1.ประเด็นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งได้กำหนดไว้แล้ว ซึ่งจะต้องมีการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด โดยเป็นเรื่องดีที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อตรวจสอบและติดตามยุทธศาสตร์ของชาติ ซึ่งเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งของสมาชิกวุฒิสภาที่จะติดตามการทำงานของผู้บริหารกระทรวงและข้าราชการประจำซึ่งจะต้องรายงานและชี้แจงถึงความคืบหน้าในการทำงาน ทั้งนี้ปัญหาไฟป่าและหมอกควันเป็นหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ปัญหาฝุ่นขนาดเล็กมาก (Particulate Matter หรือ PM2.5) ยังไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน คาดว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบจะได้มีการทบทวนหรือปรับปรุงต่อไป
2. ประเด็นปัญหาฝุ่น PM2.5 ของประเทศไทย โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงปลายปีจนถึงต้นปี จะต้องสร้างระบบริหารจัดการที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดการจัดการแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพราะคาดว่าในเดือนธันวาคมปีนี้ถึงต้นปีหน้า ปัญหาฝุ่น PM2.5 ก็จะกลับมาอีกสำหรับแนวทางการแก้ปัญหานั้น จะต้องเน้นแก้ปัญหาที่ต้นทาง คือ ลดการปล่อยมลพิษ ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 ซึ่งคือรถบรรทุกที่ใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ถึงร้อยละ 34 โดยแก้ปัญหามลพิษ ให้ใช้มาตรฐาน EURO 4 จากเดิม EURO 3 รวมทั้งพัฒนาให้ใช้มาตรฐาน EURO 6 ซึ่งจะมีระบบกรองฝุ่น และระบบกำจัดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) รวมถึงการจัดการจราจรให้คล่องตัว ความเร็วสูงขึ้น ส่งเสริมให้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลน้อยลง รวมทั้งควบคุมการเผา โดยจัดระเบียบการเผาให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด สำหรับกรมควบคุมมลพิษนั้นพบว่ามีการตรวจวัดเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น และชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งแต่ละคนจะมีเครื่องมือตรวจวัด ต้องเข้าใจความสามารถถึงประสิทธิภาพการใช้งาน เทียบข้อมูลระหว่างกัน มีการเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนรับทราบมากขึ้น การดูแลยานพาหนะ คุณภาพน้ำมัน ซึ่งมีผลต่อการเกิดฝุ่น PM 2.5
3. ประเด็นไฟป่า กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น จังหวัด เพื่อควบคุมการเผา กระทรวงเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกกรม เพราะว่าที่ผ่านมามีการเผาอ้อย ซังข้าว ซังข้าวโพด ที่ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องให้ความรู้ประชาชนให้หยุดการเผาให้ได้ และร่วมกันกำหนดระเบียบการจัดการการเผาเพื่อไม่ให้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีการเผาก่อนและหลังการประกาศห้ามเผา ทำให้ปีนี้เกิดปัญหาไฟป่ารุนแรง ทั้งนี้ควรมีระบบชังเผาในช่วงเวลาที่เหมาะสม และระบบโควต้าในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยคาดการณ์ช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น เผาแล้วฝนตก ก็จะช่วยลดปัญหาได้ เชื่อว่าไม่สามารถห้ามการเผาได้ แต่จะต้องจัดช่วงเวลาให้เหมาะสม
4. ประเด็นการรับรู้และการเตรียมความพร้อมของประชาชน ปัจจุบันมีข่าวสารมากมาย แต่เราไม่มีศูนย์ข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์และสามารถรับมือกับข้อมูลที่หลั่งไหลทาง Social Media อีกทั้ง คณะสิ่งแวดล้อม หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้จัดเสวนาประชาคม เพื่อรับฟังและหาแนวทางแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 และทางมหาวิทยาลัยยินดีที่จะให้การสนับสนุนในการลดปัญหาฝุ่น PM2.5 พร้อมแนะนำให้นำหลักเศรษฐศาสตร์มาคิดคำนวณมูลค่าความเสียหายไมโครกรัมเป็นตัวเงิน อีกทั้งผ่านมามีหลายหน่วยงานช่วยคิดและจัดเสวนาหลายแห่ง มีข้อเสนอแนะปฏิบัติหลายประการที่ส่วนงานต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้ทันทีก็ให้รีบเร่งดำเนินการ ส่วนข้อปฏิบัติใดที่จะต้องร่วมทำหลายหน่วยงานให้หาผู้รับผิดชอบและลงมือปฏิบัติในลักษณะประชาและรัฐ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความร่วมมือกันในป้องกันและแก้ปัญหาไฟป่าและฝุ่น PM2.5 ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
จากการเสวนาครั้งนี้ผมได้รับทราบข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน ทำให้ทราบว่าปัญหาฝุ่นขนาดมาก หรือ PM2.5 นั้นส่วนใหญ่เกิดจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล และการเผาในที่โล่ง (เผาที่สวน ไร่ นา และไฟป่า) โดยที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมน้อยมาก ดังนั้นโรงไฟฟ้าขยะจึงทำให้เกิดฝุ่นขนาดมาก หรือ PM2.5 ในปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับแหล่งอื่นๆ
เขียนเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2562 โดย ดร.เชาวน์ นกอยู่
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit