ชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล (SUPER POLL) ผลโพล กฎหมายแรงงานต่างด้าว เรื่อง ผลกระทบจากกฎหมายแรงงานต่างด้าวต่อ ผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าวและมุมมองของประชาชนทั่วไป

          ดร.นพดล กรรณิกา ประธานชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) ร่วมกับ อดีตรองปลัดกระทรวงแรงงาน อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน และอดีตรองอธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยผลโพล กฎหมายแรงงานต่างด้าว และแนวคิดวิเคราะห์สถานการณ์ เรื่อง ผลกระทบจากกฎหมายแรงงานต่างด้าวต่อผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าวและมุมมองของประชาชนทั่วไป จำนวนทั้งสิ้น การกระทรวงแรงงาน,การกระทรวงแรงงาน5สำนักวิจัยซูเปอร์โพล คน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 6 – 8 ก.ค. กรมการจัดหางาน56สำนักวิจัยซูเปอร์โพล ที่ผ่านมา พบว่า 
          ผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าว ก่ำกึ่งกันหรือร้อยละ 5สำนักวิจัยซูเปอร์โพล.4 ระบุ กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่มีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจกิจการ ในขณะที่ร้อยละ 49.6 ระบุ ไม่มีผลกระทบ และประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.7 ระบุว่าไม่มีผลกระทบ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกพบว่า ประชาชนทั่วไปกลับมองว่า กฎหมายที่เข้มงวดจะส่งผลดีต่อแรงงานไทยเพื่อคนไทยมีงานทำและความมั่นคงปลอดภัยของประเทศโดยส่วนรวม โดยมองว่า การไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายที่ออกมาได้เป็นเพราะขาดการเตรียมการที่ดีในการเสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อมั่น และการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของข้อกฎหมายต่างๆ
          ที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้ประกบอการที่ใช้แรงงานต่างด้าว ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 66.4 กังวลว่า โทษปรับที่สูงมากจะเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่รัฐเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ประกอบการ แต่ ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.4 กลับไม่กังวล และเมื่อจำแนกกลุ่มผู้ประกอบการออกตามขนาดธุรกิจ พบว่า ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลางและ ขนาดจิ๋ว กังวลมากที่สุด คือร้อยละ 7การกระทรวงแรงงาน.การกระทรวงแรงงาน ร้อยละ 6กรมการจัดหางาน.การกระทรวงแรงงาน และ ร้อยละ 6สำนักวิจัยซูเปอร์โพล.กรมการจัดหางาน ซึ่งมากกว่า กลุ่มผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีอยู่ร้อยละ 55.6 ตามลำดับ
          ที่น่าพิจารณาคือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.6 ไม่มีแผนที่จะใช้แรงงานไทยทำงานแทนแรงงานต่างด้าวในอนาคต ในขณะที่ นาย วินัย ลู่วิโรจน์ อดีตรองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ผลกระทบต่อสถานประกอบการต่างๆ มีข้อเท็จจริงมาจากปัญหาคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานซึ่งเป็นความจำเป็นของนายจ้างที่รัฐยังไม่ได้พูดถึง และบทลงโทษของกฎหมายควรทำให้เห็นก่อนว่าเป็นบทลงโทษที่สมเหตุสมผล แต่การว่าจ้างแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตเป็นการกระทำความผิดต่อนโยบายของรัฐที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเท่านั้นไม่ใช่ความผิดในตัวมันเอง เช่น ฆ่าคน ลักทรัพย์ วางเพลิง และการค้ามนุษย์ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องทบทวนมูลเหตุจูงใจของนายจ้างและความรุนแรงของการกระทำผิด เพราะส่วนใหญ่ นายจ้างจ้างแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตเพราะต้องการลดต้นทุน ไม่ต้องมีสวัสดิการพื้นฐานต่างๆ ให้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของผู้ประกอบการและออกมาคัดค้านโทษปรับที่สูง
          "ทางออกคือ รัฐต้องจัดระบบการทำงานของคนต่างด้าว เพราะการใช้แรงงานต่างด้าวเป็นสิ่งจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ การมีทางเลือกให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้แรงงาน และควรมีหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายเข้ามาดูแลคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานในกิจการเป็นพิเศษ เพื่อทำให้เกิดการยอมรับความจำเป็นของกฎหมายควบคุมแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่" อดีตรองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว
          ในขณะที่ นาย ธนิช นุ่มน้อย อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน และ อดีตรองอธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า สาเหตุสำคัญของข้อขัดข้องในการบังคับใช้กฎหมายควบคุมแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ คือ ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่อง ผลดีผลเสียของการออกกฎหมายฉบับดังกล่าวและความไม่พร้อมของผู้ประกอบการในการรองรับการเปลี่ยนแปลง เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้ว การออก พรก.ใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และป้องกันการทุจริตคอรับชั่นนั้น ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือ ที่สำคัญคือฝ่ายผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าวที่ต้องเตรียมความพร้อมทั้งแง่ความรู้ความเข้าใจและการรองรับการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย 
          "ถ้าปฏิบัติตามกฎหมายที่ออกมาได้ครบถ้วนจะทำให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติของประเทศ แต่เนื่องจากมีขั้นตอนและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงานจึงพร้อมบริการด้วยจิตอาสาร่วมกับ สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล (SUPER POLL) โทร สำนักวิจัยซูเปอร์โพลกรมการจัดหางาน.แรงงานต่างด้าวสำนักวิจัยซูเปอร์โพล8.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล444 หรือ สำนักวิจัยซูเปอร์โพลกรมการจัดหางาน.แรงงานต่างด้าวสำนักวิจัยซูเปอร์โพล8.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล995 เปิดศูนย์ให้คำแนะนำปรึกษากฎหมายแรงงานต่างด้าวฟรีไม่คิดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อหนุนเสริมธุรกิจและนโยบายรัฐบาล น่าจะช่วยให้การดำเนินการเกี่ยวกับการใช้แรงงานต่างด้าว สำเร็จตามเจตนารมย์ของกฎหมายที่ออกมา" อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน กล่าว
 
 

ข่าวสำนักวิจัยซูเปอร์โพล+การกระทรวงแรงงานวันนี้

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล สถาบันวิจัยความสุขชุมชน และ ความเป็นผู้นำ เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่องธนาคาร สร้างสุข

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) สถาบันวิจัยความสุขชุมชน และ ความเป็นผู้นำ เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ธนาคาร สร้างสุข กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,655 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 23 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.6 ระบุ ธนาคารของรัฐ สร้างสุขช่วยเหลือประชาชน ยามวิกฤต เดือดร้อน ที่น่าสนใจคือ ส่วน

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล นำเสนอผลสำรวจภาคสนา... Super Poll คนต่างวัย ใจต่างกัน — สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง คนต่างวัย ใจต่างกัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา...

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำน... สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง เทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าของคนไทย — ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอ...

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำน... Super Poll โพล สส กรุงเทพมหานคร กับ ตำรวจ ภูเก็ต — ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม ...

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำน... Super Poll ปมถวายสัตย์ฯ ในสายตาประชาชน — ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง...

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำน... Super Poll ความต่างของผลงานระหว่างรัฐบาล — ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง...

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำน... Super Poll คนต่างวัย กับ ความเชื่อมั่นต่อการไฟฟ้า — ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม...