แคมเปญดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยมีผู้มีชื่อเสียงและผู้มีอิทธิพลทางสังคมทั้งจากภาคธุรกิจ บันเทิง การเมือง กีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม ศาสนาและสื่อมวลชน กว่า 100 คน รวมทั้งประชาชนทั่วไปกว่า 15,200 คนที่ให้คำมั่นว่า "I am #IvoryFree # ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง แคมเปญนี้มียอดไลค์กว่า 907,000 ครั้ง 2,300 ความคิดเห็น และ ยอดแชร์กว่า 1,500 ครั้ง
"การค้าสัตว์ป่าเป็นอาชญากรรมข้ามชาติซึ่งต้องการการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างถาวรเพื่อลดความต้องการและยุติอาชญากรรมดังกล่าวนี้" เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ มร. กลิน เดวีส์ ซึ่งได้ร่วมรณรงค์กับโครงการเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมากล่าว "เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดที่ว่า งาช้างเป็นสัญลักษณ์ของสถานะและความมั่งคั่ง แคมเปญ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการให้ประชาชน มีส่วนร่วมช่วยให้โลกเข้าใจว่า
การตัดสินใจของผู้บริโภคมีผลกระทบโดยตรงต่อวิกฤติการลักลอบล่าสัตว์" ในการเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ผู้มีอิทธิพลทางสังคมมาจากหลายสาขาอาชีพ อาทิ ดาราผู้มีชื่อเสียง ผู้นำทางธุรกิจ นักการทูต นางงาม ผู้สื่อข่าว นักกีฬา และคนอื่น ๆ ได้เชิญชวนคนไทยทุกคนมาสร้างภาพคู่ช้าง ที่ www.ivoryfreethai.org และแชร์ภาพนั้นไว้ในหน้าโปรไฟล์ในโซเชียลมีเดียของตน พร้อมทั้งเหตุผลของการให้คำมั่นสัญญานี้ ด้วย hashtags #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง #IvoryFree
แคมเปญยังได้เชิญเพจยอดนิยมในเฟสบุ๊คมาร่วมสร้างเนื้อหาในรูปแบบของตนเองที่เหมาะสำหรับผู้ติดตามของพวกเขา จากบรรดาเพจดังกล่าว รวมทั้งเพจข่าวและเว็บยอดนิยมต่างๆ สามารถเพิ่มจำนวนการมีส่วนร่วมอีกกว่า 217,000 ครั้งจากผู้ติดตามของเพจเหล่านี้ อันประกอบด้วยยอดไลค์ จำนวน 211,000 ไลค์ 1,300 ความคิดเห็นและแชร์กว่า 4,100 ครั้ง
ทุกปีมีช้างกว่า 33,000 ตัวถูกลักลอบฆ่าเพื่อเอางามาค้าอย่างผิดกฎหมาย รัฐบาลหลายแห่งทั่วโลกได้สั่งห้ามการค้างาช้างในประเทศ รัฐบาลไทยได้ดำเนินการหลายขั้นตอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ รวมถึงการจัดทำพระราชบัญญัติงาช้างและห้ามค้างาช้างแอฟริกา ในช่วงที่รัฐบาลไทยกำลังดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการค้างาช้างที่ผิดกฎหมาย แคมเปญ "#ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง" จึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อลดความต้องการของผู้ที่บริโภคงาช้างในปัจจุบันและผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะบริโภคงาช้างรายใหม่ๆ
เพื่อสร้างบรรทัดฐานใหม่ทางสังคมให้การซื้อและครอบครองงาช้าง ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม แคมเปญนี้พิจารณาในเชิงกลยุทธ์ว่า การค้าสัตว์ป่าออนไลน์ที่ผิดกฎหมายได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้กล่าวถึงแคมเปญนี้ในรายงานความคืบหน้าแผนปฏิบัติการงาช้างแห่งชาติ เสนอต่อการประชุมคณะกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่กรุงเจนีวา
โครงการ Ivory Free เป็นความคิดริเริ่มขององค์กรไวล์ดเอด (WildAid) ซึ่งได้ดำเนินโครงการรณรงค์ในประเทศจีน ฮ่องกง สหรัฐอเมริกาและไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2557 แคมเปญ "#ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง" เป็นงานต่อเนื่องของโครงการที่ดำเนินอยู่ในประเทศไทย "โครงการรณรงค์ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง I am #IvoryFree แสดงให้เห็นว่า คนไทยพร้อมใจที่จะช่วยกันสร้างสังคมที่ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง" มร.จอห์น เบเกอร์ กรรมการผู้จัดการองค์กรไวล์ดเอด กล่าว
"การลดความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์งาช้าง ถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรไวล์ดเอดในความพยายามยุติการฆ่าช้างเอางา เราหวังว่าการสร้างความตระหนักให้สังคมรับรู้ถึงความโหดร้ายที่อยู่เบื้องหลังผลิตภัณฑ์ งาช้าง จะทำให้สังคมหันหลังให้กับการบริโภคผลิตภัณฑ์งาช้างมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การยุติการฆ่าช้างเอางาในที่สุด เพราะหยุดซื้อ คือ หยุดฆ่า"
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit