“วิศวกรรมแห่งชาติ 2561” ร่วมโชว์นวัตกรรมวิศวกรรมเพื่อให้คนไทยก้าวทันเทคโนโลยีและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้เกิดแก่สังคมไทย

          ท่ามกลางคลื่นยักษ์ดิจิตอลและเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงฉับพลัน (Disrupt) และสร้างโมเดลใหม่ๆ ของคนไทย ธุรกิจอุตสาหกรรมไทยจำเป็นต้องเตรียมพร้อมเรียนรู้ เพื่อปรับตัวและพัฒนาอย่างยั่งยืนในบริบทที่เชื่อมต่อกับโลก
          ซึ่งในงาน "วิศวกรรมแห่งชาติ สัมมนาวิชาการ56ธุรกิจอุตสาหกรรม" หรือ National Engineering สัมมนาวิชาการวิศวกรรมแห่งชาติธุรกิจอุตสาหกรรม8 มีการจัดงานสัมมนาวิชาการด้านวิศวกรรมและงานแสดงผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีนวัตกรรรมวิศวกรรม โดยในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "Engineering for Society"Smart Engineering, Smart Life, Smart Nation - วิศวกรรมอัจฉริยะ เพื่อชีวิตทันสมัย สู่ประเทศไทยแห่งอนาคต" ในระหว่างวันที่ ธุรกิจอุตสาหกรรม - 3 พฤศจิกายน สัมมนาวิชาการ56ธุรกิจอุตสาหกรรม ณ ฮอลล์ 9 อิมแพค ฟอรั่ม ฮอลล์ 9 เมืองทองธานี 
          สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ถือได้ว่าได้รับกระแสตอบรับจากสมาชิกวิศวกร นิสิตนักศึกษา และคนทั่วไป ให้ความสนใจเข้าเยี่ยมชมงานและเข้าอบรมสัมมนาภายในเป็นจำนวนมาก โดยในส่วนของพื้นที่จัดแสดงผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีวิศวกรรม มีการจัดแสดงบูธที่น่าสนใจต่างๆ มากมาย นวัตกรรมจากการคิดค้น วิจัย พัฒนา ทั้งจากคณะวิศวกรรมหลายสถาบัน องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรชั้นนำระดับโลก เพื่อให้คนไทยก้าวทันเทคโนโลยีและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้เกิดแก่สังคมไทย 
          สำหรับไฮไลท์ที่น่าสนใจของงานวิศวกรรมแห่งชาติ สัมมนาวิชาการ56ธุรกิจอุตสาหกรรม ในครั้งนี้ มีอะไรบ้าง
          การเปลี่ยนบ้านธรรมดาให้เป็นบ้านอัจฉริยะ หรือ Smart Home ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิตอลและการสื่อสารมาควบคุมระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน ผ่าน Smart Devices คำสั่งเสียง หรือท่าทางการโบกมือ ซึ่งมีบริษัททั้งภาครัฐและเอกชนที่ร่วมนำผลิตภัณฑ์มาร่วมจัดแสดงภายในงาน อาทิ
          - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เรียกว่า "PEA Hive Platform" ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มระบบบริหารและจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะสำหรับบ้านพักอาศัย เพื่อเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการบริหารจัดการการใช้พลังงานภายในบ้านพักอาศัยและอาคารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
          - บริษัท ดิจิตอล โฟกัส ผู้จำหน่ายอุปกรณ์ / ซอฟต์แวร์ ระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร ที่ปีนี้นำแว่นตาVR 3 มิติ รุ่น DGF VR ที่แสดงผลให้เห็นชัด เสมือนจริง ไม่มีสะดุด และสามารถเล่นวิดีโอเป็นระบบพาโนรามาได้ และพิเศษปีนี้ได้นำอุปกรณ์เครื่องบินโดรนเอ็นเตอร์ไพร์ส ที่ได้ร่วมไปปฏิบัติการพิเศษ บินสำรวจโพรงถ้ำ พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนจากร่างกายมนุษย์ ในภารกิจช่วยน้องๆ ทีมหมูป่าที่ถ้ำเขาหลวง ขุนน้ำนางนอน มาร่วมโชว์ภายในงานด้วย
          - รถยนต์ไฟฟ้า นอกจากจะมีค่ายรถนำรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งที่เป็นรถยนต์ รถมอเตอร์ไซส์ และรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก นำมาโชว์และให้สอบถามรายละเอียดภายในงานแล้ว ยังมีการนำรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก ในโครงการ "ซียู โตโยต้า ฮา:โม" มาให้ผู้ที่สนใจได้ทดลองขับภายในงานอีกด้วย
          - การประปานครหลวง ได้คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมสำหรับการตรวจสอบสภาพท่อ หาตำแหน่งจุดแตกรั่ว โดยการใช้หุ่นยนต์เข้าไปสำรวจในท่อประปาแทน ในชื่อโครงการ หุ่นยนต์สำรวจภายในท่อประปา ไกรทอง ซึ่ง ไกรทองสามารถช่วยให้การประปานครหลวง สามารถลดการสูญเสียน้ำในจุดงานที่หาตำแหน่งรั่วได้ยาก นอกจากนี้ ยังมีชุดอุปกรณ์วิเคราะห์เสียงน้ำรั่วแบบพกพา ให้ศึกษาและสอบถามรายละเอียดได้
          - บูธ ปตท. ได้นำเครื่องช่วยเดิน "Brain Machine Interaction System" สำหรับผู้ที่เป็นอัมพฤต อัมพาต ได้ฝึกการเดิน โดยมีระบบสั่งการแบบ Real Time จากสมอง โดยปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา คาดว่าไม่เกิน 3-5 ปีนี้ จะมีการนำเครื่องนี้ไปอยู่ในแผนกกายภาพตามโรงพยาบาลต่างๆ นอกจากนี้ ทาง ปตท. ยังได้นำนวัตกรรมโดรน MPIO ที่ใช้สำหรับการสำรวจปล่องไฟและท่อแก๊สทางอากาศ และเครื่องสำรวจทางน้ำ AUV มาให้ยลโฉมภายในงาน
          - บูธ SCG กับนวัตกรรมระบบผนังมวลเบาเสริมโครงเหล็ก
          - บูธคลินิกช่าง บริการให้คำปรึกษา "ฟรี" ปัญหาเรื่องบ้าน บ้านทรุด บ้านร้าว และปัญหาทางวิศวกรรมต่างๆ โดยวิศวกรอาสาผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา
          - นิทรรศการพิเศษ "ปฏิบัติการด้านวิศวกรรมถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย" ที่เราได้จำลองบรรยากาศภายในถ้ำหลวงฯ เพื่อแสดงให้เห็นว่างานด้านวิศวกรรมได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจครั้งสำคัญนี้อย่างไรบ้าง และหากแวะไปที่บูทจะได้พบกับพี่ๆ วีรบุรุษที่ได้ร่วมลงพื้นที่ไปปฏิบัติภารกิจพิเศษนี้ สามารถไปร่วมให้กำลังใจได้ที่งานนะครับ
          - โซนกิจกรรมจัดการแข่งขัน โดยจัดแข่งผ่านพ้นไปแล้วกับการแข่งขันการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ในงานเชื่อมอุตสาหกรรม ครั้งที่ ธุรกิจอุตสาหกรรม โดยมีทีมจากวิทยาลัยเทคนิคสระบุรี ชื่อทีม Charity เป็นทีมชนะเลิศได้เงินรางวัล 3วิศวกรรมแห่งชาติ,วิศวกรรมแห่งชาติวิศวกรรมแห่งชาติวิศวกรรมแห่งชาติ บาท พร้อมโล่รางวัล และกำลังจัดการแข่งขันอากาศยานไร้คนขับ กรณีดับเพลิง (Drone for Firefighting)
          นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมอีกหลากหลายหน่อยงานที่ยังไม่ได้กล่าวถึง เชิญชมและสัมผัสผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีนวัตกรรรมวิศวกรรมแห่งประเทศไทยฯ ได้ที่งาน "วิศวกรรมแห่งชาติ สัมมนาวิชาการ56ธุรกิจอุตสาหกรรม" (National Engineering สัมมนาวิชาการวิศวกรรมแห่งชาติธุรกิจอุตสาหกรรม8) จนถึงวันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน สัมมนาวิชาการ56ธุรกิจอุตสาหกรรม ณ ฮอลล์ 9 อิมแพค ฟอรั่ม ฮอลล์ 9 เมืองทองธานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่www.nationalengineeringธุรกิจอุตสาหกรรม8.com หรือ facebook.com/NationalEngineeringByEIT
“วิศวกรรมแห่งชาติ 2561” ร่วมโชว์นวัตกรรมวิศวกรรมเพื่อให้คนไทยก้าวทันเทคโนโลยีและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้เกิดแก่สังคมไทย
 


ข่าววิศวกรรมแห่งชาติ+ธุรกิจอุตสาหกรรมวันนี้

วสท.เตรียมจัดงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2562 วันที่ 13-15 พ.ย.62 อิมแพ็ค โฟรั่ม

กลางกระแสคลื่นเศรษฐกิจผันผวนและคลื่นดิจิทัลที่ถาโถม หลายคนมีคำถามว่าปีหน้า 2020 ภูมิทัศน์ใหม่ของไทยจะเปลี่ยนไปอย่างไร? งานของคน 1.8 ล้านคนจะตกเป็นของ AI หรือ ? "โอกาส" และ "หนทางรอด" ของอนาคตผู้ประกอบการจะเป็นอย่างไร? วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) แถลงเตรียมจัดงานวิศวกรรมแห่งชาติปี 2562 ซึ่งเป็นงานจัดแสดงนิทรรศการทางวิศวกรรมใหญ่ที่สุดในประเทศ และเชิญ 4 กูรู ร่วมเวทีเสวนา เรื่อง "ภูมิทัศน์ใหม่ของธุรกิจอุตสาหกรรมไทย ปี2020...ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น" งานวิศวกรรมแห่งชาติ 2562

ปีละครั้งเปิดมุมมองและอัพเดทกับนวัตกรรมแล... วสท. เชิญร่วมสัมมนาฟรี...ในงาน วิศวกรรมแห่งชาติ 2561 National Engineering 2018 — ปีละครั้งเปิดมุมมองและอัพเดทกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ วิศวกรรมสถานแห่ง...

นายอังกูร แซ่โง้ว (ที่ 2 จากขวา) ผู้จัดกา... "DEXON" ร่วมเป็นวิทยากรในงาน วิศวกรรมแห่งชาติ ปี 2566 — นายอังกูร แซ่โง้ว (ที่ 2 จากขวา) ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ และนายชยุต กรานพิกุล (ที่ 1 จากซ้าย) ผู้จ...

บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด หรือ SYS ผู... SYS ยกทัพนวัตกรรมโครงสร้างเหล็กคุณภาพจัดแสดงในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2566 — บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด หรือ SYS ผู้ผลิตเหล็กเอชบีม ไวด์แฟลงก์ มานานกว่า 25...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้นำว... วิศวะมหิดล ผนึกความร่วมมือไทย-อังกฤษ กับ Royal Academy of Engineering — คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้นำวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้รับการรับรองหลักสูตรมา...