นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในฐานะผู้สนับสนุนให้เกิดการผลิตสื่อที่ดีสำหรับเยาวชน เปิดเผยว่า "กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึง เข้าใจ และฉลาดใช้สื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ด้วยนิเวศสื่อที่ดี และมีพันธกิจสำคัญในการส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนมีทักษะในการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ จึงได้ร่วมกับสถาบันอาศรมศิลป์ ดำเนิน "โครงการสร้างต้นแบบสื่อและองค์ความรู้เพื่อพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์" ขึ้น โดยเรามุ่งหวังที่จะส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศสื่อที่ดีให้กับสังคมไทยในยุคสมัยที่ทุกคนสามารถเป็นนักสื่อสารได้ในชั่วพริบตา และผู้ส่งสารไม่ได้ผูกขาดเพียงนักสื่อสารมวลชนอีกต่อไป ซึ่งระบบนิเวศสื่อที่ดีนั้นจะเกิดขึ้นได้ย่อมต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ ในการเข้าถึงและรู้จักใช้ประโยชน์จากสื่ออย่างแท้จริง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะด้านการศึกษา ด้านสื่อสารมวลชน จะต้องมาร่วมกันประสานพลังเครือข่ายในการสร้างห้องเรียนการจัดทำสื่อ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันการเท่าทันสื่อ จากการบ่มเพาะ ปลุก และ ปลูกเยาวชนสู่การเห็นคุณค่าของการเป็นนักสื่อสารสร้างสรรค์ ที่จะร่วมกันสร้างวัฒนธรรมสังคมฐานความรู้ให้แก่สังคมไทยต่อไปในอนาคต"
นางสาวอภิษฎา ทองสอาด ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา สถาบันอาศรมศิลป์ ในฐานะผู้จัดการโครงการสร้างต้นแบบสื่อและองค์ความรู้เพื่อพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า "จากการค้นหาและประสานพลังเครือข่ายร่วมปฏิบัติการสร้างห้องเรียนการจัดทำสื่อด้วยการบ่มเพาะนักสื่อสารสร้างสรรค์รุ่นใหม่ เพื่อให้สื่อทำหน้าที่เป็นโรงเรียนของสังคมกว่า 6 เดือน ในกระบวนการทำงานตั้งแต่การหาจุดสมดุลย์ของคำว่า "สื่อสร้างสรรค์" กับ "การสร้างห้องเรียนการจัดทำสื่อ" ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ทัศนคติของ เยาวชนคนรุ่นใหม่ การค้นหาคัดเลือกโครงการ เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่การเรียนรู้ใหม่ของสังคมไทยทั้งในระบบ และนอกระบบ เพื่อปลุกและปลูกการเป็นนักสื่อสารที่สร้างสรรค์ในยุคปัจจุบัน จนได้ "ต้นแบบสื่อสร้างสรรค์การเรียนรู้" ที่เกิดจากพลังเยาวชนใน 4 โครงการ ได้แก่
"จากการที่เราได้ไปร่วมติดตามการเรียนรู้ของทั้งสี่โครงการ เราพบจุดร่วมที่สำคัญ คือ แม้เยาวชนคนรุ่นใหม่จะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี และสามารถใช้สื่อได้อย่างรวดเร็ว แต่สิ่งสำคัญพวกเขาเหล่านั้นยังคงต้องการการรับฟังและการเปิดเวทีให้พวกเขาได้แสดงความเป็นตัวเอง โดยมีผู้ชี้ทางเปิดพื้นที่และหนุนเสริมพวกเขาให้มีห้องเรียนที่หลากหลายและเปิดกว้างทั้งห้องเรียนครอบครัว ห้องเรียนชุมชน ห้องเรียนสังคม เพื่อให้พวกเขามีภูมิคุ้มกันในการรับและส่งสารสู่สังคมอย่างมีคุณค่าต่อไป" อภิษฎา กล่าว
นอกจากนี้ ในวงเสวนาเยาวชน นางสาววัลย์ลดา ศุภทรงกลด และนายนัทธิ์ เลาหระวี นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนรุ่งอรุณ ผู้สร้างหนังสือต้นแบบหัวใจแห่งชุมชนที่ชื่อว่า "ทุ่งหยีเพ็ง : บ้านอุ่น ป่าเย็น" เกาะลันตา จ.กระบี่ เพื่อเชื่อมโยงวิถี ชีวิตชุมชนในการดูแลวัฒนธรรมและรักษาป่าด้วยการพึ่งพากันทั้งระบบจนเกิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ "เริ่มต้นจากการที่ พวกเราได้ลงไปทัศนศึกษาในพื้นที่ แล้วมีพี่ชาวบ้านมาชวนให้ทำข้อมูลของชุมชน พวกเราพบว่า หมู่บ้านแห่งนี้มีป่าชายเลนที่ ชาวบ้านพยายามฟื้นฟูให้เป็นป่าชุมชน โดยดึงคนที่ออกไปทำงานนอกชุมชนให้กลับมาอยู่กับครอบครัวและสร้างรายได้จาก ทรัพยากรในชุมชนที่มี จนเกิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ มีที่พักแบบโฮมสเตย์ การจัดทำหนังสือเป็นเหมือนพันธสัญญาทางใจของเรากับชาวบ้านชุมชน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วชาวบ้านสามารถนำไปใช้ต่อยอดในพื้นที่ได้จริง สิ่งนั้นเป็นความภูมิใจของพวกเรามาก"ในขณะที่ นายต้นตระการ บำรุง นักสื่อสารต้นแบบในศูนย์สื่อพลเมืองในโครงการติดอาวุธสื่อเด็กบ้านนอก กล่าวว่า "ผมมองว่า การสื่อสารที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ ทำอย่างไรที่จะสื่อสารในเนื้อหาที่มีความรับผิดชอบ และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน และสังคม จึงสร้างสื่อต้นแบบเพื่อการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่กรุงหยัน จ.นครศรีธรรมราช ขึ้นในเรื่อง "แลกรุงหยัน" และได้รับการตอบรับจากรุ่นพี่นักสื่อสารในศูนย์สื่อพลเมือง และชุมชนผู้รับสื่อในพื้นที่เป็นอย่างดี"
นอกเหนือจากสื่อที่อยู่ในรูปแบบหนังสือแล้ว การสื่อสารในรูปแบบออนไลน์ก็เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความนิยมและให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยนางสาวณิชา ตันติศิริวิทย์ โปรดิวเซอร์จาก วาย น็อต โซเชี่ยล เอ็นเตอร์ไพร์ส ในโครงการสื่อต้นแบบการเดินทางเพื่อสื่อสารคุณค่าจากป่าตะวันตก (Curious Journey – Brew by forest) เล่าว่า "เราใช้กาแฟเป็นเครื่องมือในการบอกกล่าวเล่าเรื่องให้ผู้ติดตามเพจ Gogetlost ที่เราเชิญมาร่วมเดินทางเห็นการเดินทางที่บันทึกแต่เรื่องราวที่น่าค้นหาจากการปลูกกาแฟของชาวบ้านแม่กลองน้อย จ.ตาก ซึ่งสามารถทำมาหากินตามวิถีของเขาโดยอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน"
นางสาวชลธิชา กาญจนศิริสมบัติ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี ในโครงการวิกินักศึกษาเพื่อจัดทำวิกิพีเดียไทย ได้แชร์ประสบการณ์การใช้ Wiki เป็นเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ผ่านการค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่านโลก Wiki ออนไลน์ ว่า "ครั้งแรกที่เริ่มทำ เราเสนอประเด็นแฟนคลับเกาหลี แต่เมื่อเพิ่มบทความเข้าไปในวิกิพีเดีย วันต่อมาถูกระบบลบออก หลังจากนั้น เราเริ่มใหม่โดยเติมบทความเพิ่มเติมเรื่อง "อีลอน มัสส์" ปรากฏว่า ข้อมูลที่เติมในบทความชิ้นนี้ได้รับการยอมรับ และยังปรากฏอยู่ในวิกิพีเดีย ซึ่งทำให้เราได้เรียนรู้ว่า แม้ในแวดวงวิชาการอาจจะตัดสินว่าข้อมูลจาก Wikipedia เชื่อถือไม่ได้ แต่ความเป็นจริง มีอาสาสมัครตรวจสอบข้อเท็จจริงอยู่ ดังนั้นการที่เราจะใส่ข้อมูลอะไรลงไปใน Wikipedia จำเป็นต้องมีหลักฐานอ้างอิงที่มาที่ไป เพื่อสุดท้ายแล้ว สังคมจะเกิดการแบ่งปันองค์ความรู้ที่เต็มไปด้วยข้อมูลที่มีคุณภาพ"
HTML::image(