เงินเฟ้อไทยต่ำจริงมั้ย แล้วดอกเบี้ยควรขึ้นเมื่อไหร่

          ประเทศไทยใช้อัตราเงินเฟ้อในการกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงิน โดยมีกรอบเป้าหมายอยู่ในช่วง 1-4% แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อของไทยกลับเฉลี่ยไม่เกิน 1% ต่อปี ทำให้ ธปท. ยังต้องคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1.5% เป็นระดับที่เกือบต่ำสุดที่เคยมีมาและสูงกว่าในช่วงที่วิกฤต Subprime เพียง 0.25% อีกทั้งการสำรวจภาวะค่าครองชีพของผู้บริโภคโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในเดือนมกราคมที่ผ่านมาปรับแย่ลงกว่าในเดือนก่อนหน้าและประชาชนยังรู้สึกว่าภาวะค่าครองชีพยังสูงกว่าระดับปกติ จึงเกิดคำถามว่าราคาสินค้าของไทยต่ำจริงหรือไม่
          หากลองพิจารณาองค์ประกอบที่เป็นสัดส่วนค่อนข้างใหญ่ในตะกร้าเงินเฟ้อ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัย การเดินทาง และการสื่อสาร นั้น ราคาแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยที่เป็นสัดส่วนกว่า 1 ใน 4 ของตะกร้าเงินเฟ้อ ในช่วงสามปีที่ผ่านมาทั้งค่าเช่าบ้าน ค่าอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน และค่าน้ำค่าไฟแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลย อีกทั้ง ค่าครองชีพในด้านการเดินทางทั้งการซื้อยานพาหนะและค่าอะไหล่รถยนต์ที่มีสัดส่วนถึง 16% ก็แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงจากสามปีที่แล้ว ในขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านการติดต่อสื่อสารไม่ขยายตัวเลยมาร่วม 10 ปีแล้ว ทั้งในแง่อุปกรณ์สื่อสารและค่าบริการ เป็นต้น ซึ่งตัวเลขดังกล่าวอาจไม่ได้สะท้อนภาระค่าใช้จ่ายในความรู้สึกของบุคคลทั่วไปได้ดีเท่าใดนัก
          นอกจากนี้ ในยุคที่โลกเชื่อมโยงกันมากขึ้น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเป็นไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการขนส่งสินค้าสะดวกสบายขึ้น ผู้ประกอบการไทยจึงมิได้แข่งขันเฉพาะกับผู้ประกอบการในประเทศเท่านั้น แต่ยังต้องแข่งขันกับผู้ผลิตในต่างประเทศที่อาจมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ทำให้เกิดการแข่งขันรุนแรง ดังนั้น เพื่อรักษาฐานลูกค้าและคงยอดขายในระดับเดิมไว้ แม้ต้นทุนหลายรายการจะทยอยปรับเพิ่มขึ้น เช่น ค่าจ้าง พลังงาน แต่ธุรกิจก็อาจไม่สามารถคงหรือเพิ่มสัดส่วนกำไรได้ จึงอาจเป็นแรงกดดันเงินเฟ้อไทยให้อยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่ค่าเงินบาทที่แข็งค่าก็มีส่วนทำให้การนำเข้าสินค้าต่างๆ มีราคาถูกลงเมื่อแปลงเป็นเงินไทย อีกทั้ง ยังมีปัจจัยทางด้านอุปทานอื่นๆ ทั้งจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และราคาอาหารสดที่ขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศ ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของนโยบายการเงินของไทย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ
          จะเห็นว่าหลายปัจจัยข้างต้นซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่มีน้ำหนักกดดันให้ตัวเลขเงินเฟ้อไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น ในปีนี้อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะแตะขอบล่างของเป้าหมายแม้ยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก ประกอบกับเศรษฐกิจโดยรวมก็ฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง จึงอาจถึงเวลาที่ ธปท. จะสามารถเริ่มขึ้นดอกเบี้ย เพื่อลดความเสี่ยงจากพฤติกรรม Search for yield และเพื่อเก็บกระสุนไว้รับมือวิกฤตต่างๆที่อาจมากระทบเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนอยู่?
 
 

ข่าวศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี+มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยวันนี้

ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี พบ 9 ปัญหาดราม่าทายาทธุรกิจ พร้อมแนะ 3 ทางออก “ปรับพื้นฐาน - สร้างความเชื่อมั่น – ผสานการบริหาร”

ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี เผยผลงานวิจัยปัญหาและทัศนคติในหัวข้อ "9 ดราม่าทายาทธุรกิจ รุ่น 2 ทางเลือก-ทางรอดของเอสเอ็มอี4.0" พบปมปัญหา ทั้งเรื่องขาดความรู้ ขาดประสบการณ์ ไม่มีอำนาจการบริหารที่แท้จริง และไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากทั้งภายในและภายนอกบริษัท พร้อมแนะนำ 3 ทางออกแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ ได้เปิดตัว TMB SME Insights เว็บไซต์ คอมมูนิตี้ฮับ ที่รวบรวมความรู้ ข่าวสารใหม่ๆ และบทความวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ เพื่อ

นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหา... ทีเอ็มบีหั่นเป้าเศรษฐกิจเหลือโต 3% มองปัจจัยบวกจากรัฐบาลใหม่หนุนเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง — นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเ...

5 พืชเศรษฐกิจ ชี้นำเศรษฐกิจภูมิภาค

TMB Analytics ชี้ปี 2560 ราคามันสำปะหลังและข้าวแนวโน้มสดใส ดันเศรษฐกิจภาคเหนือ อีสานคึกคัก อ้อย ยาง ปาล์ม ปริมาณผลผลิตเพิ่ม ชดเชยกับราคาที่ลดลง แนะเกษตรกรรวมตัวลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ควบคู่กับภาครัฐเพิ่มการใช้ในประเทศเพื่อลดพึ่งพิงการส่งออก ศูนย์วิ...

เงินเฟ้อไทยต่ำจริงมั้ย แล้วดอกเบี้ยควรขึ้นเมื่อไหร่

ประเทศไทยใช้อัตราเงินเฟ้อในการกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงิน โดยมีกรอบเป้าหมายอยู่ในช่วง 1-4% แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อของไทยกลับเฉลี่ยไม่เกิน 1% ต่อปี ทำให้ ธปท. ยังต้องคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1.5% เป็นระดับที่เกือบต่ำสุดที่เคยมีมา...

อัตราดอกเบี้ยไทย ถึงเวลาต้องขึ้นหรือยัง

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics มองว่า ธปท.มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยได้ในปีนี้โดยจะเป็นการขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากอัตราดอกเบี้ยโลกที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง เพื่อลดพฤติกรรม Search for yield โดยผลกระทบต่อ...

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB ... บาทแข็ง ค่าแรงเพิ่ม ธุรกิจไหนเจ็บ — ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินเงินบาทแข็งค่าบวกค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น กำไรหดเฉลี่ย 0.6...

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เผยความเช... SME ความเชื่อมั่นด้านรายได้ฟื้น กังวลค่าแรงขั้นต่ำกระทบต้นทุนกิจการปีจอ — ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เผยความเชื่อมั่น SME ด้านรายได้ในไตรมาส 4 เพิ่มข...

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) จัดงานสัมมนา Capital Market Outlook “เศรษฐกิจไทยขยับ เตรียมรับเทคโนโลยีเปลี่ยน”

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) ขอเชิญผู้สนใจร่วมงานสัมมนา Capital Market Outlook "เศรษฐกิจไทยขยับ เตรียมรับเทคโนโลยีเปลี่ยน" โดยได้รับเกียรติจาก ดร. วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย...

ดอกเบี้ยไทยต่ำกว่าดอกเบี้ยเฟด ไม่เป็นไรจริงหรือ

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ยังคงมุมมองเดิมว่าธปท.จะคงดอกเบี้ยนโยบายตลอดปีนี้ แต่จะเริ่มมีแรงกดดันให้ต้องปรับขึ้น จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐฯที่ลดลง ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward...