เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร วันที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินท8 กรกฎาคม พระบาทสมเด็จพระปรมินท56กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จัดทำโครงการปลูกป่าและไม้ยืนต้นสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวง สืบสาน "ศาสตร์พระราชา" ของ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร และเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งถือเป็นโครงการที่สร้าง ความสมบูรณ์ให้แก่ทรัพยากรป่าไม้ ที่ทุกฝ่ายตระหนักในคุณค่าของป่าต้นน้ำ พร้อมน้อมนำแนวพระราชดำริไปเป็นแนวทางในการสร้างความเข้าใจ ตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อรักษาระบบนิเวศป่าไม้และสิ่งแวดล้อม ทำให้ป่าต้นน้ำได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อพื้นที่ชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นการเร่งขยายพันธุ์กล้าไม้ให้กลายเป็นสภาพป่าธรรมชาติ
วันที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรกฎาคม พระบาทสมเด็จพระปรมินท56กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เวลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กรมฝนหลวงและการบินเกษตร.กรมฝนหลวงและการบินเกษตรกรมฝนหลวงและการบินเกษตร น. นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เป็นประธานในการแถลงข่าวการจัดโครงการปลูกป่าและไม้ยืนต้นสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวง สืบสาน "ศาสตร์พระราชา" ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทร- เทพยวรางกูร ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ห้อง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์5 พร้อมกล่าวว่า โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติวันพระราชสมภพในหลวงรัชกาลที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กรมฝนหลวงและการบินเกษตร และเป็นการน้อมนำแนวคิด "สร้างความชื้นสัมพัทธ์ ในอากาศ สืบสานศาสตร์พระราชา" ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศให้มากขึ้น เพื่อช่วยในการเพิ่มโอกาสให้เกิดฝน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการปฏิบัติการฝนหลวงให้ประสบผลสำเร็จเพิ่มขึ้น และ มีการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมให้สามารถกลับมาอยู่ในสภาพสมบูรณ์ พร้อมกับการสร้างผืนป่าให้เกิดความชุ่มชื้นเพื่อเป็นการเพิ่มป่าต้นน้ำ เพิ่มพื้นที่ป่าชุมชน ตลอดจนการปลูกป่าไม้ ป่าเศรษฐกิจ ป่าชุมชน และไม้ยืนต้น บริเวณหัวไร่ปลายนา และยังเป็นแหล่งอาหารสัตว์ป่าในการดำรงชีวิต การใช้ประโยชน์สำหรับชุมชน ที่สำคัญโครงการนี้เป็นการฟื้นฟูทำให้ทรัพยากรป่าไม้ในประเทศได้กลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิม
การดำเนินการในโครงการฯ แบ่งเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย
- กิจกรรมพิธีเปิด ในวันที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์9 กรกฎาคม พระบาทสมเด็จพระปรมินท56กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีกิจกรรมการปลูกป่าและไม้ยืนต้น ณ บริเวณเขื่อนวชิราลงกรณ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และกิจกรรมการโปรยเมล็ดพันธุ์พืชทางอากาศ ณ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง ทั้ง 5 ภูมิภาค
- กิจกรรมการปลูกป่าและไม้ยืนต้น ระหว่างวันที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนาคม – สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กันยายน พระบาทสมเด็จพระปรมินท56กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเป็นการปลูกป่าไม้ ป่าเศรษฐกิจ ป่าชุมชน และการปลูกไม้โตเร็วตามหัวไร่ปลายนาร่วมกันระหว่างภาครัฐกับเอกชน เช่น ศูนย์ปฏิบัติงานฝนหลวง โรงเรียน อาสาสมัครฝนหลวง เป็นต้น
- กิจกรรมการโปรยเมล็ดพันธุ์พืชทางอากาศ ระหว่างวันที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์9 กรกฎาคม – สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กันยายน พระบาทสมเด็จพระปรมินท56กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งดำเนินการไปพร้อมกับการปฏิบัติการฝนหลวงในแต่ละวัน โดยเลือกพื้นที่การโปรยเมล็ดพันธุ์ในบริเวณ ป่าเสื่อมโทรมและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
สำหรับพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมการปลูกป่าและไม้ยืนต้น และกิจกรรมการโปรยเมล็ดพันธุ์พืชทางอากาศ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร แบ่งความรับผิดชอบโดยศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงแต่ละภูมิภาค ดังนี้
ภาคเหนือ รับผิดชอบโดยศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ
ปลูกป่าและไม้ยืนต้นบริเวณพื้นที่เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ ขนาดพื้นที่ 5 ไร่ ชนิดกล้าไม้ ได้แก่ ประดู่, ตะเคียน, ยางนา, มะขามป้อม, ขนุน, ชมพู่, มะม่วง ซึ่งได้รับการสนับสนุนกล้าไม้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแม่กวงอุดมธารา และดำเนินกิจกรรมโปรยเมล็ดพันธุ์พืชทางอากาศ ดำเนินการบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนา จ.เชียงใหม่ ขนาดพื้นที่ 9กรมฝนหลวงและการบินเกษตรกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ไร่ โดยใช้ชนิดเมล็ดพันธุ์ มะค่าโมง, มะขามป้อม, สมอพิเภกและสัก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รับผิดชอบโดยศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกป่าและไม้ยืนต้นบริเวณพื้นที่สาธารณประโยชน์ สระโศกเดือนห้า อบต.แดงใหญ่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ขนาดพื้นที่ 8กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ไร่ ชนิดกล้าไม้ ได้แก่ พะยูง, เต็ง, รัง, แดงและประดู่ และได้รับการสนับสนุนกล้าไม้จากศูนย์เพาะชำกล้าไม้ อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น และกิจกรรมโปรยเมล็ดพันธุ์พืชทางอากาศ ดำเนินการบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ขนาดพื้นที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กรมฝนหลวงและการบินเกษตรกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ไร่ โดยใช้ชนิดเมล็ดพันธุ์ มะค่าแต้และมะขามป้อม
ภาคตะวันออก รับผิดชอบโดยศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก
ปลูกป่าและไม้ยืนต้นบริเวณพื้นที่ชุมชนนาหลวง ต.บ้านด่าน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ขนาดพื้นที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ไร่ ชนิดกล้าไม้ ได้แก่ ประดู่, ยางนา, และตะแบก โดยได้รับการสนับสนุนกล้าไม้จากสำนักจัดการทรัพยากรที่ 9 สาขาปราจีนบุรี และกิจกรรมโปรยเมล็ดพันธุ์พืชทางอากาศ ดำเนินการบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติตาพระยา จ.สระแก้ว ขนาดพื้นที่ 6,9กรมฝนหลวงและการบินเกษตรกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ไร่ โดยใช้ชนิดเมล็ดพันธุ์ มะค่าโมง ประดู่ และแดง
ภาคกลาง รับผิดชอบโดยศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง
ปลูกป่าและไม้ยืนต้นบริเวณพื้นที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ขนาดพื้นที่ 7 ไร่ ชนิดกล้าไม้ ได้แก่ มะค่า โดยได้รับการสนับสนุนกล้าไม้จากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ และกิจกรรมโปรยเมล็ดพันธุ์พืชทางอากาศ ดำเนินการบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวและอุทยานแห่งชาติคลองลำงู ขนาดพื้นที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,5กรมฝนหลวงและการบินเกษตรกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ไร่ ชนิด เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ แบ่งออกเป็น ดำเนินการ ณ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ได้แก่ สาธร สีเสียด พฤกษ์ แดง และดำเนินการ ณ อุทยานแห่งชาติคลองลำงู ได้แก่ มะค่า ประดู่ ไผ่รวก
ภาคใต้ รับผิดชอบโดยศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้
ปลูกป่าและไม้ยืนต้นบริเวณพื้นที่สำนักเขื่อนไม้เต็ง อ.เมือง จ.ราชบุรี ขนาดพื้นที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ไร่ ชนิดกล้าไม้ ได้แก่ ประดู่, ยางนา, พะยูง, มะค่าโมง, แดง และรวงผึ้ง โดยได้รับการสนับสนุนกล้าไม้จากสถานีเพาะพันธุ์กล้าไม้ราชบุรี และกิจกรรมโปรยเมล็ดพันธุ์พืชทางอากาศ ดำเนินการบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี และอุทยานแห่งชาติไทยประจันต์ จ.ราชบุรี ขนาดพื้นที่ 6กรมฝนหลวงและการบินเกษตรกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ไร่ โดยใช้ชนิดเมล็ดพันธุ์ มะค่าโมง, ประดู่ และมะขามป้อมป่า
ทั้งนี้ กิจกรรมการปลูกป่าและไม้ยืนต้น กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้จัดทำ Application ระบบติดตามการปลูกต้นไม้ "Collector for ArcGIS" เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามและประเมินผล การดำเนินงานโครงการดังกล่าว อีกทั้งเพิ่มความสะดวกในการติดตามข้อมูลการปลูกต้นไม้ และพื้นที่ปลูกต้นไม้ อาทิ พื้นที่ปลูก ชื่อผู้ปลูก ชื่อต้นไม้ และการดูแลรักษา ซึ่งจะทำให้สามารถติดตามการปลูกต้นไม้ได้อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิผลในการปลูกต้นไม้ภายใต้โครงการอย่างยั่งยืนต่อไป โดยผู้สนใจสามารถ ดาวน์โหลดได้ทั้งในระบบ IOS และ Android เพื่อร่วมกิจกรรมและติดตามดูผลการปลูกไม้ของตนเอง