โดยมีปัจจัยการเติบโตมาจากความสามารถในการควบคุมต้นทุนของบริษัทประกอบกับพื้นที่การให้บริการในโครงการต่อขยายของโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต และโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 11 อินเตอร์ ได้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้บริษัทมีรายได้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้
อีกทั้งในช่วงไตรมาส 2/61 บริษัทยังมีอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ระดับ 13%และมีอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นเป็น 31% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ระดับ 30% เนื่องจากบริษัทมีนโยบายควบคุมต้นทุนประกอบกับมีการเพิ่มอำนาจต่อรองจากการซื้อยาและเวชภัณฑ์
ขณะที่บริษัทรายได้จากากรประกอบกิจการโรงพยาบาลอยู่ที่ 1,039 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 149 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยมีปัจจัยการเติบโตมาจากกลุ่มผู้ป่วยทั่วไปซึ่งเพิ่มขึ้น 31% และบริษัทยังมีรายได้จากกลุ่มผู้ป่วยนอก (OPD) เพิ่มขึ้น 63 ล้านบาทและมีรายได้จากกลุ่มผู้ป่วยใน (IPD) เพิ่มขึ้น 93 ล้านบาทเพราะการขยายพื้นที่ให้บริการทาให้สามารถรองรับผู้ใช้บริการได้มากขึ้นรวมถึงศูนย์ดูแลผู้ป่วยต่างชาติ (IMC) ในไตรมาส2/61 ที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
นายแพทย์กำพล กล่าวอีกว่า บริษัทมีการอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล สำหรับผลการประกอบการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2561 ในอัตราหุ้นละ 0.020 บาท รวมเป็นเงินปันผลทั้งสิ้น 220 ล้านบาท ซึ่งจะขึ้นเครื่องหมาย XD หรือวันที่ไม่มีสิทธิรับเงินปันผลในวันที่ 22 สิงหาคม 2561 โดยจะกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผล (Record Date) ในวันที่ 23 สิงหาคม 2561 และมีกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 7 กันยายน 2561
นอกจากนี้ยังมีมติอนุมัติให้บริษัทก่อตั้งโรงพยาบาลศูนย์มะเร็งและรังสีรักษาสุวรรณภูมิเพื่อให้บริการทางการแพทย์เฉพาะทางอย่างครบวงจรแก่ลูกค้าทั่วไป และลูกค้าคู่สัญญา ภายในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดใกล้เคียง โดยบริษัทจะมีการจัดตั้ง บริษัท มะเร็ง สุวรรณภูมิ จากัด (บจ. มะเร็ง สุวรรณภูมิ) เพื่อดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลดังกล่าว
สำหรับปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 15% มาอยู่ที่กว่า 4,000 ล้านบาท เนื่องจากจะมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดโรงพยาบาลใหม่ 2 แห่ง ได้แก่ จุฬารัตน์ 304 อินเตอร์ จ.ปราจีนบุรี และอีกแห่งหนึ่งที่กำลังจะเปิดในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ คือ โรงพยาบาลรวมแพทย์ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งทั้ง 2 โรงพยาบาลดังกล่าวรับเฉพาะลูกค้าเงินสดเท่านั้น
"ทั้งนี้โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) บริษัทมองว่าจะเป็นผลดีต่อธุรกิจโรงพยาบาลที่มีพื้นที่ตั้งอยู่ในโซนดังกล่าว รวมถึง CHG ด้วย เนื่องจากเศรษฐกิจจะคึกคัก ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ จะดีขึ้น มีคนมามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาพต่างๆ เหล่านี้อาจจะยังไม่ได้ส่งผลบวกที่ชัดเจนในเชิงตัวเลขต่อผลประกอบการของ CHG เนื่องจากโครงการ EEC เพิ่งเริ่มต้น ซึ่งต้องดูในระยะยาว" นายแพทย์กำพลกล่าว