รู้ทัน....โรคหลอดเลือดหัวใจ

          ปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย ยิ่งสไตล์ของคนยุคใหม่ที่เปลี่ยนไป นำมาซึ่งความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดเลือดหัวใจได้ เนื่องในวันหัวใจโลก หรือ World Heart Day ความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพโรคหลอดเลือดหัวใจ7 จึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของหัวใจและอย่าละเลยโรคหลอดเลือดหัวใจเพื่อสุขภาพหัวใจที่แข็งแรง
          นายแพทย์ประดับ สุขุม ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า "โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคที่เกิดจากการสะสมของคอเลสเตอรอลและสารต่าง ๆ ภายในหลอดเลือด ทำให้เกิดการสร้างคราบไขมัน (Plaque) ที่ไปเกาะบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน ปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดที่ หล่อเลี้ยงหัวใจลดลงเรื่อย ๆ จนไม่เพียงพอ นำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและอาจร้ายแรงถึงขั้น เสียชีวิตได้" สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นเกิดจาก อายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โรคยิ่งเพิ่มขึ้น ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง ระดับไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ผู้ที่มีความเครียดและขาดการออกกำลังกายก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้เช่นกัน ซึ่งความรุนแรงของโรคนั้นไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละบุคคล"
          ลักษณะอาการเด่น ๆ ของโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจที่พบ ได้แก่ ไม่สบายที่หน้าอก รู้สึกเจ็บหน้าอกจนทนไม่ไหว แน่นหน้าอกจนหายใจไม่ออก อ่อนเพลียไม่มีแรง เหนื่อยง่าย สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์แล้ว การที่ผู้ป่วยให้ข้อมูลและรายละเอียดอย่างถูกต้องทั้งประวัติและลักษณะอาการที่ปรากฏย่อมช่วยให้สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง ตรวจร่างกายอาทิ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram (ECG, EKG) การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงกับการวิ่งสายพาน (Exercise Stress Test) การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ โรคหลอดเลือดหัวใจ รักษาโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น เลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น ระดับที่ ความดันโลหิตสูง รักษาโดยการใช้ยา ในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ต้องเข้ารับการรักษาด้วยยาที่ช่วยให้การไหลเวียนหรือสูบฉีดเลือดดีขึ้น ซึ่งต้องรับประทานตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียง ระดับที่ 3 รักษาโดยการทำหัตถการแบบ Invasive เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Balloon Angioplasty) หรือใส่ขดลวดเล็ก ๆ (Stent) เข้าไปเพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจตีบให้ทำงานได้เป็นปกติ เป็นต้น ระดับที่ 4 รักษาโดยการผ่าตัด ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (บายพาสหัวใจ) (Coronary Artery Bypass Graft - CABG) โดยมีทั้งเทคนิคบายพาสหัวใจแบบใช้และไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมตามความจำเป็นของผู้ป่วย
          การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างเห็นผลคือ การควบคุมปัจจัยเสี่ยง ซึ่งมีทั้งปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้และปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้คือ อายุ พันธุกรรม และเพศ สำหรับผู้ชายที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนอายุ 4โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ปีและผู้หญิงที่เป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 5โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ปี อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้และเป็นการป้องกันโรคนี้ได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วย ระดับคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือด รักษาให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ควบคุมและรักษาให้หายขาด เพราะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ประสิทธิภาพลดลง โรคความดันโลหิตสูง ควรรีบรักษาให้หายขาด เพื่อไม่ให้หัวใจทำงานหนักเกินไปส่งผลให้หลอดเลือดตีบ เลิกสูบบุหรี่ เพราะผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งนำไปสู่หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะผู้ที่น้ำหนักเกินมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย ออกกำลังกายเป็นประจำ เลือกกีฬาที่เคลื่อนไหวทุกส่วนของร่างกาย เช่น แอโรบิค ว่ายน้ำ จ๊อกกิ้ง เป็นต้น
          เนื่องในวันหัวใจโลก หรือ World Heart Day ทุกคนใส่ใจหัวใจและหลอดเลือดหัวใจให้แข็งแรง ด้วยการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ ไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ที่สำคัญควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์และตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เพื่อการมีสุขภาพหัวใจที่แข็งแรง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ โทร. โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ความดันโลหิตสูง3โรคหลอดเลือดหัวใจโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ 3โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ หรือ โทร โรคหลอดเลือดหัวใจ7โรคหลอดเลือดหัวใจ9

รู้ทัน....โรคหลอดเลือดหัวใจ
รู้ทัน....โรคหลอดเลือดหัวใจ
รู้ทัน....โรคหลอดเลือดหัวใจ
รู้ทัน....โรคหลอดเลือดหัวใจ
 

ข่าวโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ+โรคหลอดเลือดหัวใจวันนี้

หญิงวัยหมดประจำเดือน เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

"โดยปกติผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจตีบมากกว่าผู้หญิงในวัยอื่น และเพราะความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้นได้ตามอายุ โดยผู้หญิงจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นหลังหมดประจำเดือน ดังนั้นการใส่ใจดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ" พญ.กรองอร ภิญโญลักษณา อายุรแพทย์หัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า ภาวะของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือผู้หญิงวัยทอง คือ ภาวะที่ผู้หญิงไม่มีประจำเดือนอย่างถาวร ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่การที่ไม่มีประจำเดือนติดต่อกันเป็นเวลา 1 ปี อายุเฉลี่ย

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เชิญผู้สนใจเข้าร่วม... "HEART CHALLENGE FUN RUN 2022" เดิน วิ่ง ให้หัวใจคนกรุงแข็งแรง วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2565 — โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เชิญผู้สนใจเข้าร่วมงาน Heart Challenge Fu...

จากสถานการณ์ที่ผ่านมาเรื่องที่หลายคนกังวล... ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจกับการฉีดวัคซีน COVID-19 — จากสถานการณ์ที่ผ่านมาเรื่องที่หลายคนกังวลมากที่สุดกับการฉีดวัคซีน COVID-19 คือผลข้างเคียงที่อาจเกิด...

นพ.ประดับ สุขุม ผู้อำนวยการอาวุโส โรงพยาบ... รพ. หัวใจกรุงเทพ มุ่งพัฒนาคุณภาพการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ด้วยเทคนิคสายสวนผ่านทางข้อมือ — นพ.ประดับ สุขุม ผู้อำนวยการอาวุโส โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เป็นประธ...

ปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจยังคงเป็นสาเหตุการเ... รู้ทัน....โรคหลอดเลือดหัวใจ — ปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย ยิ่งสไตล์ของคนยุคใหม่ที่เปลี่ยนไป นำมาซึ่งความเสี่ยง...

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมอบ AED 2 เครื่องให้วุฒิสภาและรัฐสภา เพื่อใช้ในการช่วยชีวิตฉุกเฉิน

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมอบ AED 2 เครื่องให้วุฒิสภาและรัฐสภาเพื่อใช้ในการช่วยชีวิตฉุกเฉิน (AED เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจด้วยกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ) สืบเนื่องจากอุบัติการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตมากขึ้น จากอาการช็อค หมดสติ...

สัมมนา “รักษ์ใจคุณ”

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ขอเชิญผู้ที่รักและใส่ใจสุขภาพ เข้าร่วมสัมมนา “รักษ์ใจคุณ” รับฟังสาระความรู้ เรื่อง “หัวใจกับเทคโนโลยีการตรวจรักษา” โดย นายแพทย์โชคชัย สุวรรณกิจบริหาร ศัลยแพทย์หัวใจ “หัวใจเต้นผิดจังหวะเหมือนไม่อันตราย” โดยนายแพทย์ธรณิศ จันทรารัตน์ อายุรแพทย์หัวใจ และ "...

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ จัดสัมมนา “รักษ์ใจคุณ” รับฟังสาระความรู้ เรื่อง “หัวใจกับเทคโนโลยีการตรวจรักษา”

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ขอเชิญผู้ที่รักและใส่ใจสุขภาพ เข้าร่วมสัมมนา “รักษ์ใจคุณ” รับฟังสาระความรู้ เรื่อง “หัวใจกับเทคโนโลยีการตรวจรักษา” โดย นายแพทย์โชคชัย สุวรรณกิจบริหาร ศัลยแพทย์หัวใจ “หัวใจ...