ฟิทช์คงอันดับเครดิตของธนาคารกสิกรไทยที่ 'BBB+’ และบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยที่ 'AA(tha)’

          ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign-Currency IDR) ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBank ที่ 'BBB+' และอันดับเครดิตในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ที่ 'AA+(tha)' โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ 
          พร้อมกันนี้ฟิทช์ยังได้ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศของ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KS) ที่ 'AA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

          รายละเอียดอันดับเครดิตทั้งหมดได้แสดงไว้ในส่วนท้าย
          ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
          อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ KBank พิจารณาจากอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร (Viability Rating หรือ VR) นอกจากนี้การพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างโครงสร้างเครดิตของธนาคารและธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยรายอื่นยังเป็นปัจจัยในการพิจารณาอันดับเครดิตภายในประเทศของ KBank ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิมีสถานะเป็นภาระผูกพันที่ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีหลักประกันของธนาคาร 
          ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
          อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ KBank พิจารณาถึงเครือข่ายธุรกิจในประเทศไทยที่แข็งแกร่งในฐานะหนึ่งในธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศและเป็นผู้นำในธุรกิจสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อันดับเครดิตของ KBank ยังสะท้อนถึงอัตรากำไรที่อ่อนตัวลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งในระยะปานกลาง อัตรากำไรของธนาคารอาจจะยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ากลุ่มธนาคารในต่างประเทศที่มีอันดับเครดิตคล้ายกัน โดยอัตรากำไรของ KBank ในปี 2562 คาดว่าจะยังคงถูกกดดันต่อเนื่องจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่น่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงและจากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่อ่อนตัวลง เช่น รายได้จากธุรกิจประกันภัย
          ฟิทช์คาดว่าคุณภาพสินทรัพย์ของ KBank จะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างทรงตัวต่อไปได้ในช่วง 12 เดือนข้างหน้าโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มของสภาวะเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ความสามารถในการรองรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของ KBank สะท้อนจากระดับของสำรองหนี้สูญ ต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(loan loss reserve) ที่สูงขึ้นเป็น 160.6% ณ สิ้นปี 2561 และอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามการคำนวณของฟิทช์ (Fitch core capital) ที่ 16.4% ซึ่งน่าจะช่วยให้ธนาคารสามารถรองรับความเสี่ยงที่คุณภาพสินเชื่ออาจปรับตัวอ่อนลงได้ KBank มีฐานเงินฝากบัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์ (CASA) ในสัดส่วนสูงที่ 78% ของฐานเงินฝาก ณ สิ้นปี 2561 ซึ่งสนับสนุนให้ธนาคารมีต้นทุนการระดมเงินทุนที่ต่ำกว่าธนาคารอื่นรวมถึงมีความสามารถในการระดมเงินทุนที่มีเสถียรภาพ 
          ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสนับสนุน (Support Rating) และ อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ 
          อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ KBank สะท้อนถึงการที่ธนาคารมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทย โดยส่วนแบ่งทางการตลาดของ KBank ในด้านเงินฝากอยู่ที่ประมาณ 15% ของระบบธนาคารพาณิชย์ 

          ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
          อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิสกุลเงินบาทที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 ของ KBank ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวอยู่ 1 อันดับ ซึ่งสะท้อนถึงการที่หุ้นกู้ดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติในการรองรับผลขาดทุนในลักษณะที่เป็นการบังคับตัดเป็นหนี้สูญทั้งจำนวน (mandatory full write-down) และความเสี่ยงของการขาดทุนจากการชำระคืนเงินกู้ (loss severity risk) ที่มากกว่าเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ที่ไม่ด้อยสิทธิเนื่องจากหุ้นกู้ดังกล่าวมีสถานะด้อยสิทธิ อันดับเครดิตของหุ้นกู้ดังกล่าวไม่ได้ถูกปรับลดอันดับเพิ่มเติมเพื่อสะท้อนถึงความเสี่ยงที่ผู้ถือหุ้นกู้จะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดการณ์ (non-performance risk) เนื่องจากหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติรองรับผลขาดทุนระหว่างการดำเนินกิจการ (going-concern loss absorption) 

          ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – บริษัทย่อยและบริษัทร่วม
          อันดับเครดิตภายในประเทศของ KS สะท้อนถึงความเชื่อของฟิทช์ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่บริษัทจะได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษนอกเหนือจากการดำเนินงานตามปรกติจากธนาคารแม่ ซึ่งคือ KBank หากจำเป็น ฟิทช์มองว่า KS เป็นบริษัทลูกที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ต่อ KBank เนื่องบริษัทจากมีบทบาทที่สำคัญในกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจรูปแบบธนาคารครบวงจร (universal banking strategy) ของธนาคารแม่ อีกทั้ง KS เป็นบริษัทลูกที่ KBank ถือหุ้น 99.91% และยังมีการใช้เครื่องหมายทางการค้าร่วมกันอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมียังมีการผสานการดำเนินงานและการบริหารงานกับธนาคารแม่อย่างใกล้ชิดมาก
          ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ KBank จะได้รับผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงของระดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของผลการประเมินโครงสร้างทางเครดิตของ KBank เมื่อเทียบกับอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารอื่นๆ ในประเทศไทยอาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตภายในประเทศของ KBank ได้ 
          ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
          โอกาสที่อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ KBank จะได้รับการปรับเพิ่มอันดับไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น เนื่องจากอันดับเครดิตของธนาคารอยู่ในระดับเดียวกับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทย (BBB+/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) และธนาคารยังมีสัดส่วนเงินลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลในระดับสูง ในขณะที่การปรับลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยน่าจะส่งผลให้อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ KBank ถูกปรับลดอันดับเช่นกัน 
          การปรับตัวอ่อนลงของคุณภาพสินทรัพย์อย่างต่อเนื่องโดยที่ธนาคารไม่มีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงที่เพียงพอในด้านระดับของสำรองหนี้สูญและฐานะเงินกองทุน หรือหากความสามารถในการทำกำไรปรับตัวอ่อนตัวลงกว่าที่ฟิทช์คาดการณ์อย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงการที่ธนาคารไม่สามารถรักษาอัตรากำไรที่เทียบกับระดับความเสี่ยง (risk-adjusted profitability) ของธนาคารไว้ในระดับเดียวกันกับธนาคารอื่นภายในประเทศที่มีระดับอันดับเครดิตเดียวกัน ก็อาจส่งผลให้ธนาคารถูกปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินได้ 
          ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ
          ฟิทช์อาจต้องทบทวนการประเมินอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ KBank ใหม่ หากมีการเปลี่ยนแปลงในความสามารถของรัฐบาลในการให้การสนับสนุนแก่ธนาคารพาณิชย์ เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้จากการที่อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยถูกปรับลดอันดับลง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงในมุมมองของฟิทช์ต่อแนวโน้มที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทย อาจส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงอันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ KBank อย่างไรก็ตามฟิทช์มองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลาง
          ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
          อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ KBank จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอันดับเครดิตอ้างอิงของตราสารนั้น ซึ่งคืออันดับเครดิตภายในประเทศ

          ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – บริษัทร่วมและบริษัทย่อย
          อันดับเครดิตภายในประเทศของ KS จะได้รับผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารแม่ อีกทั้งยังอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงมุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับโอกาสในการที่ KBank จะให้การสนับสนุนกับบริษัทลูก เช่น หากมีการลดการถือหุ้นในบริษัทลูกอย่างมากหรือมีการลดของระดับความใกล้ชิดหรือความเชื่อมโยงในด้านการตลาดและการบริหารงาน อย่างไรก็ตามฟิทช์มองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลาง

          รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดมีดังนี้
          KBank:
          - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว คงอันดับที่ 'BBB+'; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ 'F2'
          - อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน คงอันดับที่ 'bbb+'
          - อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ '2'
          - อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำคงอันดับที่ 'BBB-'
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ 'AA+(tha)'; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ 'F1+(tha)'
          - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ 'BBB+'
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ คงอันดับที่ 'AA(tha)'

          KS:
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ 'AA(tha)'; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ 'F1+(tha)'
 
 

ข่าวบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย+หลักทรัพย์กสิกรไทยวันนี้

KS เสิร์ฟ DW11 ลงตลาดกับ 13 รุ่นใหม่ เพิ่มโอกาสทำกำไรในตลาดทั้ง “ขาขึ้น” และ “ขาลง”

บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants : DW) ในหุ้นสามัญใหม่ 13 รุ่น เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในหุ้นสามัญโดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก โดย DW ที่ออกในชุดนี้ประกอบด้วยใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ประเภทสิทธิในการซื้อ (Call Warrant) จำนวน 11 รุ่น และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ประเภทสิทธิในการขาย (Put Warrant) 2 รุ่น เริ่มซื้อขายได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ได้แก่ CALL BBL11C2005A CBG11C2002A IRPC11C2005A IVL11C2005A OSP11C2005A

บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เส... KS ปล่อย DW11 ลงตลาดกับ 9 รุ่นใหม่ พร้อมแนะนักลงทุนอยู่กับตลาดฯ แต่ปรับลดความเสี่ยงพอร์ตการลงทุน — บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เสนอขายใบสำคัญแส...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของธนาคารกสิกรไทยที่ 'BBB+’ และบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยที่ 'AA(tha)’

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign-Currency IDR) ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBank ที่ 'BBB+' และอันดับเครดิตในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating)...

นายภาสกร ลินมณีโชติ รองกรรมการผู้จัดการ บ... ภาพข่าว: KS กวาด 8 รางวัล จากเวทีประกาศรางวัลนักวิเคราะห์ยอดเยี่ยม — นายภาสกร ลินมณีโชติ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย (กลาง) ร่วมแสดงความย...

นายธิติ ตันติกุลานันท์ ประธานกรรมการบริหา... ภาพข่าว: หลักทรัพย์กสิกรไทย สุดปลื้ม คว้ารางวัล International Finance Awards 2018 สาขา Best Research House — นายธิติ ตันติกุลานันท์ ประธานกรรมการบริหาร บร...

บล.กสิกรไทย ขอเชิญร่วมพูดคุยกับนักวิเคราะห์ หัวข้อ ”หุ้นกลุ่มพลังงานจะกลับมากระตุ้นตลาดปี 62 หรือไม่ เจาะลึกประเด็นเศรษฐกิจที่จะทำให้ทิศทางตลาดไทยเปลี่ยน"

บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ขอเรียนเชิญท่านร่วมพูดคุยกับนักวิเคราะห์ หัวข้อ "หุ้นกลุ่มพลังงานจะกลับมากระตุ้นตลาดปี 62หรือไม่ เจาะลึกประ...

บล.กสิกรไทย ขอเชิญร่วมพูดคุยกับนักวิเคราะห์ หัวข้อ ”วิเคราะห์ตลาดหลังยกเลิก LTF พร้อมวางกลยุทธ์รับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี"

บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ขอเรียนเชิญท่านร่วมพูดคุยกับนักวิเคราะห์ หัวข้อ วิเคราะห์ตลาดหลังยกเลิก LTF พร้อมวางกลยุทธ์รับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี" โดย...

บล.กสิกรไทย จัดการพูดคุยกับนักวิเคราะห์ หัวข้อ ปัจจัยบวกเริ่มมา เตรียมรับเม็ดเงินต่างชาติ เปิดโผคาดการณ์โฉมหน้ารัฐบาลใหม่”

บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ขอเรียนเชิญท่านร่วมพูดคุยกับนักวิเคราะห์ หัวข้อ ปัจจัยบวกเริ่มมา เตรียมรับเม็ดเงินต่างชาติ เปิดโผคาดการณ์โฉมหน้ารัฐบาลใหม่ โดยคุณประกิต...

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และเครือเดอะเนช... สัมมนาสัญจร “โค้งสุดท้ายหุ้นไทย ฟุบ หรือ ไปต่อ” เยือนถิ่นแดนอีสาน ณ อุดรธานี — หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และเครือเดอะเนชั่น ชวนนักลงทุนชาวอุดรธานี ร่วมงาน...