มิตซูบิชิ เคมิคอล ผนึกความร่วมมือพันธมิตรทางธุรกิจ ทำตลาดแผ่นเยื่อซีโอไลต์สำหรับการผลิตไบโอเอทานอล

          บริษัท มิตซูบิชิ เคมิคอล (Mitsubishi Chemical Corporation หรือ "MCC") ประกาศความร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อทำตลาดแผ่นเยื่อซีโอไลต์ ZEBREX (TM) สำหรับการผลิตไบโอเอทานอล พันธมิตรทางธุรกิจประกอบด้วยบริษัทไอซีเอ็ม (ICM, Inc. หรือ "ICM") สำหรับอเมริกาเหนือ และ บริษัท มิตซุย แอนด์ โค จำกัด (Mitsui & Co., Ltd. หรือ "Mitsui") สำหรับเอเชียแปซิฟิกและยุโรป ซึ่งความร่วมมือกับพันธมิตรในครั้งนี้จะช่วยเร่งการพัฒนาธุรกิจไบโอเอทานอลของ MCC ในตลาดโลกให้เร็วยิ่งขึ้น

          การใช้ไบโอเอทานอลจากวัตถุดิบชีวมวล อาทิ ข้าวโพด อ้อย และมันสำปะหลัง ได้แพร่หลายเป็นวงกว้าง โดยมีสหรัฐอเมริกาและบราซิลเป็นผู้นำตลาดโลก เนื่องด้วยไบโอเอทานอลนั้นมีคาร์บอนเป็นกลาง ทั้งยังมีศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่เรียกว่า "ไบโอเอทานอลรุ่นที่สอง" หรือไบโอเอทานอลจากวัตถุดิบที่ไม่ใช้บริโภค กำลังพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปในสหรัฐอเมริกาและอินเดีย

          ไบโอเอทานอลจะต้องผ่านกระบวนการแยกน้ำจนถึงระดับหนึ่งสำหรับการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ด้วยเหตุที่ตลาดเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ผู้ผลิตไบโอเอทานอลจะได้ประโยชน์อย่างมากจาก ZEBREX (TM) โดย ZEBREX (TM) เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการแยกน้ำออกจากไบโอเอทานอลอย่างต่อเนื่องตามคุณสมบัติของแผ่นเยื่อซีโอไลต์ (Zeolite Membrane Dehydration Technology) ซึ่งผู้ผลิตไบโอเอทานอลจะประหยัดการใช้พลังงานได้ เอเชียแปซิฟิกมิตซูบิชิ เคมิคอล% - ความร่วมมือมิตซูบิชิ เคมิคอล% เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการดูดซับแบบกะ หรือ batch PSA (*) ที่ใช้กันอยู่เดิม ซึ่งจะต้องมีการฟื้นฟูตัวดูดซับ (Regeneration) เป็นระยะ ทั้งนี้ ZEBREX (TM) สามารถใช้แทนที่กระบวนการ PSA หรือใช้ร่วมกับโรงงานไบโอเอทานอลเดิมก็ได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตไบโอเอทานอลลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์และต้นทุนการดำเนินงาน ขณะที่เพิ่มการผลิตด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพและความเสถียรในการปฏิบัติงาน

          ICM มีชื่อเสียงในเรื่องของความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมในตลาดเอทานอลเชื้อเพลิง โดยเทคโนโลยีของบริษัทถูกนำไปใช้ในโรงงานเอทานอลมากกว่าครึ่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีการผลิตไบโอเอทานอลมากที่สุด การรวมเทคโนโลยีแยกน้ำ ZEBREX (TM) ของ MCC เข้ากับความสามารถในการบูรณาการกระบวนการของ ICM จะช่วยผลักดันให้ ZEBREX (TM) เจาะตลาดอเมริกาเหนือได้เร็วขึ้น

          Mitsui มีเครือข่ายธุรกิจและการตลาดที่เข้มแข็งร่วมกับผู้ผลิตไบโอเอทานอลในเอเชียแปซิฟิกและยุโรป จุดแข็งของบริษัทไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงไบโอเอทานอล แต่ยังรวมไปถึงตลาดน้ำตาลและอาหาร MCC จะส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี ZEBREX (TM) ร่วมกับ Mitsui ในบรรดาผู้ผลิตไบโอเอทานอลที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ได้ และจากความร่วมมือกันนี้เอง ส่งผลให้หนึ่งในผู้ผลิตไบโอเอทานอลรายใหญ่ที่สุดของยุโรปอย่าง Pannonia Ethanol Zrt จากประเทศฮังการี ได้ให้คำมั่นที่จะติดตั้งระบบ ZEBREX (TM) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ Pannonia ยังจะใช้เทคโนโลยีของ ICM ในการรวมระบบ ZEBREX (TM) ซึ่งจะกลายเป็นหนึ่งในผลงานที่ดีที่สุดที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของความร่วมมือเกี่ยวกับ ZEBREX (TM) ในภาพรวมระดับโลก

          MCC มีส่วนช่วยส่งเสริมการผลิตและใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านทางการขยายธุรกิจแผ่นเยื่อซีโอไลต์ ซึ่งความร่วมมือระหว่างพันธมิตรเหล่านี้จะเร่งผลักดันการขยายธุรกิจดังกล่าวให้เป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น 

          (*) PSA (pressure swing adsorption) หรือ กระบวนการดูดซับสลับความดัน เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ซีโอไลต์อัดเม็ดชนิด A แบบดั้งเดิม เนื่องจากการแยกน้ำผ่านกระบวนการ PSA นั้นไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ต้องมีการปรับสภาพหรือรีเจนเนอเรตในหอกลั่น (distillation column) เพื่อไล่น้ำออกจากสารผสมเอทานอล/น้ำในสัดส่วน 5มิตซูบิชิ เคมิคอล% ซึ่งทำให้กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มีการใช้พลังงานสูง

          เกี่ยวกับบริษัท ไอซีเอ็ม
          ไอซีเอ็ม ก่อตั้งขึ้นในปี มิตซุย แอนด์ โค995 และมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองโคลวิช รัฐแคนซัส รวมทั้งมีสำนักงานระดับภูมิภาคอยู่ในบราซิล บริษัทจัดหาเทคโนโลยี โซลูชั่น และบริการที่เป็นนวัตกรรม เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน และเพื่อผลักดันความก้าวหน้าด้านพลังงานหมุนเวียน ซึ่งรวมถึงเอทานอลและเทคโนโลยีอาหารสัตว์ที่จะช่วยเพิ่มอุปทานโปรตีนโลก ไอซีเอ็มได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำโลกในด้านเทคโนโลยีการกลั่นชีวภาพ ด้วยการให้บริการเทคโนโลยีกระบวนการที่เป็นกรรมสิทธิ์แก่โรงงานกว่า มิตซุย แอนด์ โคมิตซูบิชิ เคมิคอลมิตซูบิชิ เคมิคอล แห่งทั่วโลกที่มีกำลังการผลิตเอทานอลรวมกันประมาณ 8.8 พันล้านแกลลอนต่อปี และกากวัตถุดิบเหลือใช้จากกระบวนการผลิตเอทานอล (distillers grains) ในปริมาณ เอเชียแปซิฟิก5 ล้านตันต่อปี 

          สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ http://icminc.com/

          เว็บไซต์ของบริษัทมิตซูบิชิ เคมิคอล: 
          https://www.m-chemical.co.jp/en/index.html

          ที่มา: บริษัท มิตซูบิชิ เคมิคอล 

          
          AsiaNet 7เอเชียแปซิฟิก465


ข่าวมิตซูบิชิ เคมิคอล+มิตซุย แอนด์ โควันนี้

มิตซูบิชิ เคมิคอล ผนึกความร่วมมือพันธมิตรทางธุรกิจ ทำตลาดแผ่นเยื่อซีโอไลต์สำหรับการผลิตไบโอเอทานอล

บริษัท มิตซูบิชิ เคมิคอล (Mitsubishi Chemical Corporation หรือ "MCC") ประกาศความร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อทำตลาดแผ่นเยื่อซีโอไลต์ ZEBREX (TM) สำหรับการผลิตไบโอเอทานอล พันธมิตรทางธุรกิจประกอบด้วยบริษัทไอซีเอ็ม (ICM, Inc. หรือ "ICM") สำหรับอเมริกาเหนือ และ บริษัท มิตซุย แอนด์ โค จำกัด (Mitsui & Co., Ltd. หรือ "Mitsui") สำหรับเอเชียแปซิฟิกและยุโรป ซึ่งความร่วมมือกับพันธมิตรในครั้งนี้จะช่วยเร่งการพัฒนาธุรกิจไบโอเอทานอลของ MCC ในตลาดโลกให้เร็วยิ่งขึ้น การใช้ไบโอเอทานอลจากวัตถุดิบชีวมวล อาทิ

คุณคุมาร์ โพเล่ (กลาง) ประธานประจำภูมิภาค... มิตซูบิชิ เคมิคอล ในงาน Propak Asia 2023 — คุณคุมาร์ โพเล่ (กลาง) ประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคของหน่วยวัสดุพิเศษและกรรมการผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ ...

ภาพข่าว: กรุงศรีให้ความสนับสนุนทางการเงินแก่ พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม สร้างโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพพอลิบิวทิลีนซัตซิเนต เพื่อการค้าแห่งแรกของโลก

นายโนริอากิ โกโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร...

ภาพข่าว: อีกก้าวสำคัญของ PTTMCC Biochem สู่การเป็นผู้นำพลาสติกชีวภาพของโลก

ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิดพอลิบิวทิลีนซัคซิเนต (Bio PBS) ของบริษัท พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม จำกัด ...

ภาพข่าว: ปตท.-มิตซูบิชิ จับมือเปิดโรงงานพลาสติกชีวภาพ PBS จากน้ำตาลรายแรกของโลก

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. (กลาง) นายฮิโรอากิ อิชิซูกะ ผู้บริหารระดับสูง บริษัทมิตซูบิชิ เคมิคอล คอร์ปอเรชั่น (ขวา) และ นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธาน...

ปตท. ผนึกกำลังมิตซู ญี่ปุ่น ตั้งบริษัท “พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม” โรงงานพลาสติกชีวภาพชนิด PBS จากน้ำตาล รายแรกของโลก

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. เปิดเผยว่า จากที่ ปตท. ตระหนักถึงความสำคัญกับการแสวงหาพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ...

ปตท. จัดงานแถลงข่าว “ปตท. ผนึกกำลังมิตซู ญี่ปุ่น ตั้งบริษัท “พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม”

เนื่องด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้นำด้านพลังงานและปิโตรเคมีของไทย ได้ร่วมทุนกับบริษัท มิตซูบิชิ เคมิคอล คอร์ปอเรชั่น ผู้นำธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีและมีเทคโนโลยีการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด PBS ในระดับเวิล์ดคลาส...

ปตท. นำร่องรณรงค์ใช้ถุงพลาสติกชีวภาพบนเกาะเสม็ด หวังสร้างตัวอย่าง “ชุมชนเกาะสีเขียว” ที่ยั่งยืน

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดย ดร.ปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ...

สนช. – ปตท.- MCC.- กรมอุทยานฯ นำร่องรณรงค์ใช้ถุงพลาสติกชีวภาพบนเกาะเสม็ด หวังสร้างตัวอย่าง “ชุมชนเกาะสีเขียว” ที่ยั่งยืน

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า หมู่เกาะเสม็ด กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช...