จุฬาฯ ผลักดันนวัตกรรมแห่งสยามเข้าถึงแหล่งทุน 100 ล้าน พร้อมสร้างระบบการสนับสนุนนักธุรกิจนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนฐานรากแห่งสยาม

          รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ผู้อำนวยการโครงการเมืองนวัตกรรมแห่งสยาม (Siam Innovation District หรือ SID) ภายใต้การดำเนินงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า "จุฬาฯ ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนา หรือขับเคลื่อนธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีนวัตกรรมเพื่ออนาคตของประเทศ และเอสเอ็มอีด้วยนวัตกรรม จึงได้สนับสนุนเงินทุนจำนวน เมืองนวัตกรรมแห่งสยามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ล้านบาท สำหรับนวัตกรรมเพื่ออนาคตของประเทศ และเพื่อการสนับสนุนให้นวัตกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริงในระยะสั้น ตามจุดประสงค์ของทุนดังกล่าว จุฬาฯ จึงได้จัดงาน SID Innodating "นักคิด คู่นักปฏิบัติ ร่วมพัฒนานวัตกรรมไทย" เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย56จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นมหกรรมจับคู่ครั้งใหญ่ระหว่างนักคิดที่มี Idea กับนักปฏิบัติฉบับ Ido มาเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นจริง จะเป็นเหมือนสื่อกลางช่วยรวมตัวผู้สนใจในเรื่องนวัตกรรมทั้งฝั่งที่เป็นนักคิด มาพบปะ พูดคุย ทำความรู้จัก กับฝั่งที่เป็นนักปฏิบัติ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายช่วยกันต่อยอดทางความคิด สร้างเครือข่ายระหว่างกัน ที่สำคัญ คือการนำไปสู่ความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในการพัฒนานวัตกรรมไทยให้ก้าวหน้าและมีความยั่งยืนในระยะยาว" 
          ผู้ประกอกการต้องมีวินัยในการปรับตัวและเรียนรู้
          นายทารีฟ เจฟเฟอร์ลี ผู้คิดค้นแอพพลิเคชั่น Chatterbox บริษัท Chatterbox จำกัด สตาร์อัพที่ประสบความสำเร็จ และเป็น เมืองนวัตกรรมแห่งสยาม ใน เมืองนวัตกรรมแห่งสยามณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย พี่เลี้ยงให้กับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในครั้งนี้ กล่าวว่า ผู้ประกอบการต้องมีวินัยในการเรียนรู้ตลาดและปรับตัว ผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จต้องรู้ว่าเราสร้างผลิตภัณฑ์นั้นมาแก้ไขปัญหาอะไร ใครเป็นผู้ใช้ และจะดำเนินการเรื่องต่าง ๆ อย่างไร สตาร์อัพไม่ควรแข่งขันแย่งลูกค้าและตลาดกันเอง แต่ควรแข่งกันเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค 4.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่การใช้ดิจิทัลผสมผสานลงในกิจการต่าง ๆ อย่างแยกไม่ออก อีกทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสิ่งทีสำคัญ หรือการทำ Primary Market Research เป้าหมายก็คือให้ได้รู้จักลูกค้าของเรานั่นเอง ให้เราเข้าไปสัมภาษณ์ตัวต่อตัวกับลูกค้า มี เมืองนวัตกรรมแห่งสยาม คนสัมภาษณ์และอีก เมืองนวัตกรรมแห่งสยาม คนจดบันทึก เพื่อที่จะได้รู้ถึงมุมมองของลูกค้าในปัญหาที่เรากำลังจะเข้าไปแก้ ให้ลูกค้าได้อธิบายให้เต็มที่ และถ้าเป็นไปได้ก็ให้เข้าไปสังเกตการณ์ในสถานการณ์ที่ลูกค้าบอกว่าเป็นปัญหา ดูพฤติกรรมว่าเขาทำอย่างไรเวลาเกิดสิ่งนั้นขึ้น เพราะบางทีผู้ประกอบการเองก็อาจจะได้ไอเดียในการแก้ปัญหาแบบใหม่ก็เป็นได้
          โดยโครงการส่งเสริมนวัตกรรมแห่งสยาม เมืองนวัตกรรมแห่งสยามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย SID นายทารีฟ เจฟเฟอร์ลี ได้มาเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพไฟแรง ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ท่านได้แก่ นางสาวปณีดา ฟองพิกุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุทัศน์ จันบัวลา
          นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนฐานราก
          นางสาวปณีดา ฟองพิกุล นักวิทยาศาสตร์ที่เป็นนักการตลาดให้กับแบรนด์เครื่องสำอางระดับโลกรายใหญ่ ได้เดินทางไปทั่วทุกแห่งหน เป็นผู้ก่อตั้ง Siam Innoventure Drive (SID) และเจ้าของแบรนด์ Location-Based Marketing Man (Lmm) ที่เน้นการใช้ Google Local Guide ในการสร้างความเชื่อมั่นของชุมชน และ Google My Business ซึ่งเป็น เมืองนวัตกรรมแห่งสยาม ใน 55 ทีมที่ผ่านมากคัดเลือก กล่าวว่า นวัตกรรมที่เหมาะสมกับเมืองไทย ไม่สามารถไปมุ่งเน้นที่จะตอบสนองคนเมืองที่มีโอกาสมากกว่าอยู่แล้ว แต่เป็นการลดความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงตลาดและเทคโนโลยีเพื่อสร้างธุรกิจขนาดเล็กตามภูมิภาคต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดทั้งแรงบันดาลใจ และเครื่องมือที่ใช้งานง่าย ทั้งตัวธุรกิจเป้าหมายขนาดเล็กและการแสดงพันธกิจของโครงการไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของเมืองไทยได้ เพื่อเป็นการสร้างสตาร์ทอัพขึ้นมาและอยู่ได้อย่างยั่งยืน 
          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุทัศน์ จันบัวลา นักวิจัยและกรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีที ครีเอทีฟ เจ้าของแบรนด์เม็ดดินมวลเบาธรรมชาติ TUSSU for SID ผู้ที่ได้รับรางวัลและทุนวิจัยมามากมายเป็น เมืองนวัตกรรมแห่งสยาม ใน 55 ทีมที่ผ่านมการคัดเลือก เมื่อได้โอกาสการสนับสนุนจาก SID (Siam Innovation District) ก็ได้ทุ่มเท ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตเม็ดดินมวลเบา เม็ดดินชีวภาพ เม็ดดินอินทรีย์ ที่ใช้ในการเกษตรและเม็ดดินอโรม่า เพื่อใช้สำหรับธุรกิจสปา เพื่อให้ SID นำไปใช้ประโยชน์ทั้งในและนอกสถานที่ และเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่บูรณาการทั้งศาสตร์และศิลป์จากภูมิปัญญาชาวบ้านและองค์ความรู้งานวิจัยระดับนานาชาติอย่างลงตัว นอกจากนี้ยังใช้ช่องทางการสร้างธุรกิจจาก Location-Based Marketing Man (Lmm) ของคุณปณีดา ในการการแนะนำและกระจายสิ้นค้าและบริการตัวนี้ทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยนำความเจริญจากนวัตกรรมสู่ชุมชนอย่างกระจายตัว ถือเป็นการผสมผสานระหว่าง Digital และ Agricultural Development ได้อย่างเหมาะสมลงตัว
จุฬาฯ ผลักดันนวัตกรรมแห่งสยามเข้าถึงแหล่งทุน 100 ล้าน พร้อมสร้างระบบการสนับสนุนนักธุรกิจนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนฐานรากแห่งสยาม
 

ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+เมืองนวัตกรรมแห่งสยามวันนี้

จุฬาฯ ผนึก สมช. และกองทัพเรือ ลงนามความร่วมมือ จัดตั้ง "องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย"

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และกองทัพเรือ (ทร.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วย "การจัดตั้งและขับเคลื่อนองค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย" เพื่อวางรากฐานในการเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ทางทะเลระดับประเทศ เมื่อวันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุม 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ โดยมี พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงาน จากนั้นผู้แทนจากทั้งสามหน่วยงาน ได้แก่ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร

บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำก... SNPS ต้อนรับนิสิตจุฬาฯ ถ่ายทอดองค์ความรู้ "นวัตกรรมสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน" — บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SNPS ให้การต้อ...

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไทยเ... นิทรรศการ "รัตนแห่งจุฬาฯ" 28 มีนาคม ถึง 3 เม.ย.นี้ ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ — คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไทยเบฟเวอเรจ และสามย่านมิตรทาวน์ ร...