ไอเอฟเอส ซึ่งเป็นบริษัทระดับโลกด้านแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กร เปิดเผยผลการสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Change Survey) ในอุตสาหกรรมการบินเชิงพาณิชย์โดยเฉพาะ โดยจากการศึกษาพบว่าภาคการบินมีความก้าวหน้าในด้านการใช้ประโยชน์จากการแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัลมากกว่าอุตสาหกรรมหลักอื่นๆ ที่เข้าร่วมทำแบบสำรวจ และระบบการทำงานอัตโนมัติถูกระบุว่าเป็นสิ่งที่เทคโนโลยีที่สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับภาคอุตสาหกรรมแห่งนี้ การซ่อมบำรุงโดยที่ไม่ได้วางแผนไว้ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นความท้าทายสูงสุดที่ส่งผลกระทบต่อความพร้อมในการให้บริการของสายการบิน ซึ่งเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริงหรือเออาร์ (Augmented Reality: AR) ถูกระบุว่าเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่สามารถใช้รับมือกับปัญหานี้ได้
ข้อมูลสำคัญที่ได้จากการสำรวจในครั้งนี้ ได้แก่
เกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรระบุว่าความพร้อมในการปฏิบัติงานถือเป็นความท้าทายที่สำคัญที่สุดของอุตสาหกรรม โดยเกือบครึ่งหนึ่งระบุว่าการซ่อมบำรุงโดยที่ไม่ได้มีการวางแผนไว้และการปฏิบัติตามกฎระเบียบเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆ ขององค์กร
นอกจากนี้จำนวนบริษัทที่ตอบแบบสำรวจมากกว่า 3 ใน 4 (77 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าเทคโนโลยี AR สามารถช่วยลดผลกระทบจากการซ่อมบำรุงที่ไม่ได้วางแผนไว้ผ่านการสนับสนุนช่วยเหลือจากระยะไกลและการถ่ายโอนความรู้ในลักษณะหนึ่ง (คน) ต่อกลุ่มได้
ระบบการทำงานอัตโนมัติ (Automation) ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) หุ่นยนต์ (Robotics) เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง หรือ เออาร์ (Augmented Reality: AR) และอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือไอโอที (Internet of Things: IoT) ติด 5 อันดับแรกของเทคโนโลยีที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับอุตสาหกรรม
โดยอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (39 เปอร์เซ็นต์) การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (39 เปอร์เซ็นต์) ปัญญาประดิษฐ์ (37 เปอร์เซ็นต์) การวางแผนทรัพยากรขององค์กร (อีอาร์พี) (33 เปอร์เซ็นต์) รวมถึงแอพพลิเคชั่นและระบบคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ (31 เปอร์เซ็นต์) ถูกระบุว่าเป็นเทคโนโลยีที่องค์กรควรลงทุนเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ บริษัทด้านการบินพาณิชย์ 44 เปอร์เซ็นต์ที่เข้าร่วมการสำรวจยังระบุด้วยบริษัทมีความก้าวหน้าในการใช้ประโยชน์จากดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เข้าร่วมทำแบบสำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ การก่อสร้างและการรับเหมา (39 เปอร์เซ็นต์) การผลิต (29 เปอร์เซ็นต์) การบริการ (23 เปอร์เซ็นต์) และน้ำมันและก๊าซ (19 เปอร์เซ็นต์) เมื่อถามว่าเทคโนโลยีใดที่อยู่เบื้องหลัง ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ผู้ตอบแบบสำรวจจัดอับดับให้ระบบการทำงานอัตโนมัติเป็นเทคโนโลยีที่สร้างการเปลี่ยนแปลงสูงสุด ตามมาด้วยข้อมูลขนาดใหญ่ หุ่นยนต์ เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง และอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์
เกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าความพร้อมในการปฏิบัติงานเป็นสิ่งที่มีความท้าทายสูงสุดในอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์ โดย 68 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและ 46 เปอร์เซ็นต์ในภูมิภาคอเมริกาเหนือระบุว่าสิ่งนี้เป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับพวกเขา ขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจในสัดส่วนที่ไม่ถึงครึ่งได้จัดอันดับให้การซ่อมบำรุงที่ไม่ได้วางแผนไว้และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (ทั้งสองอย่างได้คะแนน 47 เปอร์เซ็นต์) สร้างผลกระทบอย่างมากต่อความพร้อมในการปฏิบัติงาน ซึ่งตามมาด้วยข้อจำกัดด้านสัญญา (43 เปอร์เซ็นต์)
เมื่อพิจารณาถึงแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ 77 เปอร์เซ็นต์ของผู้เชี่ยวชาญด้านการบินกล่าวว่าเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริงจะช่วยให้ทีมงานด้านเทคนิคสามารถเข้าช่วยเหลือการซ่อมบำรุงที่ไม่ได้วางแผนได้ดียิ่งขึ้น โดยบริษัทด้านการบินซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคอเมริกาเหนือ (65 เปอร์เซ็นต์) และภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) (67 เปอร์เซ็นต์) กล่าวว่าการสนับสนุนจากระยะไกลผ่านเทคโนโลยี เช่น เออาร์ อาจมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการมีวิศวกรประจำอยู่ที่ไซต์งาน แต่กระนั้นก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะมีการแทนที่ทีมวิศวกรในพื้นที่ทั้งหมดภายในอีกสิบปีข้างหน้านี้ ซึ่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเห็นด้วยในประเด็นนี้ถึง 53 เปอร์เซ็นต์
เมื่อถามเรื่องการลงทุน เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ได้รับการจัดอันดับสูงสุด โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจให้คะแนนทั้งสองรายการนี้เท่ากัน นั่นคือ 39 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ 1 ใน 3 ของผู้เชี่ยวชาญด้านการบิน (33 เปอร์เซ็นต์) ระบุว่า อีอาร์พี ก็เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งด้วย นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (37 เปอร์เซ็นต์) รวมถึงแอพพลิเคชั่นและระบบคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ (31 เปอร์เซ็นต์) ด้วยที่ติดกลุ่มห้าอับดับแรกของเทคโนโลยีที่ควรลงทุน
"อุตสาหกรรมการบินพาณิชย์ได้รับการจัดอับดับว่าเป็นแนวหน้าด้าน ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่สายการบินจะต้องการระบบการทำงานอัตโนมัติและเทคโนโลยีที่ทันสมัยอื่นๆ เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาที่สำคัญต่างๆ" นายแกรแฮม โกรส รองประธานและผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมของหน่วยธุรกิจด้านการบินและยุทโธปกรณ์การรบ บริษัท ไอเอฟเอส กล่าว และว่า "เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับกรณีที่เกิดปัญหาการซ่อมบำรุงนอกกำหนดการ โดยหลายกรณีอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะส่งคนลงไปยังตำแหน่งที่ตั้งที่เกิดปัญหาซึ่งมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญในจำนวนจำกัด ซึ่งแทนที่จะส่งทีมวิศวกรไปแก้ปัญหาดังกล่าว เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริงจะเปิดโอกาสให้องค์กรสามารถถ่ายโอนความรู้ในลักษณะหนึ่งต่อกลุ่มได้อย่างเห็นผล ซึ่งจะช่วยให้เครื่องบินสามารถกลับมาพร้อมให้บริการได้อย่างรวดเร็วและช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนวิศวกรซ่อมบำรุงในอุตสาหกรรมนี้ได้ด้วย"
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่ไอเอฟเอสให้การสนับสนุนบริษัทต่างๆ ในภาคการบินและยุทโธปกรณ์การรบ โปรดดูที่เว็บไซต์ www.ifsworld.com/corp/industries/aviation-and-defense/.
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit