Blue Origin ปล่อยจรวด New Shephard อีกครั้ง – mu Space สร้างประวัติศาสตร์ให้เอเชีย

          บริษัท Blue Origin บริษัทสร้างอวกาศยาน ได้ปล่อยจรวด New Shephard ขึ้นสู่อวกาศแล้วในวันนี้ และเป็นครั้งแรกที่นำ payload น้ำหนักรวม 6 กิโลกรัมจากเอเชียขึ้นไป โดยบริษัทมิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศของไทย เป็นผู้ส่ง payload ดังกล่าวซึ่งบรรจุสิ่งของทดลองทางวิทยาศาสตร์จำนวนหลายชิ้นจากสถาบันวิจัยต่างๆ ในประเทศไทย
          ตามที่มีการประกาศ โดยบริษัท มิว สเปซ ก่อนหน้านี้ ทางบริษัทฯ เปิดเผยว่าบริษัทฯ ได้ส่งของขึ้นไปพร้อมกับ Payload เช่น อุปกรณ์ห้ามเลือด, Carbon Nanotube ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ จากภาครัฐ มหาวิทยาลัยต่างๆ และหน่วยงานด้านอวกาศของประเทศไทย ได้แก่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA), สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง และ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT)
          ในส่วนของบริษัท มิว สเปซนั้น ได้ส่งวัสดุผ้าสำหรับใช้ในการทดลองเพื่อการพัฒนาและผลิตเป็นชุดอวกาศและอุปกรณ์เครื่องแต่งกายต่างๆ และยังได้ส่งเสื้อฟุตบอลทีมชาติไทย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ระหว่างคนไทยกับมหกรรมฟุตบอลโลก และเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จในภารกิจช่วยเหลือทีมฟุตบอลและโค้ชทั้งวิทยาศาสตร์3 ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำหลวงเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา
          "ครั้งนี้เป็นการทดสอบการใช้งานของจรวด New Shepard เป็นครั้งที่ 9 ซึ่งประสบความสำเร็จอีกครั้ง และยังเป็นการแสดงถึงการส่ง payload พร้อมสิ่งของจากเอเชียขึ้นไปในอวกาศเป็นครั้งแรกอีกด้วย" เจมส์ เย็นบำรุง ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท มิว สเปซ กล่าว "ผมขอแสดงความยินดีกับทีมงานทุกคนของบริษัท มิว สเปซ และกับผู้ร่วมโครงการของเราทุกรายในประเทศไทยที่ได้ร่วมกันรวบรวมสิ่งของทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ สำหรับการปล่อยจรวดขึ้นไปในอวกาศสู่สภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ (microgravity) ในครั้งนี้ และนี่เป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำเร็จสำหรับความฝันในงานด้านอวกาศของคนไทย" เจมส์เสริม
Payload นี้จะขึ้นสู่อวกาศไปกับจรวด New Shepard ของบริษัท Blue Origin ซึ่งจรวด New Shepard เป็นจรวดที่สามารถปล่อยขึ้นสู่อวกาศและกลับมาลงจอดบนพื้นโลกในแนวดิ่งซึ่งสามารถบรรจุ payload ได้หลายร้อยปอนด์ต่อการปล่อยจรวด วิทยาศาสตร์ ครั้ง และในอนาคตจะนำนักบินอวกาศขึ้นไปได้ 6 ถึงคนโดยจะทะยานไปสู่ระดับความสูงกว่า วิทยาศาสตร์สถาบันวิจัยต่างๆสถาบันวิจัยต่างๆ กิโลเมตรซึ่งเป็นระดับความสูงที่เป็นที่ยอมรับโดยสากลว่าเป็นจุดที่เริ่มเข้าสู่อวกาศ
          "ทางบริษัท Blue Origin ขอแสดงความยินดีกับบริษัท มิว สเปซในฐานะที่เป็นผู้ส่ง payload ไปกับยาน New Shephard เป็นครั้งแรกในเอเชีย เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับความไว้วางใจให้เราเป็นผู้นำวิสัยทัศน์ของบริษัท มิว สเปซขึ้นไปสู่อวกาศ" Clay Mowry รองประธานกรรมการ บริษัท Blue Origin กล่าว
          บริษัท Blue Origin นั้นก่อตั้งโดย Jeff Bezos ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารและเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Amazon ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการริเริ่มให้มีการส่งมนุษย์ไปอยู่ในอวกาศ โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายน เทคโนโลยี558 นั้นจรวด New Shepard ของบริษัท Blue Origin ได้กลายเป็นจรวดลำแรกที่มีการปล่อยขึ้นสู่อวกาศและกลับมายังพื้นโลกโดยการลงจอดแบบแนวดิ่ง และเพียงไม่ถึงสองเดือนต่อมาจรวดลำเดิมนั้นก็ได้ขึ้นสู่อวกาศและกลับมาลงจอดยังพื้นโลกอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการนำจรวดกลับมาใช้ใหม่อันจะเป็นกุญแจสำคัญนำไปสู่อนาคตที่ผู้คนนับล้านจะมีการใช้ชีวิตและทำงานในอวกาศ
          บริษัท มิว สเปซ ก่อตั้งขึ้นในปี เทคโนโลยีสถาบันวิจัยต่างๆวิทยาศาสตร์7 เพื่อพัฒนาธุรกิจด้านเทคโนโลยีอวกาศและดาวเทียมซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) และ Smart Cities โดยบริษัทฯวางเป้าหมายที่จะปล่อยดาวเทียมของตัวเองขึ้นสู่อวกาศภายในปี เทคโนโลยีสถาบันวิจัยต่างๆเทคโนโลยีสถาบันวิจัยต่างๆ โดยใช้ยาน New Glenn ของบริษัท Blue Origin เป็นพาหนะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและต่อยอดสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจอวกาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
Blue Origin ปล่อยจรวด New Shephard อีกครั้ง – mu Space สร้างประวัติศาสตร์ให้เอเชีย
Blue Origin ปล่อยจรวด New Shephard อีกครั้ง – mu Space สร้างประวัติศาสตร์ให้เอเชีย
 
 
 

ข่าวสถาบันวิจัยต่างๆ+สถาบันวิจัยต่างวันนี้

โครงการร่วมวิจัยไบโอเทคได้รับทุนสนับสนุนจาก The European Commission กว่า 51 ล้านบาท

โครงการ Joining forces to exploit the mycobiota of Asia, Africa and Europe for beneficial metabolites and potential biocontrol agents, using-OMICS techniques หรือ MYCOBIOMICS นำโดย Prof. Marc Stadler จากสถาบัน Helmholtz Center for Infection Research (HZI), เยอรมนี ร่วมด้วย ดร.เจนนิเฟอร์ เหลืองสอาด ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค สวทช.) และสถาบันวิจัยต่างๆ จากยุโรปและแอฟริกา ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก The European Commission ภายใต้กรอบความร่วมมือ Horizon 2020-MSCA-RISE

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา มหาวิทยาล... HKUST จับมือ WeBank เปิดห้องปฏิบัติการร่วมด้านการธนาคารฮ่องกง-กวางตุ้ง — เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกง (HKUST) ...

บริษัท Blue Origin บริษัทสร้างอวกาศยาน ได... Blue Origin ปล่อยจรวด New Shephard อีกครั้ง – mu Space สร้างประวัติศาสตร์ให้เอเชีย — บริษัท Blue Origin บริษัทสร้างอวกาศยาน ได้ปล่อยจรวด New Shephard ขึ้น...

ทีเอ็นที สปอนเซอร์ Clinical Trial Forum ยกระดับไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางการแพทย์แห่งเอเชียแปซิฟิก

บริษัท ทีเอ็นที เอ็กซเพรส เวิลด์ไวด์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำธุรกิจขนส่งด่วนแบบครบวงจรจากประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นสปอนเซอร์การประชุม “Clinical Trial Forum Thailand 2010” ณ โรงแรมพูลแมน คิงเพา...

หัวเว่ย เปิดตัวโครงการ AI Developer Enablement Program

หัวเว่ย ประกาศเปิดตัวโครงการ AI Developer Enablement Program ที่งาน HUAWEI CONNECT 2018 โครงการนี้จะเปิดโอกาสให้หัวเว่ยได้ร่วมงานกับเหล่านักพัฒนา พันธมิตร มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยต่าง ๆ โดยหัวเว่ยจะใช้โครงการดังกล่าวเพื่อยกระดับระบบนิ...