การรักษาเฉพาะบุคคล ทางเลือกใหม่สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง

          บทความเรื่อง "PERSONALIZED MEDICINE"
          การรักษาเฉพาะบุคคล ทางเลือกใหม่สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง
          โดย ศ. คลินิก พญ.สุดสวาท เลาหวินิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา

          ปัจจุบันนี้ "โรคมะเร็ง" ยังคงเป็นโรคร้ายที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในคนไทยเป็นอันดับ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทั้งยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญลำดับต้นๆ ของประเทศไทย ศ.คลินิก พญ.สุดสวาท เลาหวินิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา กล่าวว่า การรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันมีพัฒนาการรุดหน้าไปมากทั้งยาเคมีบำบัด รังสีรักษา การรักษาด้วยยามุ่งเป้า (Targeted therapy) รวมถึงการรักษาด้วย แอนติบอดี้ และ ภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ "Immunotherapy" จนมะเร็งหลายชนิดมีโอกาสรักษาหายขาด อย่างไรก็ตามมะเร็งระยะแพร่กระจายจำนวนมากไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถยับยั้งการเติบโตและการแพร่กระจายของโรคมะเร็งได้ระดับหนึ่งด้วยการรักษาแบบมาตรฐาน โรคมะเร็งชนิดเดียวกันในผู้ป่วยแต่ละรายอาจตอบสนองต่อการรักษาแบบมาตรฐานต่างกัน ผู้ป่วยบางรายได้ผลดีผู้ป่วยบางรายอาจไม่ได้ผล ซึ่งอาจเป็นผลจากพันธุกรรมของมะเร็งในตัวผู้ป่วยที่แตกต่างกัน
          ด้วยความก้าวหน้าของการแพทย์ ล่าสุดได้มีการนำเทคโนโลยีในการวินิจฉัยมาช่วยในการรักษาโรคมะเร็งที่เรียกว่า "Personalized Medicine" หรือ "Precision Medicine" ซึ่งก็คือ "การรักษาเฉพาะบุคคล" ด้วยการที่นักวิจัยและแพทย์จะทำการตรวจสอบระดับโมเลกุล (Molecular Profiling) ของก้อนมะเร็งของผู้ป่วย โดยการตรวจพันธุกรรมของก้อนมะเร็ง และโปรตีนที่สร้างจากเซลล์มะเร็งโดยละเอียดทำให้สามารถเข้าใจในรายละเอียดของพันธุกรรมและสารอื่นๆ ของมะเร็งในผู้ป่วยคนนั้นๆ ที่เป็นตัวทำให้มะเร็งในตัวผู้ป่วยแต่ละรายเติบโตและแพร่กระจาย
          จากการค้นพบความผิดปกติในระดับพันธุกรรม รวมทั้งโปรตีนที่สร้างจากเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยเฉพาะราย จะช่วยให้แพทย์สามารถคัดเลือกยารักษาโรคมะเร็งได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นยามุ่งเป้า (Targeted therapy) หรือแม้แต่ยาเคมีบำบัดที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย และยังสามารถลดการใช้ยารักษาโรคมะเร็งที่อาจไม่ได้ผลดีและนำไปสู่ผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้
          สำหรับ "เทคนิคการตรวจสอบระดับโมเลกุล (Molecular Profiling) ของก้อนมะเร็ง" ใช้วิธีการนำชิ้นเนื้อมะเร็งของผู้ป่วยไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานด้วยวิธีการทดสอบหลากหลายวิธี เช่น Next Generation Sequencing, Immunohistochemistry เป็นต้น ในต่างประเทศแพทย์อาจแนะนำการตรวจระดับโมเลกุล (Molecular Profiling) ของก้อนมะเร็งในโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคมะเร็งปอด, ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะแพร่กระจายบางรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐานแล้ว จากการตรวจวิธีนี้ มีแนวโน้มที่จะค้นพบความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือโปรตีนที่สร้างจากมะเร็ง และนำไปสู่การคัดเลือกยารักษามะเร็งที่เหมาะสมขึ้นในผู้ป่วยรายนั้นๆ ได้ อย่างไรก็ตามการตรวจสอบระดับโมเลกุล (Molecular Profiling) ยังมีข้อจำกัดอยู่ เนื่องจากการวินิจฉัยยังมีข้อมูลจำกัดอยู่เพียงมะเร็งระยะแพร่กระจายเท่านั้น และราคาค่าตรวจค่อนข้างสูง อีกทั้งยังมีการใช้ในต่างประเทศเพียงบางประเทศ
          สำหรับประเทศไทย การตรวจสอบระดับโมเลกุล (Molecular Profiling) ของก้อนมะเร็ง ยังมีการใช้อย่างจำกัดในโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง แต่หากในอนาคตอันใกล้ การตรวจวิธีนี้มีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นในมะเร็งชนิดต่างๆและราคาถูกลง ก็จะเป็นการนำไปสู่การใช้ที่แพร่หลายมากขึ้น และสามารถเป็นทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่งให้ผู้ป่วยมะเร็งในประเทศไทยได้เข้าถึงต่อไป
การรักษาเฉพาะบุคคล ทางเลือกใหม่สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ข่าวสุดสวาท เลาหวินิจ+ผู้ป่วยโรคมะเร็งวันนี้

การรักษาเฉพาะบุคคล ทางเลือกใหม่สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง

บทความเรื่อง "PERSONALIZED MEDICINE" การรักษาเฉพาะบุคคล ทางเลือกใหม่สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดย ศ. คลินิก พญ.สุดสวาท เลาหวินิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา ปัจจุบันนี้ "โรคมะเร็ง" ยังคงเป็นโรคร้ายที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในคนไทยเป็นอันดับ 1 ทั้งยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญลำดับต้นๆ ของประเทศไทย ศ.คลินิก พญ.สุดสวาท เลาหวินิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา กล่าวว่า การรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันมีพัฒนาการรุดหน้าไปมากทั้งยาเคมีบำบัด รังสีรักษา

เมื่อกล่าวถึงโรคมะเร็งทุกคนจะรู้สึกตกใจ เ... มารู้จักเคมีบำบัด กับการรักษามะเร็งกันเถอะ — เมื่อกล่าวถึงโรคมะเร็งทุกคนจะรู้สึกตกใจ เพราะมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกและเป็นสาเหตุกา...

ภาพข่าว: 1 ทศวรรษแห่งความก้าวหน้าในการรักษาโรคมะเร็งจีสต์

เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้โครงการ GIST Alliance และ GIPAPจัดงานแถลงข่าว “1 ทศวรรษแห่งความก้าวหน้าในการรักษาโรคมะเร็งจีสต์” อย่างเป็นทางการเพื่อเผยแพร่ความก้าวหน้าทางการรักษาโรคมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ โดยมี รศ...

ภาพข่าว: ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมสนับสนุน เครือข่ายลดบริโภคเค็ม รณรงค์ “ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทยห่างไกลโรค”

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข, ศ.นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, ศ.นพ.ธานินทร์ อินทรกำธรชัย ผู้รั้งตำ...

บทความ: มะเร็งเต้านมระยะลุกลามกับการพัฒนาการรักษาใหม่ๆ

ในโอกาสที่เดือนตุลาคมของทุกปีเป็นเดือนแห่งการรณรงค์เผยแพร่ความรู้โรคมะเร็งเต้านม ในปี 2555 นี้ รศ.พญ.สุดสวาท เลาหวินิจ หัวหน้างานโรคมะเร็ง กลุ่มงานอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ และนายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ได้ให้ความรู้...

ภาพข่าว: ประเทศไทยจัดประชุมวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ “NET Medical Expert Forum”

เมื่อเร็วๆ นี้ นพ. อาโพโทลอส ทะโซลากริส (Apostolos Tsolakis,MD,PhD) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอัพซาลา (Uppsala)ประเทศสวีเดน (คนกลาง) ให้เกียรติเป็นวิทยากรรับเชิญในการบรรยายพิ...

ภาพข่าว: บรรยายพิเศษในงานประชุมวิชาการโรคมะเร็งแห่งชาติ ครั้งที่ 11

เมื่อเร็วๆ นี้ นพ.วิชิต อาภรวิรัตน์ (ที่ 4 จากซ้าย) จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ และพญ.สุดสวาท เลาหวินิจ (ที่5 จากซ้าย) หัวหน้ากลุ่มงานอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง...

ภาพข่าว: มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทยมอบเงิน ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยสมทบทุนมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ พญ.สุดสวาท เลาหวินิจ นายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย (ที่ 5 จากซ้าย) พร้อมด้วย อุปนายก และ กรรมการมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ผศ.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ (ที่ 4 จากซ้าย) ผศ.นพ....

ภาพข่าว: โนวาร์ตีส 8 ปีจีแพป สานต่อความหวังเพื่อผู้ป่วย โครงการช่วยเหลือผู้ป่วยนานาชาติจีแพปประเทศไทย

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายริชาร์ด เอเบลา ประธานบริหาร บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด (ที่ 1 จากซ้าย), ศ.พญ.แสงสุรีย์ จูฑา ประธานชมรมโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์แห่งประเทศไทย (ที่ 2...