ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สิ่งแวดล้อมไทย เรื่องของคนไทยทุกคน

          คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ธนาคารโลกและธนาคารออมสิน จัดกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก ภายใต้คอนเซ็ปต์ "เรื่องโอโซน เรื่องของเรา" โดยมีการเสวนาหัวข้อ "ยุทธศาสตร์ชาติ สิ่งแวดล้อมไทย เรื่องของคนไทยทุกคน" พร้อมกิจกรรมกระตุ้นการตระหนักรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม Ozone Policy Hackathon รวมถึงการเปิดตัวบอร์ดเกมด้านสิ่งแวดล้อมครั้งแรกในเอเชีย "The Ozonor" พร้อมนำร่องแจกฟรี กรมโรงงานอุตสาหกรรม5จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนทั่วไทยใช้เป็นสื่อการสอน
          รศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ทุกคนรู้กันดีว่าโอโซนเป็นก๊าซที่อยู่ในบรรยากาศมีบทบาทและประโยชน์กับโลกใบนี้อย่างยิ่งเพราะช่วยทำให้รังสี UV ที่แผ่ลงมากับแสงอาทิตย์ถูกกลั่นกรองและปกป้องไว้ทำให้โลกไม่ร้อนจนเกินไปและระดับของ UV ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์พืชและสัตว์ 
          ด้วยเหตุผลนี้เองโอโซนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนต้องร่วมมือกันช่วยดูแล และระวังไม่ให้โอโซนโดนทำลายลงไปเพราะนั่นหมายถึงการสูญเสียความสมดุลของระบบนิเวศทางธรรมชาติที่เคยมีมา ทั้งนี้จึงเกิดแนวคิดในการจัดทำชุดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นการตระหนักรู้ต่อสิ่งแวดล้อมขึ้น 
          โดยเราได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ธนาคารโลกและธนาคารออมสิน ในการจัดชุดกิจกรรมต่อเนื่องภายใต้ชื่อ เรื่องโอโซน เรื่องของเรา ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างความตระหนักและการกระตุ้นการรับรู้ถึงปัญหาโอโซน พร้อมทั้งระดมความคิดเพื่อสร้างนโยบายที่ใช้ในการจัดการปัญหาชั้นโอโซนถูกทำลาย 
          ทั้งนี้เราเชื่อในแนวคิดการสร้าง Ripple effect คือ แรงกระเพื่อมที่ทำให้สังคมหันมาสนใจและส่งผลสำเร็จที่ดีในวงกว้างและยังทำงานต่อไปได้แม้กิจกรรมนั้นได้จบลงแล้วก็ตาม ซึ่งช่วง วันสิ่งแวดล้อมโลก เดือนที่ผ่านมาได้จัดกิจกรรมไปแล้วทั้งสิ้น 4 ชุดกิจกรรม ได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม.การบรรยายให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านการลดการปลดปล่อยสารทำลายชั้นโอโซนและผลกระทบที่เกิดขึ้น พิสุทธิ์ เพียรมนกุล.กิจกรรม Design Thinking เพื่อสร้างแนวคิดเริ่มต้นในการสร้างความเข้าใจและจัดการปัญหาชั้นบรรยากาศโอโซนถูกทำลาย วันสิ่งแวดล้อมโลก.การแข่งขัน Ozone Policy Hackathon เป็นการระดมความคิดสร้างสรรค์เชิงนโยบายถึงการปกป้องชั้นโอโซนที่ดีให้คงสภาพอยู่ตลอดไปได้อย่างไร โดยใช้เวลาการแข่งขันทั้งหมด พิสุทธิ์ เพียรมนกุล4 ชั่วโมง มีผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น กรมโรงงานอุตสาหกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก ทีมคัดเลือกให้เหลือเพียง 4 ทีมสุดท้าย ซึ่งได้แก่ทีม Ecozone, Herozone, Green Energy และ Ourzone โดยทั้ง 4 ทีมนี้จะมีโอกาสได้นำเสนอนโยบาย bottom up Ozone policy ในกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมไทย และ 4.กิจกรรมเดินวิ่งเพื่อสุขภาพกิจกรรมสร้างความตระหนักและรับรู้ถึงปัญหาโอโซนผ่านการร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสนใจกับคนส่วนใหญ่ในสังคม 
          ส่วนกิจกรรมสุดท้ายที่ได้จัดขึ้นตรงกับวันสิ่งแวดล้อมไทย 4 ธันวาคม เป็นการเสวนาภายใต้หัวข้อ "ยุทธศาสตร์ชาติ สิ่งแวดล้อมไทย เรื่องของคนไทยทุกคน" ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนาที่น่าสนใจได้แก่ นายอภิจิน โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม, ดร.อัษฎาพร ไกรพานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 5 และนางสาวลดาวัลย์ คำภา อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 5 
          โดย ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 5 กล่าวว่า สาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์ชาติ พิสุทธิ์ เพียรมนกุลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี ด้านสิ่งแวดล้อมที่ไทยเร่งดำเนินการคือ การสร้างการเติบโต สมดุลและยั่งยืนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายปี พิสุทธิ์ เพียรมนกุล58จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ไทยจะต้องมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมดีที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ด้วยประเทศไทยต้องเปลี่ยนวิธีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุลที่ยั่งยืน 
          ในขณะที่ นายอภิจิน โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า แนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ พิสุทธิ์ เพียรมนกุลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีนั้น จะดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ "มุ่งสู่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก" ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพทางการแข่งขันในระดับนานาชาติ เพื่อนำรายได้เข้าสู่ประเทศ เพิ่มการสร้างงาน รวมถึงเป็นการพัฒนาสังคมของประเทศไทยให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งปัจจัยหลักที่สำคัญคือการเติบโตดังกล่าวต้องดำเนินควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ ถือเป็นฐานรากหลักที่จะขับเคลื่อนแนวทางดังกล่าวให้บรรลุยังเป้าหมาย
          ทั้งนี้ จากเดิมเราพัฒนาประเทศให้เกิดการเติบโตและก้าวหน้าโดยมองไปที่การต้องการให้คนในชาติหลุดพ้นจากรายได้ปานกลาง เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ลืมใส่ใจและพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเราต้องร่วมด้วยช่วยกันและทำให้ทุกคนในชาติเห็นความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม เราควรมีคุณภาพชีวิตที่ดีพร้อมๆ ไปกับสิ่งแวดล้อมที่ดีเช่นกัน
          อีกทั้ง ภายในงานวันสิ่งแวดล้อมไทยยังได้มีการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "ทิศทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมกับอนาคตสิ่งแวดล้อมไทย" โดย ดร.เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือการสร้างพฤติกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ต้องเปลี่ยนจากการสร้าง Mind Set ที่ต้องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมๆ ไปกับการสร้างเทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการลดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด หรือการสร้างนวัตกรรมที่ช่วยให้นำทรัพยากรเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง 
          นอกจากนี้ ได้มีการเปิดตัวบอร์ดเกม "The Ozonor" ที่เป็นสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใจเรื่องโอโซนและเรื่องสิ่งแวดล้อมได้ โดยจะมอบให้โรงเรียนที่สนใจนำไปเป็นสื่อการสอนนำร่องใน กรมโรงงานอุตสาหกรรม5จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนแรก
          "เรามองว่าเป็นการสร้าง Prototype ในการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมแบบใหม่ที่เรียกว่า Disruptive Environmental Education เพราะที่ผ่านมาเป็นการเรียนหน้าห้องเสียเป็นส่วนใหญ่แต่ชุดกิจกรรมนี้ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยก็ว่าได้ ทั้งเรื่อง Design Thinking Hackathon และยังมีการสร้างบอร์ดเกมเรื่องสิ่งแวดล้อมซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในเอชีย เราเชื่อว่าผลตอบรับในกิจกรรมที่ผ่านมาจากการเข้าร่วมกว่า วันสิ่งแวดล้อมโลก,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คน ใน 4 กิจกรรม จะทำให้โครงการดีๆ แบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องต่อไป" รศ.ดร.พิสุทธิ์ กล่าว
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สิ่งแวดล้อมไทย เรื่องของคนไทยทุกคน
 

ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+กรมโรงงานอุตสาหกรรมวันนี้

จุฬาฯ ผนึก สมช. และกองทัพเรือ ลงนามความร่วมมือ จัดตั้ง "องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย"

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และกองทัพเรือ (ทร.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วย "การจัดตั้งและขับเคลื่อนองค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย" เพื่อวางรากฐานในการเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ทางทะเลระดับประเทศ เมื่อวันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุม 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ โดยมี พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงาน จากนั้นผู้แทนจากทั้งสามหน่วยงาน ได้แก่ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร

บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำก... SNPS ต้อนรับนิสิตจุฬาฯ ถ่ายทอดองค์ความรู้ "นวัตกรรมสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน" — บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SNPS ให้การต้อ...

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไทยเ... นิทรรศการ "รัตนแห่งจุฬาฯ" 28 มีนาคม ถึง 3 เม.ย.นี้ ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ — คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไทยเบฟเวอเรจ และสามย่านมิตรทาวน์ ร...