิดการทำหัวข้อ การวิเคราะห์กริยาวลีในข้อสอบโทอิค (Phrasal Verb analysis in the TOEIC test) ครั้งนี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการใช้คำกริยาวลีพบว่าคำกริยาวลีจำเป็นต่อการศึกษามากไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการ พูดหรือการเขียน หรือแม้กระทั่งใช้ในการสอบโทอิค หากไม่ทราบคำกริยาวลีก็ไม่สามารถเขียน สื่อสารหรือทำ ข้อสอบโทอิคได้ถูกต้องและอาจทำให้เข้าใจบริบทของประโยคนั้นผิดไป ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการแปลความหมายผิด ซึ่งมาจากการรับรู้ที่ผิดพลาดของผู้แปลและการเข้าใจผิดความหมายของคำกริยาวลี"

***** "งานวิจัยนี้ นำเสนอการวิเคราะห์กริยาวลีในข้อสอบโทอิค มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กริยาวลีจากตัวอย่างข้อสอบโทอิคในส่วน ของการอ่านและใช้สำหรับการศึกษาทั่วไปและสำหรับผู้ที่เตรียมตัวสอบโทอิค โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ภาษา TagAnt และ AntConc ซึ่งทำให้สามารถวิเคราะห์หาคำกริยาวลีจากข้อสอบโทอิค จากตัวอย่างข้อสอบโทอิค จำนวน 30 ชุด เพื่อหาความถี่และจัดอันดับของคำกริยาวลีในข้อ สอบว่ากริยาวลีคำใดถูกพบในข้อสอบโทอิคมากที่สุด ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า ความถี่สูงสุดคือคำกริยาวลีคำว่า ask for อยู่ในคำกริยาวลีประเภท Inseparable verbs ซึ่งการวิเคราะห์เพื่อจัดอันดับและหาความถี่ชนิดของคำที่พบในข้อสอบโทอิคสามารถช่วยให้ผู้สอบมุ่งเน้น ในการเตรียมตัวสอบโทอิคและศึกษาต่อไป" น.ส.รุ่งรวิน กล่าวในที่สุด

นับเป็นการส่งเสริมศักยภาพที่มุ่งเน้นคุณภาพ และเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีให้เป็นที่ยอมรับในสาขาที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่จะพัฒนาสู่งานวิจัยระดับนานาชาติในอนาคต รวมถึงพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้มีองค์ความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง พร้อมนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานในอนาคตต่อไปอีกด้วย

นักศึกษาสวนสุนันทา คว้ารางวัลนำเสนอบทความวิจัยในเวทีระดับชาติ นักศึกษาสวนสุนันทา คว้ารางวัลนำเสนอบทความวิจัยในเวทีระดับชาติ