เด็กที่มีความสามารถพิเศษ VS เด็กที่รับการดูแลเป็นพิเศษ

          ในประเทศไทยมีเด็กจำนวนกว่า 9.8 ล้านคน ที่มีสติปัญญาและความสามารถที่หลากหลายและแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติ เด็กเรียนเก่ง เด็กที่พัฒนาทางสมองช้า เด็กพิการ และ เด็กออติสติก ในเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ที่ผ่านมาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) จัดประชุมสภาการศึกษาเสวนา (OEC Forum) ครั้งที่ 19 เรื่อง การพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษสู่ศักยภาพการแข่งขันของประเทศ เพื่อพัฒนาเด็กอัจฉริยะให้ตรงจุด เหมาะสมแก่ตัวเด็กและประเทศชาติที่สามารถเป็นแรงในการแข่งขันโลก
          ทางด้าน ดร.ธงชัย ชิวปรีชา ผู้อำนวยการโรงเรียนกำเนิดวิทย์ กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม2545 กำหนดให้การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น ดังนั้นผู้ที่มีความสามารถพิเศษจำเป็นต้องได้รับการดูแลและพัฒนาเป็นพิเศษ ซึ่งถือว่าบุคคลเหล่านี้เป็นทรัพย์สินที่มีค่ายิ่งของประเทศชาติ โดยจัดกิจกรรมให้เด็กรู้ความสามารถของตนเองในด้านต่างๆ อาทิ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ หรือดนตรี เพื่อส่งเสริมให้เป็นผู้นำและทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ การพัฒนาเด็กกลุ่มนี้มี 4 รูปแบบ คือ 1.เพิ่มพูนประสบการณ์ โดยเสริมหลักสูตรพิเศษ อย่างประเทศสิงคโปร์และเกาหลี 2.ขยายหลักสูตร เพิ่มเวลาเรียนเฉพาะด้านมากขึ้น 3.การลดเวลาเรียน เพิ่มกิจกรรมที่เด็กถนัด และ4.มีโค้ชชิ่งหรือผู้แนะนำตลอดการเรียนรู้ อย่างไรก็ตามสถานศึกษาสามารถเลือกนำรูปแบบที่เหมาะสมไปใช้ในการปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
          ในส่วนของ รองศาสตราจารย์ ดร.ดารณี ศักดิ์ศิริผล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า นอกจากเด็กที่มีความสามารถในการเรียนรู้เป็นพิเศษแล้ว ทางกระทรวงศึกษาศึกษาธิการก็ยังมีนโยบายต่างๆ ที่จะเกื้อหนุนเยาวชนไทย พัฒนาและก้าวไปในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นตัวของตัวเอง ในฐานะของผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่กับการศึกษาพิเศษนั้น ทางสถาบันมีส่วนช่วยสนับสนุนนโยบายรัฐ อย่างเช่นนโยบายการอ่านออกเขียนได้ ซึ่งสถิติจากกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ.2558 พบว่ามีจำนวนเด็กที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้กว่า 410,000 คนทั่วประเทศ ที่เป็นปัญหาระดับชาติ เพราะการอ่านออกเขียนได้เป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้ เมื่ออ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ก็จะไม่สามารถหาความรู้รอบตัวได้เช่นกัน และเด็กส่วนใหญ่ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ คือ เด็กที่เรียนอ่อน เด็กที่มีปัญหาจากสภาพแวดล้อม เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD : Learning Disabilities) ร่วมไปถึงเด็กพิการ เพราะเหตุนี้ควรสนับสนุนเด็กอ่อน หรือที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยผ่านการยอมรับและเข้าใจสภาพปัญหาของเด็ก ถ้ารู้จักหลักการในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างถูกต้องจะทำให้เด็กสามารถอ่านออกเขียนได้ ครอบครัวคือสิ่งสำคัญ ต้องสอนให้ถูกวิธี ดูแลเด็กให้ถูกทาง เด็กทุกคนก็สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรง และสามารถเรียนรู้ได้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ จึงทำให้เด็กพัฒนาความสามารถพิเศษมากยิ่งขึ้น นอกจากจะพัฒนาให้เยาวชนไทยเดินไปในทิศทางถูกต้องและจะสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กแบบไหนจะเรียนเก่งหรือเรียนอ่อน สุดท้ายทุกคนคืนคนสำคัญของประเทศชาติและก้าวสู่ผู้ใหญ่ที่มีความพร้อมในสังคม และเป็ฯศักยภาพของการแข่งขันของประเทศชาติที่จะก้าวไปสู่ประเทศไทย 4.0 ต่อไป

เด็กที่มีความสามารถพิเศษ VS เด็กที่รับการดูแลเป็นพิเศษ
 
เด็กที่มีความสามารถพิเศษ VS เด็กที่รับการดูแลเป็นพิเศษ

ข่าวสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา+สำนักงานเลขาธิการวันนี้

คณะอนุฯ ปฐมวัย ร่วมหารือ 5 ยุทธศาสตร์ เร่งพัฒนาฐานข้อมูล สร้างเด็กไทยเป็นคนดี สุขภาพแข็งแรง มีธรรมมาภิบาล

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศและธรรมาภิบาล ข้อมูลเด็กปฐมวัย พร้อมด้วย นายธฤติ ประสานสอน รองเลขาธิการสภาการศึกษา นายแพทย์ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ ผู้อำนวยการสำนัก ส่งเสริมสุขภาพ นางพัชราพรรณ กฤษฎาจินดารุ่ง ผู้อำนวยการสำนักนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย เข้าร่วม ประชุม ณ ห้องสิปปนนท์ เกตุทัต สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบ ฐานข้อมูลสารสนเทศและธรรมาภิบาลข้อมูล

ไทยพีบีเอส จับมือภาคีเครือข่าย จัดงานเทศก... ไทยพีบีเอส จับมือภาคีฯ จัดยิ่งใหญ่! FutureEd Fest 2024 เทศกาลการศึกษาสร้างอนาคตการเรียนรู้เยาวชนไทย — ไทยพีบีเอส จับมือภาคีเครือข่าย จัดงานเทศกาลการศึกษา ...

ไทยพีบีเอส จับมือภาคีฯ Kick off "FutureED Fest 2024" สร้างอนาคตแห่งการเรียนรู้

เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2567 องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส ร่วมกับกรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กองทุนเพื่อความ...

ดร.อรรถพล สังขวาสี รองเลขาธิการคณะกรรมการ... สอศ. ศึกษาค่าใช้จ่ายรายหัว รับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน — ดร.อรรถพล สังขวาสี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกา...

บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน)... ภาพข่าว: BWG ลงนามบันทึกข้อตกลงพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษา — บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) หรือ BWG นำโดย คุณจารุวรรณ โพธิ์แจ้ง (กลาง) กรรมการบร...

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ โรงแรมเ... สกศ. เปิดฉากขับเคลื่อนมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ พื้นที่แรก ชลบุรี — เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ โรงแรมเฮลท์แลนด์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัด...