(รูปภาพ: http://prw.kyodonews.jp/opn/release/201711077689/?images )
นอกจากนี้ ภาพยนตร์เรื่อง ""Passage of Life"" ยังคว้ารางวัล Best Asian Future Film Award ส่วนรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดของงานอย่าง Tokyo Grand Prix ตกเป็นของภาพยนตร์เรื่อง ""Grain"" ของผู้กำกับ Semih Kaplanoglu
กิจกรรม CROSSCUT ASIA ของ The Japan Foundation Asia Center เป็นการฉายภาพยนตร์เอเชียที่เจาะจงประเทศ ผู้กำกับ และธีม โดย CROSSCUT ASIA สามครั้งแรกเจาะจงไปที่ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ส่วนครั้งที่ 4 นี้เจาะจงที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) โดย CROSSCUT ASIA ได้ฉายภาพยนตร์ 13 เรื่องจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยภาพยนตร์เรื่องยาว 9 เรื่อง และหนังสั้น 4 เรื่อง ตลอดการจัดเทศกาลตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม ถึง 3 พฤศจิกายน
CROSSCUT ASIA ปีนี้เน้นไปที่การส่งไม้ต่อของผู้กำกับชั้นครูสู่ผู้กำกับรุ่นใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการแนะนำภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น ""Kristo"" (2016) ของผู้กำกับ HF Yambao ซึ่งแนะนำโดย Brillante Ma Mendoza, ""Pop Aye"" (2017) ของผู้กำกับ Kirsten Tan ซึ่งแนะนำโดย Eric Khoo, ""In April the Following Year, There Was a Fire"" (2012) ของผู้กำกับวิชชานนท์ สมอุ่มจารย์ ซึ่งแนะนำโดยอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล รวมถึงหนังสั้นหลายเรื่องจากผู้กำกับรุ่นใหม่ของกัมพูชาซึ่งแนะนำโดย Rithy Panh
ในวันที่ 27 ตุลาคม Kirsten Tan ผู้กำกับเรื่อง ""Pop Aye"", B.W. Purba Negara ผู้กำกับเรื่อง ""Tales of the Otherwords"", HF Yambao ผู้กำกับเรื่อง ""Kristo"" และ Brillante Ma Mendoza ผู้แนะนำภาพยนตร์เรื่อง ""Kristo"" ได้มาประชุมร่วมกับ Kenji Ishizaka ผู้อำนวยการจัดกิจกรรม CROSSCUT ASIA #04 โดย Tan กล่าวว่า เธอประสบอุปสรรคในการกำกับนักแสดงจำนวนมากและสัตว์ที่ปรากฏภาพยนตร์ ""ช้างน่าจะเป็นนักแสดงที่ดีที่สุดในหนังเพราะมันไม่แสดง มันแค่ทำสิ่งที่มันทำอยู่แล้ว"" ขณะเดียวกัน Negara ได้แบ่งปันประสบการณ์การทำงานร่วมกับนักแสดงที่ไม่ใช่มืออาชีพ ซึ่งรวมถึงนักแสดงวัย 95 ปี ""บางครั้งเธอพูดสิ่งที่ไม่มีในบทและบางครั้งก็พูดนานเกินไป แต่ไม่เป็นไร เพราะมันเป็นภาพยนตร์สารคดี"" นอกจากนี้ Yambao ซึ่งได้รับคำปรึกษาจาก Mendoza ได้เผยถึงการทำงานด้วยงบประมาณที่จำกัดและใช้เวลาถ่ายทำแค่ 5 วัน ""ผมตัดสินใจไม่จัดฉากอะไรเลยและถ่ายทำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด"" โดย Mendoza เผยว่าเป็นแนวทางการทำหนังแบบหนึ่ง ซึ่งไม่ให้สคริปต์กับนักแสดงเพื่อให้การแสดงมีความสดจริงๆ ทั้งนี้ ในส่วนของโปรเจคใหม่นั้น Yambao เตรียมทำหนังบอกเล่าที่มาว่า เพราะเหตุใดเขาถึงมาทำหนัง ขณะที่ Negara กำลังทำหนังเกี่ยวกับศิลปะพื้นเมืองของอินโดนีเซีย
ภาพยนตร์ดังระดับโลกมากมาย เช่น ""Apocalypse Now"" ถ่ายทำที่ประเทศฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น เช่น ""Silence"" และ ""Ghost in the Shell"" กลับไม่ได้ถ่ายทำในญี่ปุ่น ในการสัมมนาเมื่อวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา Liza Dino-Seguerra ผู้แทนจาก Film Development Council of the Philippines, Tina B. Tubongbanua รองประธานฝ่ายขายลิขสิทธิ์และซื้อลิขสิทธิ์ของ Viva Communications, Hideo Nakata ผู้กำกับ, Arifumi Sato ตัวแทนจาก Sapporo Film Commission และ Kenji Ishizaka ผู้อำนวยการจัดกิจกรรม Asian Future ได้เสวนากันว่าเพราะเหตุใดฟิลิปปินส์จึงเป็นสถานที่ถ่ายหนังที่ได้รับความนิยมจากต่างชาติ รวมถึงความเป็นไปได้สำหรับญี่ปุ่น โดย Dino-Seguerra กล่าวว่า ""เราตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางการถ่ายทำหนังต่างชาติแบบครบวงจร"" โดยค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากนักและการเข้าถึงง่าย เป็นเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ฟิลิปปินส์เป็นที่นิยมในหมู่คนทำหนัง ขณะที่ Nakata เผยว่า หน่วยงานต่างๆของญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงรัฐบาลท้องถิ่นและหน่วยงานด้านความมั่นคง มีกฎข้อบังคับที่เข้มงวดในการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ ส่งผลให้การถ่ายทำเป็นไปได้ยาก ขณะเดียวกัน ความไม่คุ้นเคยกับภาษาอังกฤษก็เป็นอุปสรรคสำคัญ อย่างไรก็ดี Sato กล่าวว่า ซัปโปโรกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนทำหนังจากฟิลิปปินส์และเอเชีย เพราะมีกฎระเบียบการถ่ายทำหนังที่เป็นมิตรและมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม โดยภาพยนตร์เรื่อง ""I See You"" หรือ ""Kita Kita"" หนังอินดี้ยอดฮิตในฟิลิปปินส์ที่ออกฉายเมื่อเดือนกรกฎาคม 2017 ก็ถ่ายทำที่ซัปโปโร
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ:
The Japan Foundation Asia Center: http://jfac.jp/en/
Tokyo International Film Festival: http://2017.tiff-jp.net/en/
ที่มา: Tokyo International Film Festival (TIFF)
AsiaNet 70936
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit