“ก่อการครู” ชวนผลักดันการเรียนรู้อย่างแท้จริงกลับสู่ห้องเรียน

          การเรียนรู้ตามธรรมชาติที่ก่อให้เกิดทักษะและการพัฒนา คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experience) ซึ่งมีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องและส่งผลกระทบไม่มากก็น้อยแก่ตนเอง แต่กระนั้นหากย้อนมองประสบการณ์การเรียนรู้ในระบบการศึกษาไทย เสียงหนึ่งที่อื้ออึงมาโดยตลอด คือ "เราจะเรียนเรื่องนี้ไปทำไม?" คุณเคยลองนึกเล่น ๆ ไหมว่าคำถามนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร เป็นเพราะ "เนื้อหาการเรียนรู้ไม่เกิดประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตหรือเปล่า?" 
          จากโจทย์ดังกล่าวที่เป็นปัญหาร่วมของการศึกษาไทย "โครงการก่อการครู" โดยโครงการผู้นำแห่งอนาคต คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ (LSEd) ม.ธ. ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนักขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ครู อาจารย์ กระบวนกร ผู้ประกอบการทางสังคมจากหลากสาขาและองค์กร จึงหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเด็นการเรียนรู้หลักในโครงการ โมดูลที่ 3 ปีที่ การเรียนรู้ "เวทีพัฒนาและออกแบบกระบวนการเรียนรู้" ที่พึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ เรื่องนี้9 - 3การเรียนรู้ ตุลาคม ที่ผ่านมา เพื่อชวนเพื่อนครู กระบวนกร และทีมงานกว่า การเรียนรู้โครงการก่อการครูโครงการก่อการครู ชีวิต มาคิดนอกกรอบ ผลักดันการเรียนรู้อย่างแท้จริงกลับสู่ห้องเรียน
          "ดร. สิทธิชัย วิชัยดิษฐ" อาจารย์คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ม.ธ. หนึ่งในกระบวนกรของโครงการฯ ได้อธิบายว่า "การเรียนรู้อย่างแท้จริง (Authentic Learning) มีการใช้ในหลายบริบทและมีการนิยามการใช้เอาไว้หลายแนวทาง ทีมกระบวนกรจึงดึงเอาหัวใจสำคัญมาใช้แบบไม่ซับซ้อนเพื่อให้ครูสะดวกต่อการนำไปประยุกต์ใช้ เป็น 'การจัดการเรียนรู้ให้สัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียน เพื่อให้การเรียนรู้นั้นมีความหมาย' องค์ประกอบสำคัญมี 3 เรื่อง คือ การเรียนรู้) การออกแบบกระบวนการให้เชื่อมโยงกับประสบการณ์จริงของผู้เรียนและทักษะที่ต้องการจะสอน เรื่องนี้) มีโจทย์คำถามที่เป็นปลายเปิด เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากประเด็นที่ตั้งไว้และสามารถนำไปปรับใช้ได้ 3) ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกัน (Collaboration) เพราะเป็นทักษะสำคัญของชีวิต"
โดย ด.ร. สิทธิชัย ได้อธิบายว่าสาเหตุที่โครงการฯ ดึงประเด็นนี้ขึ้นมาเพราะ "เรื่องนี้เป็นช่องโหว่ที่เกิดขึ้นในการศึกษาไทย หลายคนเคยมีประสบการณ์ว่าการเรียนตามหลักสูตรไม่รู้ว่าต้องเรียนไปเพื่ออะไร ผมเชื่อว่าลึก ๆ แล้ว การสอนตามเนื้อหาในหลักสูตรก็ทำให้ครูถามตัวเองว่า แท้จริงแล้วเด็กควรเรียนเรื่องนี้หรือเปล่า เขาจะได้ประโยชน์อะไร ดังนั้นการนำ 'การเรียนรู้อย่างแท้จริง (Authentic Learning)' เข้าสู่ห้องเรียน จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และสามารถตอบโจทย์ตัวชี้วัดคุณภาพการเรียนในหลักสูตรที่เด็กควรได้รับอย่างแน่นอน" 
          ในเวทีก่อการครูครั้งนี้ ทีมกระบวนกรได้ชวนกันทำกิจกรรมนอกกรอบ โดยนำเอาหนึ่งในทักษะและเนื้อหาที่เป็นตัวชี้วัดในหลักสูตรมาชวนครูผู้ก่อการทลายกรอบการเรียนรู้แบบเดิม ๆ เช่นกัน โดยนำตัวชี้วัดเรื่อง 'ทักษะการจัดจำแนก' ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาสิ่งมีชีวิตในวิชาชีววิทยา มาจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านการนำการ์ดผักนานาชนิดที่รู้จักกันทั่วไปบนแผงตลาดมาให้ครูเรียนรู้ผ่านกิจกรรม ว่าจะจัดจำแนกแบบไหนด้วยเหตุผลอะไร ทั้งจากการจินตนาการถึงมุมมองของแม่ค้า และจากประสบการณ์ของตนเอง ก่อนจะให้พลิกหลังการ์ดอ่านข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แล้วจัดใหม่ตามหลักอนุกรมวิธาน (Taxonomy) หลังจากได้สัมผัสประสบการณ์จะพบว่า การจัดจำแนกมีหลักการ คือ การนำเอาเป้าหมายของการจำแนกมาเป็นตัวตั้งในการคัดแยกสิ่งต่าง ๆ เพื่อสะดวกต่อการศึกษาเพิ่มเติมหรือนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งหากเข้าใจหลักการนี้แล้วจะสามารถศึกษาเรื่องอนุกรมวิธานด้วยความเข้าใจมากขึ้น ส่งผลต่อไปถึงความสนุกในการศึกษาต่อยอดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงต่อไป
นอกจากตัวอย่างกิจกรรมข้างต้นแล้ว ทีมกระบวนกรยังได้คิดค้น "แผนผังการออกแบบกิจกรรม (Activity Design Canvas)" เพื่อช่วยในการออกแบบ "การเรียนรู้อย่างแท้จริง (Authentic Learning)" โดยเห็นถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ 6 ส่วน ได้แก่ การเรียนรู้) คำสำคัญในการเรียน เรื่องนี้) การระบุปัญหา 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) ประสบการณ์ผู้เรียน 5) การวัดประเมินผล 6) ผลการเรียนรู้
          แผนผังนี้จะช่วยครูในการออกแบบและทบทวนความเชื่อมโยงของแผนทั้งหมด ว่ามีความสอดคล้องพร้อมแก่การจัดกระบวนการเรียนรู้หรือไม่ ผ่านการทดสอบใช้งานมาแล้วโดยครูกว่า 8โครงการก่อการครู คน ได้รับกระแสตอบรับดีมากในเรื่องการใช้งานง่าย และช่วยอุดช่องโหว่ในการคิดกระบวนการสอนได้เป็นอย่างดี ครูณัฐพงศ์ อนุสนธิ์ หนึ่งในครูผู้ร่วมก่อการ ได้สะท้อนถึงประสบการณ์การเรียนรู้และการออกแบบกระบวนการว่า "การได้เรียนรู้อย่างแท้จริงทำให้เราสังเกตว่า จริง ๆ แล้วการเรียนรู้เกิดจากสิ่งรอบตัว ถ้าเรามองนอกกรอบคิดจากสิ่งแวดล้อม เราจะสามารถนำประสบการณ์ที่มีไปต่อยอดสร้างประสบการณ์และองค์ความรู้ใหม่ การเรียนรู้แบบนี้จะทำให้ครูและนักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน สร้างการเรียนรู้ที่มีความหมายและยั่งยืน" 
          สำหรับผู้ที่สนใจนำเครื่องมือ "แผนผังการออกแบบกิจกรรม (Activity Design Canvas)" ไปใช้ สามารถศึกษาและดาวน์โหลดแผนผังได้แล้วจาก Facebook โครงการผู้นำแห่งอนาคต และก่อการครู
“ก่อการครู” ชวนผลักดันการเรียนรู้อย่างแท้จริงกลับสู่ห้องเรียน
 
“ก่อการครู” ชวนผลักดันการเรียนรู้อย่างแท้จริงกลับสู่ห้องเรียน
 
“ก่อการครู” ชวนผลักดันการเรียนรู้อย่างแท้จริงกลับสู่ห้องเรียน
 
“ก่อการครู” ชวนผลักดันการเรียนรู้อย่างแท้จริงกลับสู่ห้องเรียน
 
 
 
 
 

ข่าวโครงการก่อการครู+การเรียนรู้วันนี้

หนังสือเรียนวัฒนธรรมไทยคว้าอันดับ 1 บน Amazon Kindle

หนังสือ Discover Thai Culture Through Poetry: Cross-Cultural Poems for Creative Learning (ค้นพบวัฒนธรรมไทยผ่านบทกวี: บทกวีข้ามวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์) โดยอาจารย์เดวิด นักการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้รับความนิยมอย่างถล่มทลาย ขึ้นสู่อันดับ 1 บน Amazon Kindle ในหมวด Schools & Teaching และ Asian Literature ทั่วโลก ภายในสามวันหลังเปิดตัว จัดพิมพ์โดย Ysaan Books สำนักพิมพ์อิสระที่มุ่งนำเสนอวรรณกรรมไทยในมุมมองใหม่ หนังสือเล่มนี้สานต่อความสำเร็จจาก Thai Poetry for Creative &

"ออทิสติก" คือภาวะพัฒนาการทางสมองที่ส่งผล... ความเข้าใจเรื่อง "ออทิสติก" ในวัยเด็ก ความแตกต่างที่สังคมไทยต้องตระหนักรู้ร่วมกัน — "ออทิสติก" คือภาวะพัฒนาการทางสมองที่ส่งผลต่อการสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ท...

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริ... ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร" ห่วงผู้สูงวัยไร้แผนบั้นปลาย ชี้สังคมไทยต้องเรียนรู้ "การตายอย่างมีระบบ" — ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความ...

บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDL... "เงินติดล้อ" ผนึกตลาดหลักทรัพย์ฯ แบ่งปันไอเดีย การสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดีในองค์กร — บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR โดย คุณมิ่งขวัญ ประเสริ...

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดเวิร์กช็อป... ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดเวิร์กช็อป "รู้สู้หนี้" แก่พี่เลี้ยงการเงิน — ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดเวิร์กช็อป "รู้สู้หนี้" ต่อยอดความรู้และทักษะด้านการบริหาร...

การเรียนรู้ตามธรรมชาติที่ก่อให้เกิดทักษะแ... “ก่อการครู” ชวนผลักดันการเรียนรู้อย่างแท้จริงกลับสู่ห้องเรียน — การเรียนรู้ตามธรรมชาติที่ก่อให้เกิดทักษะและการพัฒนา คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experien...

โครงการก่อการครู โดยคณะวิทยาการเรียนรู้แล... ก่อการครู รับสมัครครูผู้ก่อการ ร่วมเป็นแกนนำพัฒนาการศึกษาไทย — โครงการก่อการครู โดยคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ เครือข่...