ธุรกิจโรงแรม รายได้รวม 2,755.6 ล้านบาท ลดลง 6.6% เทียบปีที่ผ่านมา โดยผลการดำเนินงานโรงแรมในต่างจังหวัด (เช่น จังหวัดกระบี่ เกาะสมุย จังหวัดภูเก็ต และเมืองพัทยา) ได้รับผลกระทบจากการลดลงของลูกค้าชาวจีน และชาวยุโรปซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่สำคัญในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ในทิศทางเดียวกันกับภาพรวมอตุสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย อีกทั้งยังมีการปิดห้องจำนวน 36 ห้องของโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์บีชรีสอร์ท สมุย ในขณะที่ผลการดำเนินงานโรงแรมในกรุงเทพฯ ได้รับผลจากการลดลงของงานจัดประชุมสัมมนาในช่วงการเลือกตั้ง ทั้งนี้ บริษัทฯมี EBITDA จำนวน 1,175.5 ล้านบาท ลดลง 11.2% เทียบปีก่อน โดยอัตราการทำกำไร (% EBITDA Margin) ลดลง 2.2% อยู่ที่ 42.7% เนื่องจากการลดลงของรายได้ห้องพักเฉลี่ย (RevPar) และรายได้รวม
ธุรกิจอาหาร รายได้รวม 2,887.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.4% เทียบปีก่อน เป็นผลจากการขยายสาขาจำนวนสุทธิ 104 สาขา โดยอัตราการเติบโตของยอดขายรวมทุกสาขา (TSS) เพิ่มขึ้น 3.4% ขณะอัตราการเติบโตจากสาขาเดิม (SSS) ลดลง 3.8% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมาจากการลดลงของ SSS ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด อย่างไรก็ดี เคเอฟซี เดอะ เทอเรส และคัตซึยะ ยังคงมี SSS อยู่ในเกณฑ์บวก ขณะที่อัตราการทำกำไร (% EBITDA Margin) ลดลง 1.0% เป็น 11.2% เนื่องจากการออกชุดโปรโมชั่นที่มีต้นทุนสูง รวมถึงการเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบและค่าขนส่ง
อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ได้รับรู้รายได้เงินชดเชยความเสียหายจากประกันสำหรับเหตุการณ์เพลิงไหม้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ บิ๊กซี ราชดำริ และเซ็นเตอร์ วัน เมื่อปี 2553 รวม 80.6 ล้านบาท (สุทธิจากภาษี) ส่งผลให้บริษัทฯมีกำไรสุทธิ 825.9 ล้านบาท ลดลง 6.5% เทียบปีก่อน
แม้ว่าผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2562 จะมีการชะลอตัว อย่างไรก็ดี แนวโน้มการฟื้นตัวคาดว่าจะเกิดขึ้นในครึ่งปีหลังจากฐานต่ำที่ค่อนข้างต่ำในปีก่อน กอปรกับแรงกระตุ้นจากมาตรการขยายระยะเวลายกเลิกค่าธรรมเนียมวีซ่า ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa On Arrival) จนถึงสิ้นเดือนตุลาคมปีนี้ และมาตรการเงินลดหย่อนภาษีจากการท่องเที่ยวภายในประเทศ บริษัทฯจึงได้ปรับประมาณการปี 2562 ลง โดย รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) คงที่เทียบกับปี 2561 อย่างไรก็ดี รายได้รวมธุรกิจโรงแรมอาจลดลงเทียบปีที่ผ่านมา เนื่องจากการปิดปรับปรุงโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์บีชรีสอร์ท สมุย ในช่วงครึ่งปีหลัง และแนวโน้มการลดลงของรายได้การจัดประชุมสัมมนาเทียบปีก่อน
ขณะที่ธุรกิจอาหาร เนื่องจากผลการดำเนินงานที่ชะลอตัวในไตรมาส 1/2562 และยังคงขาดปัจจัยภายนอกสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่ชัดเจน กอปรกับภาวะการแข่งขันสูง จึงปรับประมาณการอัตราการเติบโตจากสาขาเดิม (Same-Store-Sales: SSS) คงที่เทียบปีก่อน อัตราการเติบโตของยอดขายรวมทุกสาขา (Total-System-Sales : TSS) ประมาณ 5% - 6% เทียบปีที่ผ่านมา และการเติบโตของจำนวนสาขา 8% - 9% เทียบปีก่อน
ข้อมูลบริษัท ณ ปัจจุบัน
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562 CENTEL มีโรงแรมภายใต้การบริหารทั้งสิ้น จำนวน 68 โรงแรม (13,477 ห้อง) โดยเป็นโรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้วทั้งสิ้น 39 โรงแรม (7,563 ห้อง) และเป็นโรงแรมที่กำลังพัฒนา 29 โรงแรม (5,914 ห้อง) ในส่วน 39 โรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้วนั้น 17 โรงแรม (4,184 ห้อง) เป็นโรงแรมที่บริษัทฯเป็นเจ้าของ และ 22 โรงแรม (3,379 ห้อง) เป็นโรงแรมที่อยู่ภายใต้สัญญาบริหาร สำหรับธุรกิจอาหาร CENTEL มีจำนวนร้านอาหารที่เปิดดำเนินการรวม 1,003 สาขา ดังนี้ 1.เคเอฟซี (269) 2.มิสเตอร์โดนัท (365) 3.โอโตยะ (46) 4.อานตี้แอนส์ (172) 5.เปปเปอร์ลันช์ (42) 6.ชาบูตง ราเมน (19) 7.โคลด์สโตน ครีมเมอรี่ (18) 8.โยชิโนยะ (22) 9.เดอะ เทอเรส (9) 10.เทนยะ (10) 11.คัตสึยะ (28) 12. อร่อยดี (3)
ติดต่อ: ดร. รณชิต มหัทธนะพฤทธิ์
โทร (66) 02 769 1234 ต่อ 6131 อีเมล์: [email protected] or [email protected] เว็บไซต์: https://investor.centarahotelsresorts.com/
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit