ดร.วรวัฒน์ ชัยยศบูรณะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท บีเอ็น บราเดอร์ จำกัด กล่าวว่า "เบเยอร์ผู้นำนวัตกรรมสีทาอาคาร ภายใต้แนวคิด "ECO Wellness Innovation" นวัตกรรมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มุ่งเน้นพัฒนาสินค้านวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งานและสภาพแวดล้อมมาโดยตลอด อย่างสีเบเยอร์คูลที่ถือว่าเป็นสินค้าเรือธงที่มียอดขายเป็นอันดับ 1 ของเบเยอร์เนื่องจากสีเบเยอร์คูลถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่มากกว่าสีทาอาคารทั่วไป และจากสภาวะอากาศที่ร้อนขึ้นทุกวันส่งผลให้ผู้บริโภคต้องมองหาตัวช่วยที่จะบรรเทาความร้อน และช่วยประหยัดพลังงานได้ เบเยอร์เล็งเห็นปัญหานี้เป็นอย่างดีจึงตั้งใจพัฒนาผลิตภัณฑ์สีเบเยอร์คูลที่มีคุณสมบัติพิเศษกว่าสีรายอื่นตรงที่มีส่วนผสมพิเศษชื่อว่า "ไมโครสเฟียร์เซรามิก" คือเซรามิกชนิดพิเศษที่ใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทนความร้อนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำไปเคลือบผิวของกระสวยอวกาศขององค์การนาซาเพื่อป้องกันความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีกับชั้นบรรยากาศจากการปล่อยตัวสู่อวกาศ และกลับลงมายังพื้นโลก เบรกของรถฟอร์มูล่าวันซึ่งเป็นรถแข่งที่ใช้ความเร็วสูง เมื่อเบรกมักจะเกิดการเสียดสี และประกายไฟ เช่นเดียวกับลิฟต์ของตึกไทเป 101 ที่ต้องใช้ความเร็วในการขนส่งผู้โดยสาร ทำให้เกิดความร้อนสูงจากการชักรอก รวมถึงชุดนักผจญเพลิงที่ต้องทนต่อความร้อน และป้องกันการติดไฟ เบเยอร์นำ "ไมโครเซรามิก" ตัวนี้มาใช้ในสีทาอาคารเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการสกัดกั้น และสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ถึง 94.2% และช่วยประหยัดค่าไฟได้ถึง 25% โดยผ่านการทดสอบจากสถาบันที่น่าเชื่อถือของไทยอย่างมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รวมถึงได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติรายแรกของประเทศไทยอีกด้วย
"เบเยอร์คูลจึงเป็นสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเจ้าของบ้านเอง หรือกลุ่มธุรกิจก่อสร้าง เนื่องจากพฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนไป หันมาสนใจคุณสมบัติด้านอื่นๆ ของสินค้าที่ไม่ใช่แค่ความสวยงามหรือคุณภาพของสีเพียงเท่านั้น ดังนั้นผลิตภัณฑ์สีบ้านเย็น อย่างสีเบเยอร์คูลจึงเป็นตัวเลือกหนึ่งในใจผู้บริโภคที่ต้องการตัวช่วยบรรเทาสภาพอากาศที่ร้อนระอุขึ้นทุกวัน และในทางเดียวกันก็สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย โดยมีอัตราการเติบโตของเบเยอร์คูลที่ 5%"
ตั้งแต่ต้นปี 2561 การแข่งขันในตลาดธุรกิจสีทาอาคารมีความดุเดือดขึ้น ผู้ประกอบการในธุรกิจสีทาอาคารต่างพัฒนานวัตกรรมสีทาอาคารเพื่อตอบสนองผู้บริโภค และแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากที่สุด เนื่องจากตลาดสีทาอาคารมีแนวโน้มโตต่อเนื่องจากการขยายตัวของเขตเมือง รวมถึงปัจจัยบวกด้านการลงทุนเมกะโปรเจคของรัฐบาล ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าในสายต่างๆ รวมถึงการเข้ามาลงทุนของกลุ่มต่างชาติอย่าง ญี่ปุ่นและจีน ในปี 2560 มีอุปทานเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดคอนโดมิเนียมสะสมในกรุงเทพฯ ถึง 538,920 ยูนิต เนื่องจากรองรับอุปสงค์ความต้องการของชาวต่างชาติ ในส่วนอุปสงค์ของคนไทยเองก็ยังคงมีมากเช่นกัน จากข้อมูลของ ธอส.ที่เผยว่าสามารถปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยได้ไม่ต่ำกว่า 600,000 ล้านบาท ภายในปี 2561
"ไม่เพียงแต่ตลาดที่อยู่อาศัยใหม่ที่คึกคักเท่านั้น ตลาดบ้านเก่า กลุ่มเจ้าของบ้านที่ต้องทาสีที่ซ้ำใหม่ ก็ถือเป็นโอกาสของธุรกิจสีทาอาคารเช่นกัน จากผลสำรวจของกรุงเทพฯ พบว่ามีจำนวนที่อยู่อาศัย ณ ปี 2558 มีถึง 2,753,972 หลัง และประมาณร้อยละ 80 มีแนวโน้มที่จะทาสีใหม่ อีกทั้งผู้บริโภคกลุ่มนี้มีพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าสีทาอาคารที่มีเหตุผลทางด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และฟังก์ชั่นการใช้งานมากขึ้น" ดร.วรวัฒน์ กล่าวปิดท้าย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit