ความเห็นต่อกรณีรัฐบาลเตรียมเก็บภาษีลาภลอยและแนวทางปฏิรูประบบภาษี 13.00 น. 15 ก.ค. 2561 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

          ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความเห็นกรณีรัฐบาลเตรียมเก็บภาษีลาภลอย ว่า การเก็บภาษีลาภลอยต้องมุ่งเป้าหมายไปที่การสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม การขยายฐานรายได้ภาษี มีการจัดเก็บภาษีตามประโยชน์จากการลงทุนของรัฐที่ได้รับอย่างเป็นธรรม ในเบื้องตันจะมีการจัดเก็บภาษีลาภลอยจากบุคคลหรือนิติบุคคล ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหรือครอบครองที่ดิน ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของห้องชุดที่ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูงกว่า 5อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดี ล้านบาท และ พื้นที่จัดเก็บภาษีกำหนดขอบเขตไว้ไม่เกินรัศมีสูงสุดไม่เกิน 5 กิโลเมตรรอบโครงการ 
          สัดส่วนภาษีต่อ GDP ของไทยอยู่ที่ประมาณ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์7-พัฒนาอสังหาริมทรัพย์8% เศรษฐกิจนอกระบบมีขนาดใหญ่ มีฐานภาษีแคบ ผู้ที่อยู่ในระบบภาษีมีจำนวนน้อยกว่าที่ควรจะเป็นก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในระบบภาษี ผู้ที่เสียภาษีอยู่ต้องแบกรับภาระมากเกินไป การเก็บภาษีลาภลอยจะช่วยสร้างความเป็นธรรมทางสังคมและเศรษฐกิจเพราะเป็นการจัดเก็บภาษีจากผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากโครงการลงทุนต่างๆของรัฐ สังคมไทยนั้นอาจจะมีความไว้เนื้อเชื่อใจต่อภาครัฐในการนำเงินภาษีของประชาชนไปใช้ไม่สูงนัก จึงไม่เอื้อให้ประชาชนยินดีจ่ายภาษีมากนัก ทั้งที่การเสียภาษีเป็นหน้าที่และผู้จ่ายภาษีมีส่วนสำคัญในการร่วมพัฒนาประเทศ 
          ดร. อนุสรณ์ กล่าวว่า รัฐบาลควรทำประมาณการรายได้จากภาษีลาภลอยเพื่อสามารถวางแผนงบประมาณในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานได้ดีขึ้น โดยสามารถลดการกู้เงินในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็น โครงการระบบราง ท่าเรือ สนามบิน โครงการทางด่วนพิเศษ เป็นต้น หน่วยงานจัดเก็บภาษีควรดำเนินการร่วมกันระหว่างรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รายได้จากภาษีลาภลอยควรแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่ง มอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อใช้บำรุงรักษาและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจในพื้นที่ อีกส่วนหนึ่ง เก็บรายได้เข้ารัฐบาลกลางเพื่อนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจในพื้นที่ซึ่งยังไม่มีการพัฒนา เพื่อให้ความความเจริญทางเศรษฐกิจและการพัฒนากระจายตัวไปยังพื้นที่ชนบท ไม่กระจุกตัวเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล 
          ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ กล่าวอีกว่า ภายใต้โลกาภิวัตน์ไร้พรมแดน การใช้มาตรการภาษีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำมีข้อจำกัดมากขึ้น การลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจจึงต้องมุ่งไปที่การใช้มาตรการใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการ การผ่านกฎหมายภาษีมรดก รัฐบาลก็แทบจะเก็บภาษีไม่ค่อยได้เพราะมีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปต่างประเทศ อย่างล่าสุด รัฐบาลก็ต้องอนุมัติในหลักการร่างกฎหมายทรัสต์เพื่อจัดการทรัพย์สินเพื่อช่วยลดการนำทรัพย์สินออกไปบริหารจัดการนอกประเทศ รัฐบาลควรให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเพื่อทำให้ทุกคนเข้ามาอยู่ในระบบ หากมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ก็ไม่ต้องเสียภาษี หากมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน รัฐสามารถดูแลสวัสดิการกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยนี้โดยนำเอามาตรการรายจ่ายด้านสวัสดิการมาผูกกับระบบภาษีได้ด้วย เมื่อมีฐานข้อมูลตรงนี้ก็จะสามารถใช้มาตรการเงินโอนเพื่อผู้มีรายได้น้อย (Negative Income Tax) ได้ มาตรการนี้จะสร้างแรงจูงใจให้คนเข้ามาอยู่ในระบบภาษี ในเวลาที่มีรายได้น้อยยากจน ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีจะได้รับเงินโอนช่วยเหลือ ในอนาคตเมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้นเข้าเกณฑ์การเสียภาษีก็จะเข้าสู่ระบบเสียภาษีโดยอัตโนมัติ การมีรายได้ของคนไทยอย่างชัดเจนทำให้การจัดสวัสดิการและการใช้งบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ รัฐควรไปศึกษาการปฏิรูปภาษีให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจดิจิทัลด้วย เนื่องจากธุรกรรมการซื้อขายสินค้าและบริการ ระบบการชำระเงินเกิดขึ้นในโลกออนไลน์และเว็บไซต์ซึ่งก่อให้เกิดความไม่ชัดเจนในการจัดเก็บภาษีและบางครั้งก็ไม่สามารถเก็บภาษีได้จากความซับซ้อนของธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลเหล่านี้ และ การจะแก้ไขปัญหานี้ต้องอาศัยความร่วมมือในระดับโลกที่ต้องมีแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน นอกจากนี้ รัฐควรศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการลดความเป็นระบบราชการของกรมจัดเก็บภาษี โดยปรับเปลี่ยนสู่การเป็น องค์กรจัดเก็บภาษีกึ่งอิสระ (Semi-Autonomous Revenue Agency)
 
 
 

ข่าวอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดี+พัฒนาอสังหาริมทรัพย์วันนี้

ภาพข่าว: บล.หยวนต้า จัดงานสัมมนา “Yuanta Exclusive Talk 2018” เพื่อตอบแทนและขอบคุณลูกค้าผู้มีอุปการคุณ

บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด นำโดยคุณบุญพร บริบูรณ์ส่งศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้จัดงาน "Yuanta Exclusive Talk 2018" ขึ้น ณ Crystal Box, GAYSORN URBAN RESORT เพื่อเป็นการตอบแทนและขอบคุณลูกค้าผู้มีอุปการคุณ ผู้จัดการกองทุน และผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ที่ให้การสนับสนุนบริษัทด้วยดีตลอดมา ภายในงานได้จัดเสวนาพิเasศษในหัวข้อ "มุมมองทิศทางเศรษฐกิจ 2019 ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้งที่มีผลกระทบต่อตลาดทุน และประเด็นทาง "การเมือง " โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะ

เศรษฐกิจการศึกษาว่าด้วยการนำสถาบันการศึกษาเข้าตลาดหุ้น บทบาทของรัฐและบทบาทของกลไกตลาดในการจัดการการศึกษา

16.00 น. 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก คณะเศรษฐศาสตร์ และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์...

ผลของ Soft Brexit ต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยไตรมาสสี่

แม้นสหราชอาณาจักรสามารถบรรลุข้อตกลงรูปแบบความสัมพันธ์ใหม่กับสหภาพยุโรปก่อนออกจากอียูในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562 แต่ยังมีความไม่แน่นอนจากปัญหาการเมืองภายในประเทศของอังกฤษ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสสี่ของไทยยังคงเติบโตต่ำกว่า 4% ต่อ...

สงครามการค้าสหรัฐอเมริกา-จีนลุกลามสู่การแ... NIDA Poll “อนาคตทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” — สงครามการค้าสหรัฐอเมริกา-จีนลุกลามสู่การแข่งขันลดค่าเงินมากขึ้น กระทบเศรษฐกิจการค้าโลกและภาคส่งอ...

สงครามการค้าสหรัฐอเมริกา-จีนลุกลามสู่การแข่งขันลดค่าเงินมากขึ้นกระทบเศรษฐกิจการค้าโลกและภาคส่งออกไทยปีหน้า ความรุนแรงของสงครามทางการค้าถูกยกระดับขึ้น

28 ต.ค. 2561 เวลา 16.00 น. ที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป ผศ. ดร....

ผลกระทบพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อเศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการดำเนินธุรกิจ

11.30 น. 14 ต.ค. 2561 ที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ประ...

ผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจและค่าเงินตลาดเกิดใหม่ และ สงครามการค้ารุนแรงขึ้น ต่อเศรษฐกิจไทย

วิกฤติเศรษฐกิจและการดิ่งลงของค่าเงินในตลาดเกิดใหม่จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น เงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆยกเว้นดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่ควรรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่วนผลกระทบสงครามการค้ารุน...

ผลของการอนุมัติงบประมาณปี 2562 ต่อเศรษฐกิจและปัญหาฐานะการคลังในอนาคต และ ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลหลังเลือกตั้งเพื่อการปฏิรูประบบงบประมาณ

14.30 น. 2 ก.ย. 2561 ที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้แสดงความเห็นหลังจากงบประมาณปี พ.ศ. 2562 จำนวน 3...

ผลของการขยายตัวของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ สมองกลอัจฉริยะต่อระบบการผลิต เศรษฐกิจและตลาดแรงงาน

17.00 น. 26 ส.ค. 2561 ที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้แสดงความเห็นต่อผลของการขยายตัวของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ...