วิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม จับมือ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ MOU ร่วมพัฒนานักศึกษา บุคลากรสู่ความเป็นเลิศด้านงานวิจัยและการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมด้านอาคารอัจฉริยะ

          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผนึกกำลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย MOU ร่วมมือทางวิชาการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาการ พัฒนานักศึกษาและบุคลากร งานวิจัย และการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมด้านอาคารอัจฉริยะ
          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม(ที่เด่นชัย วรเดชจำเริญจากขวา) และ ดร.เด่นชัย วรเดชจำเริญ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ขวาสุด) ) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการ (MOU) กับ รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(ที่4จากซ้าย) และ รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ สิงหถนัดกิจ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ที่สุพจน์ เตชวรสินสกุลจากซ้าย) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาการ การพัฒนานักศึกษาและบุคลากร การพัฒนางานวิจัย และการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมด้านอาคารอัจฉริยะ ณ ห้องศูนย์รวมใจ ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล อาคาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ เด่นชัย วรเดชจำเริญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ด้วยเจตนารมณ์ของความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย จึงก่อให้เกิดการลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการร่วมกันในครั้งนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมมือในการดำเนินงานวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีอาคารอัจฉริยะเพื่อตอบสนองต่อนโยบายประเทศด้านการประหยัดพลังงานและเมืองอัจฉริยะ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในนโยบายประเทศไทย 4.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
          นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาระบบอาคารอัจฉริยะ โดยอาศัยองค์ความรู้และความถนัดด้านระบบอาคารจากผู้เชี่ยวชาญของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผนวกกับองค์ความรู้และความถนัดด้านการวิเคราะห์การถ่ายเทพลังงานความร้อนในอาคารจากผู้เชี่ยวชาญของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผู้เชี่ยวชาญจากวิศวฯ ม.ศรีปทุม เป็นผู้รับผิดชอบด้านระบบควบคุมอาคาร และผู้เชี่ยวชาญจากวิศวฯ จุฬาฯ เป็นผู้รับผิดชอบด้านการวิเคราะห์และสร้างแบบจำลองทางด้านพลังงาน
          ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในโลกของธุรกิจ Sharing Economy คือเทรนของโลกใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยการแบ่งปันทรัพยากร ความคิดเห็น ประสบการณ์ และความรู้ วงการวิชาการก็เช่นกัน (Sharing Academic) การแบ่งปันทางวิชาการ จึงเกิดขึ้นที่นี่ เพื่อที่จะร่วมสร้างความรู้ประสบการณ์ ร่วมพัฒนานวัตกรรม และร่วมกันถ่ายทอดออกไปสู่ความเป็นเลิศต่อไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ กล่าว

วิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม จับมือ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ MOU ร่วมพัฒนานักศึกษา บุคลากรสู่ความเป็นเลิศด้านงานวิจัยและการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมด้านอาคารอัจฉริยะ
วิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม จับมือ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ MOU ร่วมพัฒนานักศึกษา บุคลากรสู่ความเป็นเลิศด้านงานวิจัยและการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมด้านอาคารอัจฉริยะ
 
วิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม จับมือ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ MOU ร่วมพัฒนานักศึกษา บุคลากรสู่ความเป็นเลิศด้านงานวิจัยและการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมด้านอาคารอัจฉริยะ
วิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม จับมือ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ MOU ร่วมพัฒนานักศึกษา บุคลากรสู่ความเป็นเลิศด้านงานวิจัยและการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมด้านอาคารอัจฉริยะ
 
 
 
 

ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุลวันนี้

จุฬาฯ ผนึก สมช. และกองทัพเรือ ลงนามความร่วมมือ จัดตั้ง "องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย"

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และกองทัพเรือ (ทร.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วย "การจัดตั้งและขับเคลื่อนองค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย" เพื่อวางรากฐานในการเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ทางทะเลระดับประเทศ เมื่อวันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุม 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ โดยมี พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงาน จากนั้นผู้แทนจากทั้งสามหน่วยงาน ได้แก่ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร

บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำก... SNPS ต้อนรับนิสิตจุฬาฯ ถ่ายทอดองค์ความรู้ "นวัตกรรมสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน" — บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SNPS ให้การต้อ...

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไทยเ... นิทรรศการ "รัตนแห่งจุฬาฯ" 28 มีนาคม ถึง 3 เม.ย.นี้ ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ — คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไทยเบฟเวอเรจ และสามย่านมิตรทาวน์ ร...