นอกจากนี้ในงานเดียวกัน ทางคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรได้จัดงานเปิดตัว "แอปพลิเคชั่น "LENTHAI" (เล่นไทย)ภายใต้โครงการบูรณาการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับครูดนตรีและนักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อยกระดับมาตรฐานทางวิชาการและส่งเสริมพัฒนาแหล่งเรียนรู้เสมือนจริงในรูปแบบออนไลน์ มุ่งเน้นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนไทยโดยการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในด้านวัฒนธรรมและมรดกทางวัฒนธรรมดนตรี ตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ในอุตสาหกรรมหลักที่ 5 ได้แก่ Creative, Culture & High Value Service ถือเป็นการนำมรดกทางวัฒนธรรมดนตรีไทยพื้นบ้าน/ ไทยประยุกต์ / และไทยร่วมสมัย ที่มีคุณค่า มีความงดงาม ผสมผสานในรูปแบบที่หลากหลายผ่านโปรแกรมใช้งาน หรือ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่น (ในบางครั้งเรียกย่อว่าแอปพลิเคชั่น) เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมสำคัญระดับชาติและระดับนานาชาติ รวมถึงงานเชิงพาณิชย์ได้อย่างลงตัว พร้อมทั้งเสนอแนวคิดเพิ่มเติมเพื่อให้ผลผลิตโครงการสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือเยาวชนระดับมัธยมศึกษา
สำหรับลักษณะเนื้อหา (Content) ของแอปพลิเคชั่น เพลงที่นำเสนอ ประกอบด้วยกลุ่มเพลงต่างๆ ได้แก่ เพลงประจำชาติ / เพลงเนื่องในโอกาสพิเศษ / เพลงประจำภาคเนื้อร้อง,ทำนอง,ลักษณะการร้อง บ่งบอกความเป็นมาของท้องถิ่น,เทศกาลสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ ,สะท้อนวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้นๆ รวมถึงเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบจังหวะได้แก่อะไรบ้าง / เพลงการละเล่นเด็กไทย / เพลงสร้างสรรค์เนื้อร้องและทำนองใหม่ ได้แก่ เพลงแจ๊ส (ฟรีสไตล์) / เพลงคลาสสิค และเพลงเชิงพาณิชย์
โดยฟังก์ชันการทำงานหลัก-ขั้นตอนการเข้าใช้งาน สามารถเข้าสู่ระบบ https://lenthai.com/home โดยการล็อกอินผ่าน Gmail เพื่อบันทึกชื่อและนามสกุลของผู้เข้าใช้งาน สามารถเข้าใช้งานแอปพลิเคชั่น โดยระบบปฏิบัติการบนมือถือ ,แทบเล็ต,Desktop จากนั้น เลือกกดประเภทของผู้เข้าใช้งาน : ครู/ นร. สังกัด สพฐ. หรือบุคคลทั่วไป โดยระบบปฏิบัติการจะให้ผู้ใช้งานสามารถกดเลือก : ชม/ฟัง วิดีโอ , เลือกดู/ ค้นหาตามคำสำคัญ ความนิยม (จำนวนผู้เข้าชม,ผู้ชื่นชอบ) สามารถนับจำนวนผู้เข้าชม , แบ่งปัน/ แชร์ แสดงความชื่นชอบ(Like) หรือร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระบบจะมีการจัดเก็บข้อมูลผู้เข้าใช้งาน เพื่อบันทึกสถิติ จำนวนผู้เข้าใช้งาน ข้อมูลผู้เข้าใช้งาน เวลาที่เข้าใช้งาน พร้อมมีการประเมินผล เพื่อนำข้อมูลไปพัฒนา ปรับปรุงการทำงานต่อไป เนื่องจากฟีเจอร์สามารถนำไปพัฒนาต่อได้ (เพิ่มเติม)
"ปัจจุบันแอปพลิเคชั่นจะมีความ Interactive Media คือการเรียนแบบโต้ตอบสองทาง, การเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ ตรงข้ามกับการสอนในชั้นเรียนซึ่งมักจะเป็นการสื่อสารข้างเดียว สื่อที่ผู้ใช้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบได้ เช่น หยุด เล่นซ้ำ หาหัวเรื่องใหม่ ตอบคำถามเพื่อเดินเรื่องไปตามจังหวะที่ผู้รับต้องการ เหมาะสำหรับการเรียนรู้ และการศึกษารายบุคคลตามความถนัดและความสนใจ เกิด Community เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางดนตรีหรือแชร์ประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกัน กลุ่มเป้าหมายในที่นี้ไม่เจาะจงเฉพาะครูผู้สอนรายวิชาดนตรีไทยและสากล / นักเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)เท่านั้น แต่เปิดกว้างสำหรับผู้ที่ชื่นชอบดนตรีไทยพื้นบ้าน / ไทยประยุกต์ / และไทยร่วมสมัย ก็สามารถลงทะเบียน (register) ล็อกอินผ่านระบบเข้ามาใช้งานได้เช่นกัน ซึ่งการล็อกอินผ่านระบบเข้ามาใช้งานนั้น จะทำให้สามารถวัดสถิติจำนวนผู้เข้าใช้งานได้ ซึ่งข้อมูลตามระบุนั้นสามารถนำมาเป็นตัวชี้วัดของโครงการ ดังนั้น การสามารถเข้าถึงของผู้ใช้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ"อาจารย์ดำริห์ กล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้การจัดทำสื่อออนไลน์ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าใช้บริการได้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง โครงการฯดังกล่าว จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วยพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้านและดนตรีร่วมสมัย ประกอบด้วยการพัฒนาหลักสูตร การจัดทำเนื้อหาและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนดนตรีให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่บูรณาการดนตรีไทยและสากลเป็นดนตรีไทยร่วมสมัยที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่คุณภาพ มาตรฐาน เพื่อต่อยอดทางการศึกษาต่อไป
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit